หน้าแรก ผู้คนและชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ

ญัอกุร

กระจายตัวอยู่ตามแนวเทือกเขาวงโค้งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันออก เทือกเขาสันกำแพง แต่เกือบทั้งหมดตั้งถิ่นฐานอยู่บนแนวเทือกเขาพังเหย อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเพชรบูรณ์

Thundorn Kulkliang
605

Showing 1 to 1 of 1 entries



แสดง 1 ถึง 1 จาก 1 รายการ

ญัอกุร
 
เมื่อราว 100 ปีก่อน หรือสมัยรัชกาลที่ 6 อีริค ไซเดนฟาเดน ชาวต่างชาติที่รับราชการในราชสำนักสยาม ได้สำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชัยภูมิ จนได้พบชาวบน หรือ ญัฮกุร เป็นครั้งแรก   ญัฮกุร มีความหมายว่า “คนภูเขา” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาบริเวณแถบด้านในของริมที่ราบสูง ในบริเวณพื้นที่อาณาเขตที่ติดต่อกับชัยภูมิ โดยชาวญัฮกุรอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มาแล้วกว่าสามชั่วอายุคน แต่เนื่องจากวิถีชีวิตที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง ทั้งจากปัจจัยทางโรคระบาด และระบบการทำไร่ จึงทำให้ยากที่จะระบุถิ่นกำเนิดดั้งเดิม ชาวฮัฮกุรนิยมทำอาชีพทำไร่ปลูกข้าว โดยใช้วิธีปลูกแบบขุดหลุมหยอด และใช้กระบุงในการปลุกข้าว นอกจากการทำการเกษตรยังดำรงชีพด้วยการเก็บของป่า และมีความสามารถในการจักสาน   ชาวญัฮกุร มีความผูกพันกับชาวมอญ โดยมีระบบจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เชิงตำนานของตนเอง โดยแบ่งยุคสมัยออกเป็นสี่ยุค ยุคที่ 1 ยุคสมัยนิทานหรือยุคยักษ์ (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "มารยักษ์")  สมัยก่อนคนกับสัตว์คุยกันรู้เรื่อง และมีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนยักษ์จะกินเนื้อกินตับและกินเลือดคน   ยุคที่ 2 ยุคทำมาหากิน (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "ชีร เพื่อ ปาจา?" ) มีคำทำนายไว้แบบปู่สอนหลานว่า “ดูคอยดูนะ พวกเจ้าจะได้พลิกแผ่นดินทำกิน” คือ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกหากิน (ภาษาญัฮกุรคือ "นอมทำนาย เอ็ล ญัง เปญ ปะโตว เจา คอย กะคัฮ เนอ มึง นะ โค่ะ กะลับ แผนตี ปาคูจา")   ยุคที่ 3 ยุคทำมาหาใช้ (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "ชีร จา? อวร") เป็นยุคที่มีแต่ใช้เงิน ไม่มีเก็บ (ตรงกับสมัยปัจจุบัน)   ยุคที่ 4 ยุคอนาคต มีคำทำนายในภาษาไทยว่า "บอกกับลูกหลานไว้ว่าให้ระวัง จะไม่มีไม้กว้างไล่กา หินจะลอย น้ำเต้าจะจม ทางถนนจะกลายเป็นขนมเส้น ผู้หญิงจะหูเบา"  (ในภาษาญัฮกุรว่า "ปะโตว เจาจัฮ ระวัง นะ กุนอม ชูงนะ กะวาง กัลป์อาก ฮมอง นะ ลอย ลุ่ล นะ จ็อม โตรว นะ คือ คะนมเซ่น เพราะ เพราะ กะตวร นะ คะยาล")