หน้าแรก ผู้คนและชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ ญัอกุร

ญัอกุร

ญัอกุร

ภาษา ภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาโมนิก กลุ่มภาษามอญโบราณ
ถิ่นอาศัย กระจายตัวอยู่ตามแนวเทือกเขาวงโค้งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันออก เทือกเขาสันกำแพง แต่เกือบทั้งหมดตั้งถิ่นฐานอยู่บนแนวเทือกเขาพังเหย อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติความเป็นมา

เมื่อราว 100 ปีก่อน หรือสมัยรัชกาลที่ 6 อีริค ไซเดนฟาเดน ชาวต่างชาติที่รับราชการในราชสำนักสยาม ได้สำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชัยภูมิ จนได้พบชาวบน หรือ ญัฮกุร เป็นครั้งแรก

 

ญัฮกุร มีความหมายว่า คนภูเขา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาบริเวณแถบด้านในของริมที่ราบสูง ในบริเวณพื้นที่อาณาเขตที่ติดต่อกับชัยภูมิ โดยชาวญัฮกุรอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มาแล้วกว่าสามชั่วอายุคน แต่เนื่องจากวิถีชีวิตที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง ทั้งจากปัจจัยทางโรคระบาด และระบบการทำไร่ จึงทำให้ยากที่จะระบุถิ่นกำเนิดดั้งเดิม ชาวฮัฮกุรนิยมทำอาชีพทำไร่ปลูกข้าว โดยใช้วิธีปลูกแบบขุดหลุมหยอด และใช้กระบุงในการปลุกข้าว นอกจากการทำการเกษตรยังดำรงชีพด้วยการเก็บของป่า และมีความสามารถในการจักสาน

 

ชาวญัฮกุร มีความผูกพันกับชาวมอญ โดยมีระบบจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เชิงตำนานของตนเอง โดยแบ่งยุคสมัยออกเป็นสี่ยุค

ยุคที่ 1 ยุคสมัยนิทานหรือยุคยักษ์ (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "มารยักษ์")  สมัยก่อนคนกับสัตว์คุยกันรู้เรื่อง และมีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนยักษ์จะกินเนื้อกินตับและกินเลือดคน

 

ยุคที่ 2 ยุคทำมาหากิน (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "ชีร เพื่อ ปาจา?" ) มีคำทำนายไว้แบบปู่สอนหลานว่า “ดูคอยดูนะ พวกเจ้าจะได้พลิกแผ่นดินทำกิน” คือ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกหากิน (ภาษาญัฮกุรคือ "นอมทำนาย เอ็ล ญัง เปญ ปะโตว เจา คอย กะคัฮ เนอ มึง นะ โค่ะ กะลับ แผนตี ปาคูจา")

 

ยุคที่ 3 ยุคทำมาหาใช้ (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "ชีร จา? อวร") เป็นยุคที่มีแต่ใช้เงิน ไม่มีเก็บ (ตรงกับสมัยปัจจุบัน)

 

ยุคที่ 4 ยุคอนาคต มีคำทำนายในภาษาไทยว่า "บอกกับลูกหลานไว้ว่าให้ระวัง จะไม่มีไม้กว้างไล่กา หินจะลอย น้ำเต้าจะจม ทางถนนจะกลายเป็นขนมเส้น ผู้หญิงจะหูเบา"  (ในภาษาญัฮกุรว่า "ปะโตว เจาจัฮ ระวัง นะ กุนอม ชูงนะ กะวาง กัลป์อาก ฮมอง นะ ลอย ลุ่ล นะ จ็อม โตรว นะ คือ คะนมเซ่น เพราะ เพราะ กะตวร นะ คะยาล")

วัฒนธรรมที่สำคัญ

ชาวญัฮกุร นิยมสวมชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้หญิงจะใส่ในชุดโอกาสสำคัญ เช่น งานบุญ โดยเสื้อของผู้หญิงจะเรียกว่า เสื้อพ็อก หรือ เสื้อเก๊าะนุ่งผ้านุ่งชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูที่เรียกว่า กระจอน ไว้ผมยาวเกล้าม้วน ส่วนผู้ชายนิยมไม่ใส่เสื้อ และนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และความนิยมในเครื่องแต่งกายสมัยใหม่ ทำให้ชาวบ้านไม่เย็บเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมอีก จนกระทั่งเมื่อราว พ.ศ. 2548 ด้วยแรงกระตุ้นจากมหาวิทยาลัยมหิดลและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จึงได้เริ่มมีกระบวนการรื้อฟื้นวัฒนธรรมการแต่งกายแบบดั้งเดิมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

 

เนื่องจากบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานเป็นพื้นที่สูง ทำให้ชาวญัฮกุรทำการเกษตรแบบ
การปลูกข้าวไร่ (
Dry rice)  ด้วยวิธีการใช้ไม้แหลมสักลงดินเป็นหลุม แล้วหยอดเมล็ดข้าวลงไป และรอให้น้ำฝนตกลงมา ปลูกทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า โดยในเดือน 4 จะถางป่าดงดิบใหม่ เพื่อเตรียมไว้ทำไร่  โดยมีการจองป่าด้วยการทำไม้เป็นรูปกากบาทไว้ที่ต้นไม้ และไปนอน ต้องนอนฝันดี ถ้าฝันดีจึงจะถางไร่ เวลาถางจะถางป่าเป็นรูปวงกลม  ไม่ทำแปลงเป็นสี่เหลี่ยม แต่ละคนทำห่าง ๆ กัน  จากนั้นจะย้ายไร่ประมาณ 3 ปีครั้ง  ต้นไม้จะขึ้นป่าจะกลับมาอีกครั้ง  จะกลายเป็นป่าดงดิบอีก โดยการทำเกษตรลักษระนี้ใกล้เคียงกับการทำไร่หมุนเวียน

 

ญัฮกุรนับถือญาติข้างแม่เป็นหลัก การสืบทอดของหมอทำนายที่เรียกว่า "จะป๊อก" จึงอยู่กับเพศหญิง มีการนับถือปู่กับยาย ในภาษาญัฮกุรปู่เรียกว่า "เปญ" และยายเรียกว่า "ยอง"

 

การละเล่นของชาวฮัอกุร ได้แก่ การละเล่นร้องเพลง ปะเรเรหรือ กระแจ๊ ซึ่งคล้ายกับการแสดงลำตัดในภาคกลาง เนื้อเพียงจะเกี่ยวกับการพูดคุย สอบถาม หรือเกี้ยวพาราสี บางครั้งก็นำเรื่องราววรรณกรรมพื้นบ้านของชาวอีสานมาดัดแปลงร้องเข้าไปด้วย  ปกติการเล่นปะเรเรจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ชาย หญิง ร้องโต้ตอบกันไปมา โดยจะมีผู้บอกบทให้กับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย เครื่องดนตรีที่ใช้มีเพียง 2 ชิ้น ผู้หญิงจะทำหน้าที่ตีกลองโทน ส่วนผู้ชายจะเป่าใบไม้

ความเชื่อ

ญัฮกุรมีความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณเวทย์มนต์คาถา เครื่องรางของขลัง ฤกษ์ยาม ความฝัน โดยเฉพาะเรื่องผี ที่กลายเป็นตัวเอกของตำนานพื้นบ้านของชาวญัฮกุร

ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี

ญัฮกุรเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมในเขตประเทศไทย ถ้าพิจารณาจากภาษาซึ่งเป็นภาษามอญโบราณ อาจจะสัมพันธ์กับคนในรัฐทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) แต่หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน ความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์โบราณคดี จึงต้องเชื่อมโยงกับตำนานพื้นบ้านเป็นสำคัญ ญัฮกุรมีตำนานที่เกี่ยวข้องกับชาวเขมร และชาวไทย-ลาวอยู่พอสมควร ญัฮกุรเรียกชาวเขมรว่า "คเมร" ออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า "ขแมร์" (Khmer) คำนี้คงเป็นคำตกค้างมานาน เพราะในปัจจุบันญัฮกุรอาศัยอยู่ห่างจากชาวเขมร ในพื้นที่ข้างเคียงมีเพียงคนไทยอีสาน และคนกูย (ส่วย) เท่านั้น และไม่ได้ติดต่อกับชาวเขมรมานานแล้ว อนึ่ง ตำนานเรื่องนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเสื่อมอำนาจลงของรัฐทวารวดี ซึ่งเคยมีการตีความกันว่ารัฐทวารวดีสลายตัวไปจากการทำสงครามกับอาณาจักรเขมรโบราณ

แกลเลอรี

บรรณานุกรม

ศูนย์มานุษยวิทยาศิรินธร, กลุ่มชาติพันธุ์ : ญัฮกุร เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/9

จำนวนผู้เข้าชม

605

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

4 พ.ย. 2565

ญัอกุร

  • ญัอกุร
  • blog-img
    ชื่อชาติพันธุ์
    ญัอกุร

    ภาษา
    ภาษาออสโตรเอเชียติก สาขาโมนิก กลุ่มภาษามอญโบราณ

    ถิ่นอาศัย
    กระจายตัวอยู่ตามแนวเทือกเขาวงโค้งของเทือกเขาเพชรบูรณ์ตะวันออก เทือกเขาสันกำแพง แต่เกือบทั้งหมดตั้งถิ่นฐานอยู่บนแนวเทือกเขาพังเหย อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเพชรบูรณ์
  • ประวัติความเป็นมา
  • เมื่อราว 100 ปีก่อน หรือสมัยรัชกาลที่ 6 อีริค ไซเดนฟาเดน ชาวต่างชาติที่รับราชการในราชสำนักสยาม ได้สำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชัยภูมิ จนได้พบชาวบน หรือ ญัฮกุร เป็นครั้งแรก

     

    ญัฮกุร มีความหมายว่า คนภูเขา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาบริเวณแถบด้านในของริมที่ราบสูง ในบริเวณพื้นที่อาณาเขตที่ติดต่อกับชัยภูมิ โดยชาวญัฮกุรอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้มาแล้วกว่าสามชั่วอายุคน แต่เนื่องจากวิถีชีวิตที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อยครั้ง ทั้งจากปัจจัยทางโรคระบาด และระบบการทำไร่ จึงทำให้ยากที่จะระบุถิ่นกำเนิดดั้งเดิม ชาวฮัฮกุรนิยมทำอาชีพทำไร่ปลูกข้าว โดยใช้วิธีปลูกแบบขุดหลุมหยอด และใช้กระบุงในการปลุกข้าว นอกจากการทำการเกษตรยังดำรงชีพด้วยการเก็บของป่า และมีความสามารถในการจักสาน

     

    ชาวญัฮกุร มีความผูกพันกับชาวมอญ โดยมีระบบจัดแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เชิงตำนานของตนเอง โดยแบ่งยุคสมัยออกเป็นสี่ยุค

    ยุคที่ 1 ยุคสมัยนิทานหรือยุคยักษ์ (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "มารยักษ์")  สมัยก่อนคนกับสัตว์คุยกันรู้เรื่อง และมีเรื่องเล่าว่าสมัยก่อนยักษ์จะกินเนื้อกินตับและกินเลือดคน

     

    ยุคที่ 2 ยุคทำมาหากิน (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "ชีร เพื่อ ปาจา?" ) มีคำทำนายไว้แบบปู่สอนหลานว่า “ดูคอยดูนะ พวกเจ้าจะได้พลิกแผ่นดินทำกิน” คือ เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มทำการเพาะปลูกหากิน (ภาษาญัฮกุรคือ "นอมทำนาย เอ็ล ญัง เปญ ปะโตว เจา คอย กะคัฮ เนอ มึง นะ โค่ะ กะลับ แผนตี ปาคูจา")

     

    ยุคที่ 3 ยุคทำมาหาใช้ (ภาษาญัฮกุรเรียกว่า "ชีร จา? อวร") เป็นยุคที่มีแต่ใช้เงิน ไม่มีเก็บ (ตรงกับสมัยปัจจุบัน)

     

    ยุคที่ 4 ยุคอนาคต มีคำทำนายในภาษาไทยว่า "บอกกับลูกหลานไว้ว่าให้ระวัง จะไม่มีไม้กว้างไล่กา หินจะลอย น้ำเต้าจะจม ทางถนนจะกลายเป็นขนมเส้น ผู้หญิงจะหูเบา"  (ในภาษาญัฮกุรว่า "ปะโตว เจาจัฮ ระวัง นะ กุนอม ชูงนะ กะวาง กัลป์อาก ฮมอง นะ ลอย ลุ่ล นะ จ็อม โตรว นะ คือ คะนมเซ่น เพราะ เพราะ กะตวร นะ คะยาล")

  • วัฒนธรรมที่สำคัญ
  • ชาวญัฮกุร นิยมสวมชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้หญิงจะใส่ในชุดโอกาสสำคัญ เช่น งานบุญ โดยเสื้อของผู้หญิงจะเรียกว่า เสื้อพ็อก หรือ เสื้อเก๊าะนุ่งผ้านุ่งชายผ้าใหญ่ สวมสร้อยเงิน และเจาะใบหูกว้างเพื่อสวมตุ้มหูที่เรียกว่า กระจอน ไว้ผมยาวเกล้าม้วน ส่วนผู้ชายนิยมไม่ใส่เสื้อ และนุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ และความนิยมในเครื่องแต่งกายสมัยใหม่ ทำให้ชาวบ้านไม่เย็บเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมอีก จนกระทั่งเมื่อราว พ.ศ. 2548 ด้วยแรงกระตุ้นจากมหาวิทยาลัยมหิดลและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ จึงได้เริ่มมีกระบวนการรื้อฟื้นวัฒนธรรมการแต่งกายแบบดั้งเดิมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

     

    เนื่องจากบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานเป็นพื้นที่สูง ทำให้ชาวญัฮกุรทำการเกษตรแบบ
    การปลูกข้าวไร่ (
    Dry rice)  ด้วยวิธีการใช้ไม้แหลมสักลงดินเป็นหลุม แล้วหยอดเมล็ดข้าวลงไป และรอให้น้ำฝนตกลงมา ปลูกทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า โดยในเดือน 4 จะถางป่าดงดิบใหม่ เพื่อเตรียมไว้ทำไร่  โดยมีการจองป่าด้วยการทำไม้เป็นรูปกากบาทไว้ที่ต้นไม้ และไปนอน ต้องนอนฝันดี ถ้าฝันดีจึงจะถางไร่ เวลาถางจะถางป่าเป็นรูปวงกลม  ไม่ทำแปลงเป็นสี่เหลี่ยม แต่ละคนทำห่าง ๆ กัน  จากนั้นจะย้ายไร่ประมาณ 3 ปีครั้ง  ต้นไม้จะขึ้นป่าจะกลับมาอีกครั้ง  จะกลายเป็นป่าดงดิบอีก โดยการทำเกษตรลักษระนี้ใกล้เคียงกับการทำไร่หมุนเวียน

     

    ญัฮกุรนับถือญาติข้างแม่เป็นหลัก การสืบทอดของหมอทำนายที่เรียกว่า "จะป๊อก" จึงอยู่กับเพศหญิง มีการนับถือปู่กับยาย ในภาษาญัฮกุรปู่เรียกว่า "เปญ" และยายเรียกว่า "ยอง"

     

    การละเล่นของชาวฮัอกุร ได้แก่ การละเล่นร้องเพลง ปะเรเรหรือ กระแจ๊ ซึ่งคล้ายกับการแสดงลำตัดในภาคกลาง เนื้อเพียงจะเกี่ยวกับการพูดคุย สอบถาม หรือเกี้ยวพาราสี บางครั้งก็นำเรื่องราววรรณกรรมพื้นบ้านของชาวอีสานมาดัดแปลงร้องเข้าไปด้วย  ปกติการเล่นปะเรเรจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ชาย หญิง ร้องโต้ตอบกันไปมา โดยจะมีผู้บอกบทให้กับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย เครื่องดนตรีที่ใช้มีเพียง 2 ชิ้น ผู้หญิงจะทำหน้าที่ตีกลองโทน ส่วนผู้ชายจะเป่าใบไม้

  • ความเชื่อ
  • ญัฮกุรมีความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณเวทย์มนต์คาถา เครื่องรางของขลัง ฤกษ์ยาม ความฝัน โดยเฉพาะเรื่องผี ที่กลายเป็นตัวเอกของตำนานพื้นบ้านของชาวญัฮกุร

  • ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี
  • ญัฮกุรเป็นกลุ่มคนดั้งเดิมในเขตประเทศไทย ถ้าพิจารณาจากภาษาซึ่งเป็นภาษามอญโบราณ อาจจะสัมพันธ์กับคนในรัฐทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) แต่หลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน ความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์โบราณคดี จึงต้องเชื่อมโยงกับตำนานพื้นบ้านเป็นสำคัญ ญัฮกุรมีตำนานที่เกี่ยวข้องกับชาวเขมร และชาวไทย-ลาวอยู่พอสมควร ญัฮกุรเรียกชาวเขมรว่า "คเมร" ออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า "ขแมร์" (Khmer) คำนี้คงเป็นคำตกค้างมานาน เพราะในปัจจุบันญัฮกุรอาศัยอยู่ห่างจากชาวเขมร ในพื้นที่ข้างเคียงมีเพียงคนไทยอีสาน และคนกูย (ส่วย) เท่านั้น และไม่ได้ติดต่อกับชาวเขมรมานานแล้ว อนึ่ง ตำนานเรื่องนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเสื่อมอำนาจลงของรัฐทวารวดี ซึ่งเคยมีการตีความกันว่ารัฐทวารวดีสลายตัวไปจากการทำสงครามกับอาณาจักรเขมรโบราณ
  • คลังภาพ
  • บรรณานุกรม
    ศูนย์มานุษยวิทยาศิรินธร, กลุ่มชาติพันธุ์ : ญัฮกุร เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/9


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 4 พ.ย. 2565
    จำนวนผู้เข้าชม : 605