สุวรรณภูมิเพื่อการศึกษาคืออะไร?

      ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและวัฒนธรรมเกี่ยวกับสุวรรณภูมิในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาขั้นสูงของไทยนั้นยังถือว่าไม่แพร่หลาย ข้อมูลมีไม่มาก ยังคงเกี่ยวพันกับเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหลัก ทำให้ขาดความเข้าใจต่อมิติด้านอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจการค้าโลก การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

  สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีพื้นที่กลางเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ทั้งในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ความรู้เข้าถึงได้ยากและไม่สามารถถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง

  ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลต้นแบบของสถาบันสุวรรณภูมิศึกษาเพื่อการศึกษาจึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีเป้าหมายประการแรกของฐานข้อมูลนี้คือจะกลายเป็นแหล่งค้นคว้าและสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนนักศึกษาและครูเพื่อจุดประเด็นถกเถียงทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากปัญหาของการศึกษาประวัติศาสตร์ในรายวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนกระทั่งอาจารย์และนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยคือ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งในรูปของเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์และจารึกทางศาสนาที่เกี่ยวกับสุวรรณภูมิ รายงานการขุดค้นของกรมศิลปากร ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุและโบราณสถานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ความจริงแล้ว ตัวอย่างของข้อมูลที่ยกมานี้อาจสามารถหาดาวน์โหลดได้บ้างจากตามเว็บไซต์ต่างๆ แต่เว็บไซต์เหล่านั้น (เช่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือของกรมศิลปากร) ไม่ได้เป็นฐานข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจง เนื่องจากพันธกิจของหน่วยงานพวกนี้คือการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดทุกยุคทุกสมัย ทำให้ยากต่อการสืบค้น แม้ว่าจะมีตัวช่วยคัดกรองข้อมูลก็ตาม ดอน เฮนสัน (Don Henson) นักโบราณคดีที่สนใจประเด็นเรื่องโบราณคดีกับการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า งานด้านโบราณคดีมีส่วนสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนรู้ การวิเคราะห์ และทักษะในการคิดของนักเรียนอย่างมาก ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาของอังกฤษ (Henson 2017:43-59)

  ประการที่สอง ฐานข้อมูลนี้จะช่วยทำให้เห็นภาพใหญ่ของประวัติศาสตร์ยุคต้นของทั้งประเทศและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย จีน อันเกี่ยวข้องกับเรื่องสุวรรณภูมิ ไม่ใช่การนำเสนอเพียงเรื่องของการเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาของพระโสณะและพระอุตตระยังดินแดนสุวรรณภูมิเท่านั้น การได้เห็นภาพใหญ่นี้จะมีประโยชน์ต่อเยาวชนเป็นอย่างยิ่งในการเชื่อมโยงตนเองเข้ากับประเทศ ภูมิภาค และโลกใบนี้ ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใจความสำคัญของประเทศไทยนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการค้าและการพัฒนาขึ้นของอารยธรรมของโลก ดังนั้น ฐานข้อมูลนี้จะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความเป็นพลเมืองโลก (Global citizen) ให้กับเยาวชนไทย

  ประการที่สาม ซึ่งมีความสำคัญและสอดคล้องกับคุณค่า 5 ประการของสถาบันคือ การนำความรู้เกี่ยวกับสุวรรณภูมิมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต โดยบทบาทสำคัญของฐานข้อมูลนี้คือการเป็นแหล่งวัตถุดิบ (Material resources) ที่จะนำไปต่อยอดในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม หรือชุมชน ตัวอย่างเช่น นักเรียนหรือเยาวชนนำความรู้เกี่ยวกับสุวรรณภูมิไปจัดนิทรรศการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ความรู้ ความสุข และจิตวิญญาณของชุมชน

สุวรรณภูมิเพื่อการศึกษาคืออะไร

   ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและวัฒนธรรมเกี่ยวกับสุวรรณภูมิในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาขั้นสูงของไทยนั้นยังถือว่าไม่แพร่หลาย ข้อมูลมีไม่มาก ยังคงเกี่ยวพันกับเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหลัก ทำให้ขาดความเข้าใจต่อมิติด้านอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจการค้าโลก การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

   สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นส่วนหนึ่งเนื่องจากไม่มีพื้นที่กลางเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ทั้งในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้ความรู้เข้าถึงได้ยากและไม่สามารถถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
team
  • ทองคำที่พบในเขตภาคใต้ที่มีอายุอยู่ในช่วงต้นพุทธกาล


    ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลต้นแบบของสถาบันสุวรรณภูมิศึกษาเพื่อการศึกษาจึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีเป้าหมายประการแรกของฐานข้อมูลนี้คือจะกลายเป็นแหล่งค้นคว้าและสื่อการเรียนการสอนให้กับนักเรียนนักศึกษาและครูเพื่อจุดประเด็นถกเถียงทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากปัญหาของการศึกษาประวัติศาสตร์ในรายวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนกระทั่งอาจารย์และนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยคือ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งในรูปของเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์และจารึกทางศาสนาที่เกี่ยวกับสุวรรณภูมิ รายงานการขุดค้นของกรมศิลปากร ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุและโบราณสถานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ความจริงแล้ว ตัวอย่างของข้อมูลที่ยกมานี้อาจสามารถหาดาวน์โหลดได้บ้างจากตามเว็บไซต์ต่างๆ แต่เว็บไซต์เหล่านั้น (เช่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หรือของกรมศิลปากร) ไม่ได้เป็นฐานข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจง เนื่องจากพันธกิจของหน่วยงานพวกนี้คือการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดทุกยุคทุกสมัย ทำให้ยากต่อการสืบค้น แม้ว่าจะมีตัวช่วยคัดกรองข้อมูลก็ตาม ดอน เฮนสัน (Don Henson) นักโบราณคดีที่สนใจประเด็นเรื่องโบราณคดีกับการศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า งานด้านโบราณคดีมีส่วนสำคัญมากต่อกระบวนการเรียนรู้ การวิเคราะห์ และทักษะในการคิดของนักเรียนอย่างมาก ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาของอังกฤษ (Henson 2017:43-59)

    ประการที่สอง ฐานข้อมูลนี้จะช่วยทำให้เห็นภาพใหญ่ของประวัติศาสตร์ยุคต้นของทั้งประเทศและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย จีน อันเกี่ยวข้องกับเรื่องสุวรรณภูมิ ไม่ใช่การนำเสนอเพียงเรื่องของการเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาของพระโสณะและพระอุตตระยังดินแดนสุวรรณภูมิเท่านั้น การได้เห็นภาพใหญ่นี้จะมีประโยชน์ต่อเยาวชนเป็นอย่างยิ่งในการเชื่อมโยงตนเองเข้ากับประเทศ ภูมิภาค และโลกใบนี้ ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใจความสำคัญของประเทศไทยนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการค้าและการพัฒนาขึ้นของอารยธรรมของโลก ดังนั้น ฐานข้อมูลนี้จะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความเป็นพลเมืองโลก (Global citizen) ให้กับเยาวชนไทย

    ประการที่สาม ซึ่งมีความสำคัญและสอดคล้องกับคุณค่า 5 ประการของสถาบันคือ การนำความรู้เกี่ยวกับสุวรรณภูมิมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต โดยบทบาทสำคัญของฐานข้อมูลนี้คือการเป็นแหล่งวัตถุดิบ (Material resources) ที่จะนำไปต่อยอดในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม หรือชุมชน ตัวอย่างเช่น นักเรียนหรือเยาวชนนำความรู้เกี่ยวกับสุวรรณภูมิไปจัดนิทรรศการ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ความรู้ ความสุข และจิตวิญญาณของชุมชน