หน้าแรก ผู้คนและชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ

กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)

พื้นที่ป่าเขาในบริเวณทิศตะวันตกของประเทศไทย หรือชายแดนไทย-พม่า บางส่วนอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบในทางทิศตะวันออก

Admin Consult
4,521

Showing 1 to 1 of 1 entries



แสดง 1 ถึง 1 จาก 1 รายการ

กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)
 
     สันนิษฐานว่าชาวปกาเกอะญอ เดิมเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์เร่ร่อนที่เดิมอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของทิเบตตั้งแต่ 3238 ปีมาแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ 207 หรือสมัยราชวงศ์จิ๋นได้หนีภัยรุกรานจากกองทัพจีน อพเคลื่อนย้ายลงมาตอนใต้มาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง จากนั้นก็เกิดปะทะกับกลุ่มชนอื่นๆ จนต้องอพยพถอยร่นลงใต้มายังลุ่มแม่น้ำล้านช้าง มาสู่พื้นที่สามเหลี่ยมรุ่มแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสาละวิน ดังที่พบบันทึกของมิชชันนารีที่กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บชายแดนระหว่างสยามกับพม่า      กะเหรี่ยง หรือ “จกอว์” เป็นคำที่กลุ่มชนปกาเกอะญอเรียกตนเอง ซึ่งความหมายแปลว่า “คน” ซึ่งต่อมากลายเป็นชื่อที่คนไทยภาคกลางใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้แบบรวม ๆ ปัจจุบันกลุ่มชนปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในเขตแดนการปกครองของประเทศไทยประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ 1.จกอร์/สกอร์  2.โพล่ง/โปว์ 3.กแบ/คะยา 4.ปะโอ/ตองสู