หน้าแรก ผู้คนและชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)

กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)

กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)

ภาษา ภาษาฑิเบต-พม่า จัดอยู่ในกลุ่มภาษาจีน-ฑิเบต (Sino-Tibetan language family) ภาษาพูดใช้ภาษากะเหรี่ยง และใช้อักษรลิวา เป็นภาษาเขียน
ถิ่นอาศัย พื้นที่ป่าเขาในบริเวณทิศตะวันตกของประเทศไทย หรือชายแดนไทย-พม่า บางส่วนอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบในทางทิศตะวันออก

ประวัติความเป็นมา

     สันนิษฐานว่าชาวปกาเกอะญอ เดิมเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์เร่ร่อนที่เดิมอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของทิเบตตั้งแต่ 3238 ปีมาแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ 207 หรือสมัยราชวงศ์จิ๋นได้หนีภัยรุกรานจากกองทัพจีน อพเคลื่อนย้ายลงมาตอนใต้มาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง จากนั้นก็เกิดปะทะกับกลุ่มชนอื่นๆ จนต้องอพยพถอยร่นลงใต้มายังลุ่มแม่น้ำล้านช้าง มาสู่พื้นที่สามเหลี่ยมรุ่มแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสาละวิน ดังที่พบบันทึกของมิชชันนารีที่กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บชายแดนระหว่างสยามกับพม่า

     กะเหรี่ยง หรือ “จกอว์” เป็นคำที่กลุ่มชนปกาเกอะญอเรียกตนเอง ซึ่งความหมายแปลว่า “คน” ซึ่งต่อมากลายเป็นชื่อที่คนไทยภาคกลางใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้แบบรวม ๆ ปัจจุบันกลุ่มชนปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในเขตแดนการปกครองของประเทศไทยประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ 1.จกอร์/สกอร์  2.โพล่ง/โปว์ 3.กแบ/คะยา 4.ปะโอ/ตองสู

วัฒนธรรมที่สำคัญ

     วัฒนธรรมปกาเกอะญอเดิมนั้น เป็นกลุ่มชนที่ส่วนมากอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง ดำรงดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ตามฤดูกาล ผสมกับทำเกษตรกรรมแบบหมุนเวียน ซึ่งเป็นแหล่งยังชีพและพึ่งพาตัวเองของคนในชุมชน โดยนาข้าวนั้นมีลักษณะเป็นนาขั้นบันไดโดยใช้น้ำจากระบบฝาย ซึ่งจัดเป็นภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยาการให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัย ปัจจุบันยังมีการผสมผสานกับการทำสวนปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น กาแฟ และผลไม้ เพื่อเป็นการปรับตัวกับระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันกับการเกษตร จึงทำให้มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบูชาธรรมชาติ หรือนับถือผี ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์กับธรรมชาติในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย

     โดยพิธีกรรม ประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ได้แก่ พิธีกี่จี๊หนี่ซอโข่, กี่จี๊ลาคุ ซึ่งเป็นพิธีไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเฉลิมฉลองการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แนวความเชื่อบูชาผียังปรากฎในพิธีกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ประเพณีมัดมือขึ้นปีใหม่ ประเพณีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ เป็นต้น
 
     ชาวปกาเกอะญอมีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าเป็นวัฒนธรรมประจำเผ่า เสื้อเด็กและหญิงสาวจะนิยมใส่เป็นชุดทรงกระบอก ทอด้วยผ้าฝ้ายพื้นขาว พร้อมด้วยทอประดับลวดลายอย่างมีสีสัน ในส่วนของการแต่งตัวเพศชายนอกจากเสื้อกระบอก จะนิยมใส่กางเกงสะดอ และคาดศีรษะด้วยผ้าสีแดงหรือสีขาว การแต่งกายของชาวปกาเกอะญอสะท้อนถึงระบบครัวเรือนที่มีลักษณะเป็นผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy) ซึ่งให้ความสำคัญกับสถานะแต่งงาน ดังสะท้อนผ่านที่มีการแบ่งประเภทของเสื้อผ้าสำหรับหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน และแต่งงานหรือมีสภาพเป็นแม่บ้านแล้ว รวมไปถึงการแบ่งแยกลักษณะการแต่งกายของเพศชายหญิงอย่างชัดเจนผ่านการใช้สี หรือการประดับตกแต่งเสื้อผ้า
 
     ปัจจุบันชุมชนปกาเกอะญออาศัยอยู่รวมกับเป็นกลุ่มตั้งแต่ 10-200 หลังคาเรือน โดยส่วนมากจะนิยมสร้างบ้าน 2 หลัง คือบ้านไม้ไผ่ที่ยกพื้นสูงที่มีไว้อาศัยร่วมกับประกอบพิธีกรรม  และบ้านไม้สังกะสีเพื่อรองรับแขกบ้านแขกเมือง รวมถึงเพื่อใช้ขึ้นทะเบียนราษฎร์

ความเชื่อ

     ความเชื่อดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอเป็นความเชื่อแบบนับถือผี (Animism) ที่เชื่อเรื่อง “ขวัญ” หรือหน่วยวิญญาณที่สถิตอยู่ในทุกสิ่ง ชาวปกาเกอะญอบูชาผีธรรมชาติ เช่น ผีบ้าน ผีป่า ผีน้ำ ผีไฟ และผีบรรพบุรุษ โดยมีการจัดพิธีกรรมสังเวยและบวงสรวงอย่างเคร่งครัด

 

     ปัจจุบันชาวปกาเกอะญอมีการหันมานับถือศาสนาสากล เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ระบบความเชื่อนับถือผีแบบดั้งเดิมนั้นยังคงแทรกซึมและมีอิทธิพลอยู่ในข้อประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของชุมชน

ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี

ชาวกะเหรี่ยงมีความผูกพันกับ “กลองสำริด” หรือกลองมโหระทึก โดยการแพร่กระจายของวัฒนธรรมกลองมโหระทึกมาสู่พม่านั้นมาจากเส้นทาง การแพร่กระจายทางทิศใต้ ซึ่งจากร่องรอยของวัฒนธรรมการใช้โลหะในแหล่งโบราณคดี Naigan ที่มีความคล้ายคลึงกับข้าวของเครื่องใช้โลหะจากวัฒนธรรมฮั่น ช่วยสร้างข้อสรุปว่ากลุ่มชนที่ใช้กลองมโหระทึกในยูนนานนั้นมีการติดต่อกับกลุ่มชนในตอนเหนือพม่า ผ่านเส้นทางแม่น้ำ Dhotawaddy โดยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนั้นอาจเกิดทั้งจากการติดต่อค้าขาย หรือการโยกย้ายถิ่นฐานจากทางเหนือลงมาทางแดนใต้ในช่วงสมัยราชวงศ์ฮั่น กลองมโหระทึกแบบที่ชาวกะเหรี่ยงใช้นั้น สันนิษฐานว่าเริ่มจาก “ชาวเปรียว” ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าชาวเปรียวนั้นเป็นชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยชาวเปรียวนั้นได้รับอิทธิพลทางวัฒนธณรมจากชาวเยวี่ยในช่วง 109 ปีก่อนคริศตกาล จึงทำให้มีความสามารถในการหล่อสำริดขั้นสูง และสามารถหลอมกลองสำริดใช้เองได้ กลองมโหระทึกแบบชาวเปรียวนั้นถูกจำแนกประเภทได้เป็นแบบ Heger 3 โดยมีลักษณะเป็นกลองสำริดขนาดกลางถึงเล็ก ดวงตะวันตรงหน้ากลองมี 12 แฉก และมีรูปปั้นกบสำริด 4 ตัว ปัจจุบันชนเผ่ากะเหรี่ยงยังคงใช้กลองสำริดในพิธีสำคัญเช่น งานปีใหม่ งานแต่งงาน หรืองานศพ โดยทั่วไปทุกชุมชนของเผ่ากะเหรี่ยงจะมีกลองเก็บไว้จำนวน 1-4 ใบ โดยจะแบ่งเป็นกลองที่ใช้ในงานมงคล และงานที่ใช้ในงานอมงคล ตามคติความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง นอกจากกลองมโหระทึกจะเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจแต่ละเผ่าแล้ว ยังเชื่อว่ากลองมโหระทึกเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ โดยทั่วไปจะถูกใช้เฉพาะในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ปัจจุบันกลองสำริดเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวกะเหรี่ยงถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติพันธุ์

แกลเลอรี

บรรณานุกรม

ศูนย์มานุษยวิทยา, กลุ่มชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/79?fbclid=IwAR0-KitBE8YoFMRZjH4YPup5FYEcZbmdKFRwot0_pJjEKFtEMkUThi816Tg WEI YANXIONG, 2560. “กลองมโหระทึก: มรดกทางวัฒนธรรมกลุ่มแม่น้ำโขง” ดุษฎีนิพนธ์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

จำนวนผู้เข้าชม

2,672

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

2 พ.ค. 2567

กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)

  • กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)
  • blog-img
    ชื่อชาติพันธุ์
    กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ)

    ภาษา
    ภาษาฑิเบต-พม่า จัดอยู่ในกลุ่มภาษาจีน-ฑิเบต (Sino-Tibetan language family) ภาษาพูดใช้ภาษากะเหรี่ยง และใช้อักษรลิวา เป็นภาษาเขียน

    ถิ่นอาศัย
    พื้นที่ป่าเขาในบริเวณทิศตะวันตกของประเทศไทย หรือชายแดนไทย-พม่า บางส่วนอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบในทางทิศตะวันออก
  • ประวัติความเป็นมา
  •      สันนิษฐานว่าชาวปกาเกอะญอ เดิมเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์เร่ร่อนที่เดิมอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของทิเบตตั้งแต่ 3238 ปีมาแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ 207 หรือสมัยราชวงศ์จิ๋นได้หนีภัยรุกรานจากกองทัพจีน อพเคลื่อนย้ายลงมาตอนใต้มาตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง จากนั้นก็เกิดปะทะกับกลุ่มชนอื่นๆ จนต้องอพยพถอยร่นลงใต้มายังลุ่มแม่น้ำล้านช้าง มาสู่พื้นที่สามเหลี่ยมรุ่มแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสาละวิน ดังที่พบบันทึกของมิชชันนารีที่กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บชายแดนระหว่างสยามกับพม่า

         กะเหรี่ยง หรือ “จกอว์” เป็นคำที่กลุ่มชนปกาเกอะญอเรียกตนเอง ซึ่งความหมายแปลว่า “คน” ซึ่งต่อมากลายเป็นชื่อที่คนไทยภาคกลางใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้แบบรวม ๆ ปัจจุบันกลุ่มชนปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในเขตแดนการปกครองของประเทศไทยประกอบด้วย 4 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ 1.จกอร์/สกอร์  2.โพล่ง/โปว์ 3.กแบ/คะยา 4.ปะโอ/ตองสู

  • วัฒนธรรมที่สำคัญ
  •      วัฒนธรรมปกาเกอะญอเดิมนั้น เป็นกลุ่มชนที่ส่วนมากอาศัยอยู่บนพื้นที่สูง ดำรงดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ตามฤดูกาล ผสมกับทำเกษตรกรรมแบบหมุนเวียน ซึ่งเป็นแหล่งยังชีพและพึ่งพาตัวเองของคนในชุมชน โดยนาข้าวนั้นมีลักษณะเป็นนาขั้นบันไดโดยใช้น้ำจากระบบฝาย ซึ่งจัดเป็นภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยาการให้เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัย ปัจจุบันยังมีการผสมผสานกับการทำสวนปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น กาแฟ และผลไม้ เพื่อเป็นการปรับตัวกับระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันกับการเกษตร จึงทำให้มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบูชาธรรมชาติ หรือนับถือผี ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์กับธรรมชาติในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย

         โดยพิธีกรรม ประเพณี ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ได้แก่ พิธีกี่จี๊หนี่ซอโข่, กี่จี๊ลาคุ ซึ่งเป็นพิธีไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเฉลิมฉลองการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แนวความเชื่อบูชาผียังปรากฎในพิธีกรรมอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ประเพณีมัดมือขึ้นปีใหม่ ประเพณีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ เป็นต้น
     
         ชาวปกาเกอะญอมีชื่อเสียงในด้านการทอผ้าเป็นวัฒนธรรมประจำเผ่า เสื้อเด็กและหญิงสาวจะนิยมใส่เป็นชุดทรงกระบอก ทอด้วยผ้าฝ้ายพื้นขาว พร้อมด้วยทอประดับลวดลายอย่างมีสีสัน ในส่วนของการแต่งตัวเพศชายนอกจากเสื้อกระบอก จะนิยมใส่กางเกงสะดอ และคาดศีรษะด้วยผ้าสีแดงหรือสีขาว การแต่งกายของชาวปกาเกอะญอสะท้อนถึงระบบครัวเรือนที่มีลักษณะเป็นผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy) ซึ่งให้ความสำคัญกับสถานะแต่งงาน ดังสะท้อนผ่านที่มีการแบ่งประเภทของเสื้อผ้าสำหรับหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน และแต่งงานหรือมีสภาพเป็นแม่บ้านแล้ว รวมไปถึงการแบ่งแยกลักษณะการแต่งกายของเพศชายหญิงอย่างชัดเจนผ่านการใช้สี หรือการประดับตกแต่งเสื้อผ้า
     
         ปัจจุบันชุมชนปกาเกอะญออาศัยอยู่รวมกับเป็นกลุ่มตั้งแต่ 10-200 หลังคาเรือน โดยส่วนมากจะนิยมสร้างบ้าน 2 หลัง คือบ้านไม้ไผ่ที่ยกพื้นสูงที่มีไว้อาศัยร่วมกับประกอบพิธีกรรม  และบ้านไม้สังกะสีเพื่อรองรับแขกบ้านแขกเมือง รวมถึงเพื่อใช้ขึ้นทะเบียนราษฎร์
  • ความเชื่อ
  •      ความเชื่อดั้งเดิมของชาวปกาเกอะญอเป็นความเชื่อแบบนับถือผี (Animism) ที่เชื่อเรื่อง “ขวัญ” หรือหน่วยวิญญาณที่สถิตอยู่ในทุกสิ่ง ชาวปกาเกอะญอบูชาผีธรรมชาติ เช่น ผีบ้าน ผีป่า ผีน้ำ ผีไฟ และผีบรรพบุรุษ โดยมีการจัดพิธีกรรมสังเวยและบวงสรวงอย่างเคร่งครัด

     

         ปัจจุบันชาวปกาเกอะญอมีการหันมานับถือศาสนาสากล เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ระบบความเชื่อนับถือผีแบบดั้งเดิมนั้นยังคงแทรกซึมและมีอิทธิพลอยู่ในข้อประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของชุมชน

  • ความเชื่อมโยงกับโบราณคดี
  • ชาวกะเหรี่ยงมีความผูกพันกับ “กลองสำริด” หรือกลองมโหระทึก โดยการแพร่กระจายของวัฒนธรรมกลองมโหระทึกมาสู่พม่านั้นมาจากเส้นทาง การแพร่กระจายทางทิศใต้ ซึ่งจากร่องรอยของวัฒนธรรมการใช้โลหะในแหล่งโบราณคดี Naigan ที่มีความคล้ายคลึงกับข้าวของเครื่องใช้โลหะจากวัฒนธรรมฮั่น ช่วยสร้างข้อสรุปว่ากลุ่มชนที่ใช้กลองมโหระทึกในยูนนานนั้นมีการติดต่อกับกลุ่มชนในตอนเหนือพม่า ผ่านเส้นทางแม่น้ำ Dhotawaddy โดยการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมนั้นอาจเกิดทั้งจากการติดต่อค้าขาย หรือการโยกย้ายถิ่นฐานจากทางเหนือลงมาทางแดนใต้ในช่วงสมัยราชวงศ์ฮั่น กลองมโหระทึกแบบที่ชาวกะเหรี่ยงใช้นั้น สันนิษฐานว่าเริ่มจาก “ชาวเปรียว” ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าชาวเปรียวนั้นเป็นชนพื้นเมืองกะเหรี่ยงที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยชาวเปรียวนั้นได้รับอิทธิพลทางวัฒนธณรมจากชาวเยวี่ยในช่วง 109 ปีก่อนคริศตกาล จึงทำให้มีความสามารถในการหล่อสำริดขั้นสูง และสามารถหลอมกลองสำริดใช้เองได้ กลองมโหระทึกแบบชาวเปรียวนั้นถูกจำแนกประเภทได้เป็นแบบ Heger 3 โดยมีลักษณะเป็นกลองสำริดขนาดกลางถึงเล็ก ดวงตะวันตรงหน้ากลองมี 12 แฉก และมีรูปปั้นกบสำริด 4 ตัว ปัจจุบันชนเผ่ากะเหรี่ยงยังคงใช้กลองสำริดในพิธีสำคัญเช่น งานปีใหม่ งานแต่งงาน หรืองานศพ โดยทั่วไปทุกชุมชนของเผ่ากะเหรี่ยงจะมีกลองเก็บไว้จำนวน 1-4 ใบ โดยจะแบ่งเป็นกลองที่ใช้ในงานมงคล และงานที่ใช้ในงานอมงคล ตามคติความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง นอกจากกลองมโหระทึกจะเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจแต่ละเผ่าแล้ว ยังเชื่อว่ากลองมโหระทึกเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ โดยทั่วไปจะถูกใช้เฉพาะในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ปัจจุบันกลองสำริดเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวกะเหรี่ยงถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติพันธุ์
  • คลังภาพ
  • บรรณานุกรม
    ศูนย์มานุษยวิทยา, กลุ่มชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/79?fbclid=IwAR0-KitBE8YoFMRZjH4YPup5FYEcZbmdKFRwot0_pJjEKFtEMkUThi816Tg WEI YANXIONG, 2560. “กลองมโหระทึก: มรดกทางวัฒนธรรมกลุ่มแม่น้ำโขง” ดุษฎีนิพนธ์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 2 พ.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 2,672