หน้าแรก Current Stories ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย: จารึกบนเหรียญเงิน หลักฐานสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดี

ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย: จารึกบนเหรียญเงิน หลักฐานสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดี

ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย: จารึกบนเหรียญเงิน หลักฐานสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดี

เผยแพร่เมื่อ 10 เม.ย. 2567
พิมพ์

โดย วิภพ หุยากรณ์

1,851

ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย: จารึกบนเหรียญเงิน หลักฐานสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดี

 

ทวารวดีเป็นชื่อเรียกยุคสมัยแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ของดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศไทย มีข้อถกเถียงและข้อเสนอมากมายที่พยายามอธิบายทวารวดีไม่ว่าจะเป็นการมองทวารวดีในลักษณะอาณาจักร หรือรัฐโบราณในดินแดนนี้ ตลอดจนการมองทวารวดีเป็นลักษณะวัฒนธรรมในดินแดนนี้ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และมีความหลากหลายในเชิงรายละเอียด ทั้งรูปแบบศิลปะ ภาษา และความเชื่อ ฯลฯ

 

ข้อมูลที่ช่วยยืนยันถึงการมีอยู่ของทวารวดีในดินแดนไทย คือ การค้นพบและสามารถอ่านและแปลจารึกภาษาสันสกฤตบนเหรียญเงิน 2 เหรียญซึ่งพบที่แหล่งโบราณคดีเนินหินภายในเมืองนครปฐม ยอร์ช เซเดส์ เป็นผู้อ่านจารึกดังกล่าวได้ ความว่า “ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” ซึ่งอาจแปลว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี” หรือ “การทำบุญของเจ้าแห่งทวารวดีผู้รุ่งเรือง” โดยสามารถกำหนดอายุจากแบบอักษรปัลลวะบนเหรียญเงินนี้ได้ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารของจีนที่บันทึกถึงเมืองโตโลโปตี ส่วนอีกด้านของเหรียญเป็นรูปสัญลักษณ์ที่มาจากความเชื่อทางศาสนา ทั้งรูปแม่วัวลูกวัว และรูปหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์

 

เหรียญเงินในลักษณะนี้ยังพบที่โบราณสถานอีกหลายแห่งในซีกตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านคูเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองดงคอนและเมืองอู่ตะเภา จังหวัดชัยนาท ฯลฯ อันสะท้อนให้เห็นเครือข่ายหรืออิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีที่กระจายตัวอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย

 

การผลิตเหรียญเงินขึ้นในท้องถิ่นได้แสดงให้เห็นการรับอิทธิพลจากอินเดีย โดยเริ่มต้นจากพ่อค้าชาวอินเดียที่นำเหรียญกษาปณ์มาใช้แลกเปลี่ยนกับคนพื้นเมือง เช่น การพบเหรียญเงินผสมตะกั่วรูปช้างของราชวงศ์สาตวาหนะ ที่บ้านท่าแค จังหวัดลพบุรี ฯลฯ ก่อนที่กษัตริย์ในท้องถิ่นทั้งของทวารวดีและที่อื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะผลิตในช่วงเวลาถัดมา โดยยืมสัญลักษณ์มาจากอินเดีย อย่างไรก็ตาม ก็มีการตีความว่าเหรียญเหล่านี้อาจจะถูกใช้ในพิธีกรรมมากกว่าใช้ในการแลกเปลี่ยนด้วย

 

ในดินแดนไทยยังพบเหรียญเงินอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญเงินมีจารึก “ลวปุระ” ซึ่งพบบริเวณจังหวัดลพบุรี ซึ่งอาจตีความไปได้ถึงชุมชนโบราณแถบลพบุรีที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อรับกับเครือข่ายการค้าระหว่างภูมิภาค

 

หรือเหรียญเงินที่ไม่มีจารึก ที่พบได้ตามแหล่งโบราณคดีทวารวดี โดยเป็นเหรียญที่มีการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ศรีวัตสะ สังข์ พระอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในรัฐฟูนัน รัฐปยู รัฐมอญ และยังไม่มีรายงานการค้นพบในอินเดีย แสดงให้เห็นเครือข่ายการค้า การแลกเปลี่ยน หรือความสัมพันธ์กันในเชิงวัฒนธรรมภายในภูมิภาค

 

นอกจากนี้ยังพบเหรียญทองคำโบราณที่มีจารึก “ศฺรีลงฺกาโศเก ศฺวรปุณฺย” บริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่ถูกตีความว่ามีลักษณะร่วมบางอย่างกับทวารวดี และอาจแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐลังกาสุกะกับรัฐทวารวดีทางภาคกลางของไทย

 

การพบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทเหรียญตราต่าง ๆ จึงมีส่วนสำคัญช่วยให้ข้อมูลสนับสนุนหรือแสดงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการตีความเพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการศึกษายุคสมัยแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ของดินแดนไทย

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

1. ทวารวดี 2. เหรียญเงิน 3. ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย

รายการอ้างอิง

จารึกเหรียญเงินทวารวดี (วัดพระประโทนเจดีย์ 3). ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย | จารึกเหรียญเงินทวารวดี (วัดพระประโทนเจดีย์ 3) (sac.or.th)

นพชัย แดงดีเลิศ. (2542). จารึกทวารวดี : การศึกษาเชิงอักขรวิทยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/1783.

นภวรรณ์ มีลักษณะ. (2548). ทวารวดีในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:114166

วันวิสาข์ ธรรมานนท์. (2566). "จากศฺรีทวารวติถึงศฺรีลงฺกาโศเก ศฺวรปุณฺย: ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับเหรียญทองคำโบราณ จังหวัดปัตตานี," ศิลปวัฒนธรรม, 44(9): 58-65. 

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2558). ทวารวดี: ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย: จารึกบนเหรียญเงิน หลักฐานสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดี

 

ทวารวดีเป็นชื่อเรียกยุคสมัยแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ของดินแดนที่ปัจจุบันเป็นประเทศไทย มีข้อถกเถียงและข้อเสนอมากมายที่พยายามอธิบายทวารวดีไม่ว่าจะเป็นการมองทวารวดีในลักษณะอาณาจักร หรือรัฐโบราณในดินแดนนี้ ตลอดจนการมองทวารวดีเป็นลักษณะวัฒนธรรมในดินแดนนี้ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และมีความหลากหลายในเชิงรายละเอียด ทั้งรูปแบบศิลปะ ภาษา และความเชื่อ ฯลฯ

 

ข้อมูลที่ช่วยยืนยันถึงการมีอยู่ของทวารวดีในดินแดนไทย คือ การค้นพบและสามารถอ่านและแปลจารึกภาษาสันสกฤตบนเหรียญเงิน 2 เหรียญซึ่งพบที่แหล่งโบราณคดีเนินหินภายในเมืองนครปฐม ยอร์ช เซเดส์ เป็นผู้อ่านจารึกดังกล่าวได้ ความว่า “ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” ซึ่งอาจแปลว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี” หรือ “การทำบุญของเจ้าแห่งทวารวดีผู้รุ่งเรือง” โดยสามารถกำหนดอายุจากแบบอักษรปัลลวะบนเหรียญเงินนี้ได้ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารของจีนที่บันทึกถึงเมืองโตโลโปตี ส่วนอีกด้านของเหรียญเป็นรูปสัญลักษณ์ที่มาจากความเชื่อทางศาสนา ทั้งรูปแม่วัวลูกวัว และรูปหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์

 

เหรียญเงินในลักษณะนี้ยังพบที่โบราณสถานอีกหลายแห่งในซีกตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านคูเมือง จังหวัดสิงห์บุรี เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เมืองดงคอนและเมืองอู่ตะเภา จังหวัดชัยนาท ฯลฯ อันสะท้อนให้เห็นเครือข่ายหรืออิทธิพลของวัฒนธรรมทวารวดีที่กระจายตัวอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย

 

การผลิตเหรียญเงินขึ้นในท้องถิ่นได้แสดงให้เห็นการรับอิทธิพลจากอินเดีย โดยเริ่มต้นจากพ่อค้าชาวอินเดียที่นำเหรียญกษาปณ์มาใช้แลกเปลี่ยนกับคนพื้นเมือง เช่น การพบเหรียญเงินผสมตะกั่วรูปช้างของราชวงศ์สาตวาหนะ ที่บ้านท่าแค จังหวัดลพบุรี ฯลฯ ก่อนที่กษัตริย์ในท้องถิ่นทั้งของทวารวดีและที่อื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะผลิตในช่วงเวลาถัดมา โดยยืมสัญลักษณ์มาจากอินเดีย อย่างไรก็ตาม ก็มีการตีความว่าเหรียญเหล่านี้อาจจะถูกใช้ในพิธีกรรมมากกว่าใช้ในการแลกเปลี่ยนด้วย

 

ในดินแดนไทยยังพบเหรียญเงินอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญเงินมีจารึก “ลวปุระ” ซึ่งพบบริเวณจังหวัดลพบุรี ซึ่งอาจตีความไปได้ถึงชุมชนโบราณแถบลพบุรีที่พัฒนาขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อรับกับเครือข่ายการค้าระหว่างภูมิภาค

 

หรือเหรียญเงินที่ไม่มีจารึก ที่พบได้ตามแหล่งโบราณคดีทวารวดี โดยเป็นเหรียญที่มีการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ศรีวัตสะ สังข์ พระอาทิตย์ ฯลฯ ซึ่งพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในรัฐฟูนัน รัฐปยู รัฐมอญ และยังไม่มีรายงานการค้นพบในอินเดีย แสดงให้เห็นเครือข่ายการค้า การแลกเปลี่ยน หรือความสัมพันธ์กันในเชิงวัฒนธรรมภายในภูมิภาค

 

นอกจากนี้ยังพบเหรียญทองคำโบราณที่มีจารึก “ศฺรีลงฺกาโศเก ศฺวรปุณฺย” บริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่ถูกตีความว่ามีลักษณะร่วมบางอย่างกับทวารวดี และอาจแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐลังกาสุกะกับรัฐทวารวดีทางภาคกลางของไทย

 

การพบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทเหรียญตราต่าง ๆ จึงมีส่วนสำคัญช่วยให้ข้อมูลสนับสนุนหรือแสดงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการตีความเพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในการศึกษายุคสมัยแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ของดินแดนไทย

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ทวารวดี เหรียญเงิน ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย

รายการอ้างอิง

จารึกเหรียญเงินทวารวดี (วัดพระประโทนเจดีย์ 3). ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย | จารึกเหรียญเงินทวารวดี (วัดพระประโทนเจดีย์ 3) (sac.or.th)

นพชัย แดงดีเลิศ. (2542). จารึกทวารวดี : การศึกษาเชิงอักขรวิทยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. https://sure.su.ac.th/xmlui/handle/123456789/1783.

นภวรรณ์ มีลักษณะ. (2548). ทวารวดีในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:114166

วันวิสาข์ ธรรมานนท์. (2566). "จากศฺรีทวารวติถึงศฺรีลงฺกาโศเก ศฺวรปุณฺย: ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับเหรียญทองคำโบราณ จังหวัดปัตตานี," ศิลปวัฒนธรรม, 44(9): 58-65. 

สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. (2558). ทวารวดี: ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จำนวนผู้เข้าชม

1,851

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

10 เม.ย. 2567