หน้าแรก Current Stories รูปประติมากรรมแบบศรีวิชัยที่งามที่สุดในประเทศไทย

รูปประติมากรรมแบบศรีวิชัยที่งามที่สุดในประเทศไทย

รูปประติมากรรมแบบศรีวิชัยที่งามที่สุดในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 14 มี.ค. 2567
พิมพ์

โดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

771

รูปประติมากรรมแบบศรีวิชัยที่งามที่สุดในประเทศไทย
.
รูปหล่อสำริดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นประติมากรรมที่กล่าวได้ว่างามที่สุดในประเทศไทย
.
พบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในอดีตเป็นศูนย์กลางสำคัญของอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ปัจจุบันได้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
.
เป็นประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและเป็นงานศิลปะซึ่งรับใช้ศาสนาทั้งสิ้น ลัทธิศาสนาของสมัยศรีวิชัยเป็นแบบมหายาน เนื่องจากคติความเชื่อทางมหายานมักมีการสร้างรูปเคารพสักการะเป็นพระโพธิสัตว์โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะ หลังคุปตะและปาละ-เสนะ
.
โดยสลักเป็นรูปพระโพธิสัตว์แบบ 2 กรยืนเอียงสะโพกอยู่ในท่าตริภังค์ (เป็นท่ายืนโดยเอียงสามส่วน คือ สะโพก ไหล่ ศรีษะ) งอเข่าเล็กน้อย ทรงผมของรูปประติมากรรมจะทำเป็นผมเกล้าแบบอินเดีย โดยปล่อยชายผมลงมาครึ่งหนึ่งของผมตอนที่เกล้า และอีกส่วนหนึ่งปล่อยชายลงมาประทางด้านพระปฤษฎางค์ (ส่วนหลังของร่างกาย)
.
ความงามของประติมากรรมสำริดรูปแบบนี้บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของรัฐ “ศรีวิชัย” ในอดีต ที่สามารถรังสรรค์ความงดงามของประติมากรรมได้อย่างประณีตและสมบูรณ์แบบ

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

1. หลักฐานสุวรรณภูมิ 2. ศรีวิชัย 3. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4. ไชยา

รายการอ้างอิง

อ้างอิง :
เสนอ นิลเดช. ศิลปะสมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-18. https://so04.tci-thaijo.org/.../NAJUA.../article/view/46192
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปัทมปาณี ประติมากรรมที่แม้ชำรุด แต่งามที่สุดในสยาม. https://www.silpa-mag.com/culture/article_10184

รูปประติมากรรมแบบศรีวิชัยที่งามที่สุดในประเทศไทย
.
รูปหล่อสำริดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เป็นประติมากรรมที่กล่าวได้ว่างามที่สุดในประเทศไทย
.
พบที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งในอดีตเป็นศูนย์กลางสำคัญของอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ปัจจุบันได้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
.
เป็นประติมากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและเป็นงานศิลปะซึ่งรับใช้ศาสนาทั้งสิ้น ลัทธิศาสนาของสมัยศรีวิชัยเป็นแบบมหายาน เนื่องจากคติความเชื่อทางมหายานมักมีการสร้างรูปเคารพสักการะเป็นพระโพธิสัตว์โดยได้รับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะ หลังคุปตะและปาละ-เสนะ
.
โดยสลักเป็นรูปพระโพธิสัตว์แบบ 2 กรยืนเอียงสะโพกอยู่ในท่าตริภังค์ (เป็นท่ายืนโดยเอียงสามส่วน คือ สะโพก ไหล่ ศรีษะ) งอเข่าเล็กน้อย ทรงผมของรูปประติมากรรมจะทำเป็นผมเกล้าแบบอินเดีย โดยปล่อยชายผมลงมาครึ่งหนึ่งของผมตอนที่เกล้า และอีกส่วนหนึ่งปล่อยชายลงมาประทางด้านพระปฤษฎางค์ (ส่วนหลังของร่างกาย)
.
ความงามของประติมากรรมสำริดรูปแบบนี้บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของรัฐ “ศรีวิชัย” ในอดีต ที่สามารถรังสรรค์ความงดงามของประติมากรรมได้อย่างประณีตและสมบูรณ์แบบ

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

หลักฐานสุวรรณภูมิ ศรีวิชัย พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ไชยา

รายการอ้างอิง

อ้างอิง :
เสนอ นิลเดช. ศิลปะสมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13-18. https://so04.tci-thaijo.org/.../NAJUA.../article/view/46192
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปัทมปาณี ประติมากรรมที่แม้ชำรุด แต่งามที่สุดในสยาม. https://www.silpa-mag.com/culture/article_10184

เรื่องแนะนำ

จำนวนผู้เข้าชม

771

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 มี.ค. 2567