หน้าแรก การท่องเที่ยว ‘พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า’ ที่เที่ยวใหม่กาญจนบุรี

‘พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า’ ที่เที่ยวใหม่กาญจนบุรี

‘พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า’ ที่เที่ยวใหม่กาญจนบุรี

เผยแพร่เมื่อ 26 มี.ค. 2565
พิมพ์

โดย Thaipost

2,078

     กาญจนบุรี เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ใกล้กรุงเทพฯ  สามารถเที่ยวภายใน 1 วัน ได้สบายๆ  มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายทั้งด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม  รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ดีๆ อีกด้วย อยากแนะนำหมุดหมายใหม่ที่ต้องไปให้ถึง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตั้งอยู่ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี
 
     บ้านเก่าไม่เพียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์  ค้นพบร่องรอยมนุษย์ยุคหิน นำมาสู่จุดเริ่มต้นงานโบราณคดีสากลของประเทศไทย ยังเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของไทยที่สร้างขึ้นบริเวณแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้บริการมานานกว่า 50 ปีแล้ว รวบรวมโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ค้นพบในพื้นที่บ้านเก่าและ จ.กาญจนบุรี   โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่จัดแสดงอายุมากกว่า 3,100 – 5,000 ปี
 
 
พิพิธภัณฑ์ออกแบบให้ร่วมสมัย ดึงดูดคนรุ่ใหม่
 

     แหล่งเรียนรู้สำคัญของเมืองกาญจนฯ แห่งนี้ กรมศิลปากรดำเนินการปรับปรุงครั้งใหญ่ ล่าสุดเปิดให้บริการแล้ว เนื้อหาการจัดแสดงน่าสนใจ เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะคอประวัติศาสตร์โบราณคดี อาคารหลังใหม่ที่แสดงนิทรรศการถาวร ออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สีดินเทศ สวยงาม  ได้แรงบันดาลใจมาจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดี พิพิธภัณฑ์ฯ บ้านเก่าด้านติดกับแม่น้ำแควน้อยมีสกายวอร์คทอดยาวให้เดินชิลๆ ชมวิวทิวทัศน์ วันนี้กลายเป็นจุดเช็คอินกาญจนบุรี ที่เที่ยวถ่ายรูปสวยๆ กันไปเรียบร้อย

 

 
Sky Walk พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า ชมวิวทิวทัศน์สวยๆ
 
     พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งเป้าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพระดับสากลชูแนวคิด “โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์แห่งภูมิภาคตะวันตกของไทย” เดินเที่ยวในอาคารจัดแสดงหลังใหม่เหมือนได้ร่วมทีมนักสำรวจเริ่มจากชั้นที่ 1 นำเสนอผ่านเครื่องมือหิน 8 ชิ้น (จำลอง) ที่ ดร.เอช.อาร์.ฟาน เฮเกอเรน นักโบราณคดีชาวเนเธอร์แลนดพบขณะเป็นเชลยศึกถูกคุมตัวมาสร้างทางรถไฟสายมรณะใกล้สถานีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจุดเริ่มต้นศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านเก่า หนังสือพิมพ์ที่ลอนดอนเสนอข่าว ได้รับความสนใจทั่วโลก นำมาสู่การขุดค้นและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านเก่าในเวลาต่อมา  สำหรับเครื่องมือหินของจริงทั้ง 8 ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ  อยู่ระหว่างประสานงานโดยกรมศิลปากร เพื่อนำกลับประเทศไทย
 
 
เครื่องมือหิน 8 ชิ้น (จำลอง) จุดเริ่มต้นศึกษาโบราณคดีบ้านเก่า     
 
     จากนั้นเข้าสู่ห้องฉายวีดิทัศน์จำลองการค้นพบเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเก่า ทางเดินพาย้อนสู่อดีตผ่านถ้ำจำลองให้ข้อมูลคนอยู่ถ้ำและคนใช้ถ้ำในยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่ละสมัย ตั้งแต่การล่าสัตว์ การทำเกษตรกรรม ทำเครื่องมือหินกะเทะ ในแบบภาพเคลื่อนไหวน่าชมก่อนจะมาตื่นตากับเครื่องมือหินพบจากลุ่มน้ำแควน้อย แควใหญ่ เครื่องมือหินโบราณเหล่านี้ช่วยอธิบายพฤติกรรมมนุษย์อย่างกระจ่าง
 
 
ถ้ำจำลองเสนอชีวิตคนยุคก่อนประวัติศาสตร์     
 
     จากชั้นล่างสุดที่หมายถึงชั้นดินที่พบหลักฐานเก่าที่สุด เราเดินทางทางลาดขึ้นสู่ชั้นที่ 2 ชวนมารู้จัก”วัฒนธรรมบ้านเก่า “ คำจำกัดความของวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ในภาคตะวันตกของไทย คนตั้งถิ่นฐานตามที่ราบหรือเชิงเขาใกล้ล้ำน้ำ มีวิถีชีวิต ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ รู้จักทำเครื่องมือหินกะเทาะ หินขัด เครื่องมือกระดูกสัตว์ เพราะยังไม่มีโลหะหรือเหล็ก แล้วยังมีหุ่นจำลองวิถีชีวิตคนสมัยหินใหม่อีก 12 ชุด น่าดูชม โบราณวัตถุที่โดดเด่นยังมีหม้อสามขาภาชนะรูปแบบเฉพาะของวัฒนธรรมบ้านเก่าอีกด้วย
 
 
หม้อสามขา เอกลักษณ์วัฒนธรรมบ้านเก่า 
 
     ตะลึงมากขึ้นไปอีก เมื่อได้เห็นโครงการกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า 2 โครงกระดูก โครงกระดูกแรกเป็น 1 ใน 38 โครงกระดูกที่พบจากโครงการสำรวจขุดค้นไทย-เดนมาร์ก พ.ศ.2503-2505 ปรากฏร่องรอยเจ็บป่วยโรคลูคีเมียหรือมะเร็งในไขกระดูก ที่เซอร์ไพรส์ได้รับรู้การทำฟันของคนบ้านเก่า มีการดัดแปลงและตกแต่งฟัน ขัดฟัน หลายแบบ โซนนี้ยังชวนไขปริศนาจากโครงกระดูก ผ่านระบบ Icon Interactive สุดทันสมัย สันนิษฐานหน้าตาและรูปร่างของคนบ้านเก่าโบราณ
 
 
ไขปริศนาจากโครงกระดูกด้วยระบบอินเตอร์แอคทีฟทันสมัย
 
     นิทรรศการมีความต่อเนื่องไปถึงชั้น 3 พาไปเรียนรู้เรื่องคนภาคตะวันตกเริ่มใช้โลหะครั้งแรกเมื่อราว 3,000 ปีที่แล้ว มีทั้งสำริดและเหล็ก โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือ เครื่องประดับและภาชนะสำริดจากแหล่งโบราณคดีในอำเภอต่างๆ ของกาญจนบุรี  ชั้นสุดท้ายยังมีศิลปะถ้ำ เช่น ภาพเขียนสีถ้ำตาด้วง เขาวังกุลา ถ้ำรูปเขาเขียว ถ้ำมือแดง ถัดมาเป็นเรื่องราววัฒนธรรมโลงไม้ผ่านการแสดงโลงศพไม้ลักษณะคล้ายเรือ หัวท้ายสลักเป็นรูปคนหรือสัตว์  พบที่ราบสูงตามเทือกเขาทางทิศตะวันตก ดูแล้วลึกลับน่าค้นหา
 
 
ตื่นตากับวัฒนธรรมโลงศพไม้
 
     ชมด้านในพิพิธภัณฑ์แล้วสามารถไปดูหลุมขุดค้นทางโบราณคดีของจริงได้ที่แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ พื้นที่ติดกับพิพิธภัณฑ์ฯ บ้านเก่า ที่นี่พบหลักฐานหลุมฝังศพร่วมกับภาชนะดินเผาและยังพบพื้นที่ผลิตโลหะสำริดอีกด้วย กรมศิลปากรวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีนี้ต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเติมเต็มประวัติศาสตร์ในพื้นที่ตำบลบ้านเก่าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
 
 
โรงงานกระดาษแห่งแรกของไทย อีกหมุดหมายแนะนำ
 
     เส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ยังไม่หมด ออกจากบ้านเก่า เราเดินทางกลับเข้าตัวเมือง แวะ ต.บ้านใต้ ชม โรงงานกระดาษกาญจนบุรี เป็นโรงงานกระดาษแห่งแรกของไทย ที่ดินแปลงนี้ส่วนหนึ่งเป็นโบราณสถานกำแพงเมืองกาญจนบุรี ซึ่งสร้างสมัย ร. 3
 
     เราเดินแนวกำแพงเมือง ผ่านซุ้มประตูติดตรารูป”ทหารสามเศียร” เป็นเครื่องหมายการค้าโรงงานนี้  พร้อมกับนามโรงงานว่า “โรงงานกระดาษทหารกาญจนบุรีของกรมแผนที่” อดีตพื้นที่มีไม้ไผ่อุดมสมบูรณ์เป็นวัตถุดิบทำกระดาษ และมีแม่น้ำเป็นเส้นทางขนส่งไม้ไผ่ได้สะดวก
 
     กิจการสุดทันสมัยนี้เปิดปี 2481 กระดาษที่ผลิตนำมาใช้พิมพ์ธนบัตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรเทาการขาดแคลนธนบัตรช่วงสงคราม ยุคนั้นโรงเรือนส่วนหนึ่งทหารกองทัพญี่ปุ่นยืมใช้เป็นที่พักด้วย โรงงานเลิกกิจการปี 2530 ตึกเป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมศิลปะแบบโมเดิร์นยุคแรกๆ ของไทย ดูเกลี้ยงเกลาเรียบง่าย เอกลักษณ์อีกหลังหนึ่งเป็นโรงหลอมโซดา  มีชั้นหอคอย และปล่องไฟสูงใหญ่
 
 
เที่ยวชมรงงานกระดาษและแนวกำแพงเมืองกาญจนบุรี
 
     ที่นี่เป็นประจักษ์พยานแสดงถึงการพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมและการค้าขนาดใหญ่ วันนี้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดฮิต มีนักท่องเที่ยวแต่งตัวชิคๆ มาเดินเล่นถ่ายภาพ  ขณะที่จังหวัดผนึกกับภาคีเครือข่ายผลักดันการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและพัฒนาสู่แลนด์มาร์คแห่งใหม่จ.กาญจนบุรี
 
     นับเป็นโปรแกรม One Day Trip ที่อยากแนะนำเป็นแนวทางเผื่อใครวางแผนเที่ยวชิลๆ ที่เมืองกาญจนบุรี
 

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 2. บ้านเก่า 3. กาญจนบุรี 4. โรงงานกระดาษ

รายการอ้างอิง

-

     กาญจนบุรี เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่ใกล้กรุงเทพฯ  สามารถเที่ยวภายใน 1 วัน ได้สบายๆ  มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายทั้งด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม  รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ดีๆ อีกด้วย อยากแนะนำหมุดหมายใหม่ที่ต้องไปให้ถึง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า ตั้งอยู่ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี
 
     บ้านเก่าไม่เพียงเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์  ค้นพบร่องรอยมนุษย์ยุคหิน นำมาสู่จุดเริ่มต้นงานโบราณคดีสากลของประเทศไทย ยังเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของไทยที่สร้างขึ้นบริเวณแหล่งขุดค้นทางโบราณคดี  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้บริการมานานกว่า 50 ปีแล้ว รวบรวมโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ค้นพบในพื้นที่บ้านเก่าและ จ.กาญจนบุรี   โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่จัดแสดงอายุมากกว่า 3,100 – 5,000 ปี
 
 
พิพิธภัณฑ์ออกแบบให้ร่วมสมัย ดึงดูดคนรุ่ใหม่
 

     แหล่งเรียนรู้สำคัญของเมืองกาญจนฯ แห่งนี้ กรมศิลปากรดำเนินการปรับปรุงครั้งใหญ่ ล่าสุดเปิดให้บริการแล้ว เนื้อหาการจัดแสดงน่าสนใจ เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะคอประวัติศาสตร์โบราณคดี อาคารหลังใหม่ที่แสดงนิทรรศการถาวร ออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สีดินเทศ สวยงาม  ได้แรงบันดาลใจมาจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดี พิพิธภัณฑ์ฯ บ้านเก่าด้านติดกับแม่น้ำแควน้อยมีสกายวอร์คทอดยาวให้เดินชิลๆ ชมวิวทิวทัศน์ วันนี้กลายเป็นจุดเช็คอินกาญจนบุรี ที่เที่ยวถ่ายรูปสวยๆ กันไปเรียบร้อย

 

 
Sky Walk พิพิธภัณฑ์บ้านเก่า ชมวิวทิวทัศน์สวยๆ
 
     พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งเป้าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพระดับสากลชูแนวคิด “โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์แห่งภูมิภาคตะวันตกของไทย” เดินเที่ยวในอาคารจัดแสดงหลังใหม่เหมือนได้ร่วมทีมนักสำรวจเริ่มจากชั้นที่ 1 นำเสนอผ่านเครื่องมือหิน 8 ชิ้น (จำลอง) ที่ ดร.เอช.อาร์.ฟาน เฮเกอเรน นักโบราณคดีชาวเนเธอร์แลนดพบขณะเป็นเชลยศึกถูกคุมตัวมาสร้างทางรถไฟสายมรณะใกล้สถานีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจุดเริ่มต้นศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้านเก่า หนังสือพิมพ์ที่ลอนดอนเสนอข่าว ได้รับความสนใจทั่วโลก นำมาสู่การขุดค้นและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านเก่าในเวลาต่อมา  สำหรับเครื่องมือหินของจริงทั้ง 8 ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์พีบอดี มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐ  อยู่ระหว่างประสานงานโดยกรมศิลปากร เพื่อนำกลับประเทศไทย
 
 
เครื่องมือหิน 8 ชิ้น (จำลอง) จุดเริ่มต้นศึกษาโบราณคดีบ้านเก่า     
 
     จากนั้นเข้าสู่ห้องฉายวีดิทัศน์จำลองการค้นพบเครื่องมือหินยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเก่า ทางเดินพาย้อนสู่อดีตผ่านถ้ำจำลองให้ข้อมูลคนอยู่ถ้ำและคนใช้ถ้ำในยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่ละสมัย ตั้งแต่การล่าสัตว์ การทำเกษตรกรรม ทำเครื่องมือหินกะเทะ ในแบบภาพเคลื่อนไหวน่าชมก่อนจะมาตื่นตากับเครื่องมือหินพบจากลุ่มน้ำแควน้อย แควใหญ่ เครื่องมือหินโบราณเหล่านี้ช่วยอธิบายพฤติกรรมมนุษย์อย่างกระจ่าง
 
 
ถ้ำจำลองเสนอชีวิตคนยุคก่อนประวัติศาสตร์     
 
     จากชั้นล่างสุดที่หมายถึงชั้นดินที่พบหลักฐานเก่าที่สุด เราเดินทางทางลาดขึ้นสู่ชั้นที่ 2 ชวนมารู้จัก”วัฒนธรรมบ้านเก่า “ คำจำกัดความของวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ในภาคตะวันตกของไทย คนตั้งถิ่นฐานตามที่ราบหรือเชิงเขาใกล้ล้ำน้ำ มีวิถีชีวิต ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ รู้จักทำเครื่องมือหินกะเทาะ หินขัด เครื่องมือกระดูกสัตว์ เพราะยังไม่มีโลหะหรือเหล็ก แล้วยังมีหุ่นจำลองวิถีชีวิตคนสมัยหินใหม่อีก 12 ชุด น่าดูชม โบราณวัตถุที่โดดเด่นยังมีหม้อสามขาภาชนะรูปแบบเฉพาะของวัฒนธรรมบ้านเก่าอีกด้วย
 
 
หม้อสามขา เอกลักษณ์วัฒนธรรมบ้านเก่า 
 
     ตะลึงมากขึ้นไปอีก เมื่อได้เห็นโครงการกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า 2 โครงกระดูก โครงกระดูกแรกเป็น 1 ใน 38 โครงกระดูกที่พบจากโครงการสำรวจขุดค้นไทย-เดนมาร์ก พ.ศ.2503-2505 ปรากฏร่องรอยเจ็บป่วยโรคลูคีเมียหรือมะเร็งในไขกระดูก ที่เซอร์ไพรส์ได้รับรู้การทำฟันของคนบ้านเก่า มีการดัดแปลงและตกแต่งฟัน ขัดฟัน หลายแบบ โซนนี้ยังชวนไขปริศนาจากโครงกระดูก ผ่านระบบ Icon Interactive สุดทันสมัย สันนิษฐานหน้าตาและรูปร่างของคนบ้านเก่าโบราณ
 
 
ไขปริศนาจากโครงกระดูกด้วยระบบอินเตอร์แอคทีฟทันสมัย
 
     นิทรรศการมีความต่อเนื่องไปถึงชั้น 3 พาไปเรียนรู้เรื่องคนภาคตะวันตกเริ่มใช้โลหะครั้งแรกเมื่อราว 3,000 ปีที่แล้ว มีทั้งสำริดและเหล็ก โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ คือ เครื่องประดับและภาชนะสำริดจากแหล่งโบราณคดีในอำเภอต่างๆ ของกาญจนบุรี  ชั้นสุดท้ายยังมีศิลปะถ้ำ เช่น ภาพเขียนสีถ้ำตาด้วง เขาวังกุลา ถ้ำรูปเขาเขียว ถ้ำมือแดง ถัดมาเป็นเรื่องราววัฒนธรรมโลงไม้ผ่านการแสดงโลงศพไม้ลักษณะคล้ายเรือ หัวท้ายสลักเป็นรูปคนหรือสัตว์  พบที่ราบสูงตามเทือกเขาทางทิศตะวันตก ดูแล้วลึกลับน่าค้นหา
 
 
ตื่นตากับวัฒนธรรมโลงศพไม้
 
     ชมด้านในพิพิธภัณฑ์แล้วสามารถไปดูหลุมขุดค้นทางโบราณคดีของจริงได้ที่แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ พื้นที่ติดกับพิพิธภัณฑ์ฯ บ้านเก่า ที่นี่พบหลักฐานหลุมฝังศพร่วมกับภาชนะดินเผาและยังพบพื้นที่ผลิตโลหะสำริดอีกด้วย กรมศิลปากรวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีนี้ต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเติมเต็มประวัติศาสตร์ในพื้นที่ตำบลบ้านเก่าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
 
 
โรงงานกระดาษแห่งแรกของไทย อีกหมุดหมายแนะนำ
 
     เส้นทางท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ยังไม่หมด ออกจากบ้านเก่า เราเดินทางกลับเข้าตัวเมือง แวะ ต.บ้านใต้ ชม โรงงานกระดาษกาญจนบุรี เป็นโรงงานกระดาษแห่งแรกของไทย ที่ดินแปลงนี้ส่วนหนึ่งเป็นโบราณสถานกำแพงเมืองกาญจนบุรี ซึ่งสร้างสมัย ร. 3
 
     เราเดินแนวกำแพงเมือง ผ่านซุ้มประตูติดตรารูป”ทหารสามเศียร” เป็นเครื่องหมายการค้าโรงงานนี้  พร้อมกับนามโรงงานว่า “โรงงานกระดาษทหารกาญจนบุรีของกรมแผนที่” อดีตพื้นที่มีไม้ไผ่อุดมสมบูรณ์เป็นวัตถุดิบทำกระดาษ และมีแม่น้ำเป็นเส้นทางขนส่งไม้ไผ่ได้สะดวก
 
     กิจการสุดทันสมัยนี้เปิดปี 2481 กระดาษที่ผลิตนำมาใช้พิมพ์ธนบัตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรรเทาการขาดแคลนธนบัตรช่วงสงคราม ยุคนั้นโรงเรือนส่วนหนึ่งทหารกองทัพญี่ปุ่นยืมใช้เป็นที่พักด้วย โรงงานเลิกกิจการปี 2530 ตึกเป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมศิลปะแบบโมเดิร์นยุคแรกๆ ของไทย ดูเกลี้ยงเกลาเรียบง่าย เอกลักษณ์อีกหลังหนึ่งเป็นโรงหลอมโซดา  มีชั้นหอคอย และปล่องไฟสูงใหญ่
 
 
เที่ยวชมรงงานกระดาษและแนวกำแพงเมืองกาญจนบุรี
 
     ที่นี่เป็นประจักษ์พยานแสดงถึงการพัฒนาประเทศเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมและการค้าขนาดใหญ่ วันนี้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดฮิต มีนักท่องเที่ยวแต่งตัวชิคๆ มาเดินเล่นถ่ายภาพ  ขณะที่จังหวัดผนึกกับภาคีเครือข่ายผลักดันการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและพัฒนาสู่แลนด์มาร์คแห่งใหม่จ.กาญจนบุรี
 
     นับเป็นโปรแกรม One Day Trip ที่อยากแนะนำเป็นแนวทางเผื่อใครวางแผนเที่ยวชิลๆ ที่เมืองกาญจนบุรี
 

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเก่า กาญจนบุรี โรงงานกระดาษ

รายการอ้างอิง

-

จำนวนผู้เข้าชม

2,078

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

12 ธ.ค. 2565