หน้าแรก การท่องเที่ยว ชาวอนุรักษ์สัญจร ep.1

ชาวอนุรักษ์สัญจร ep.1

ชาวอนุรักษ์สัญจร ep.1

เผยแพร่เมื่อ 14 ก.พ. 2561
พิมพ์

โดย ชมรมอนุรักษ์ศิลปะ โบราณคดีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน

412

     พวกเราได้เดินทางไปยังแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี โดยตั้งอยู่ในตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
 
   แหล่งโบราณคดีโคกพนมดีเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ มีอายุราว3,000 - 4,000ปีมาแล้ว เป็นสมัยที่มนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งและเริ่มมีการทำเกษตรกรรมขึ้น รวมทั้งเริ่มการทำภาชนะดินเผาและการติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงอีกด้วย
 
     ในช่วงที่ศาสนายังไม่ได้เข้ามาภายในประเทศไทย คนในช่วงนั้นได้นับถือสิ่งที่เรียกว่าผี และมีความเชื่อในเรื่องการปลงศพโดยนิยมการขุดหลุมฝังศพและมักอุทิศสิ่งของต่างๆให้กับผู้ตาย
 
  ในปีพ.ศ.2527 - 2528 ได้เกิดการร่วมมือขึ้นระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยโอทาโก จัดทำโครงการเพื่อศึกษาเรื่องราวในยุคก่อนประวัติศาสตร์และได้ทำการขุดค้นที่โคกพนมดี การขุดสำรวจในครั้งนั้นได้พบโครงกระดูกเป็นจำนวน154โครงด้วยกัน และสันนิษฐานได้ว่ามีการฝังศพอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง400ปีหรือ20ชั่วคน ซึ่งโครงกระดูกแต่ละโครงนั้นบ้างก็ถูกฝังที่เดียวกัน บ้างก็ต่างที่กัน อีกทั้งของอุทิศมีทั้งเหมือนและต่างกัน รวมทั้งปริมาณของอุทิศด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการแสดงถึงบทบาทหรือสถานภาพของแต่ละคน จะเห็นได้จากโครงกระดูกซึ่งเป็นเพศหญิงมีสร้อยเปลือกหอยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งพบเพียงโครงเดียวสันนิษฐานว่าผู้หญิงคนนี้อาจเป็นใหญ่ในชุมชนแห่งนี้ จึงได้ถูกเรียกว่า “เจ้าแม่โคกพนมดี”
 
      ในครั้งหน้าเราจะไปกันที่ไหนติดตามได้เร็วๆนี้กับ #ชาวอนุรักษ์สัญจร

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

1. เจ้าแม่โคกพนมดี 2. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3. แหล่งฝังศพ 4. สมัยหินใหม่

รายการอ้างอิง

-

     พวกเราได้เดินทางไปยังแหล่งโบราณคดีโคกพนมดี โดยตั้งอยู่ในตำบลท่าข้าม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
 
   แหล่งโบราณคดีโคกพนมดีเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ มีอายุราว3,000 - 4,000ปีมาแล้ว เป็นสมัยที่มนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งและเริ่มมีการทำเกษตรกรรมขึ้น รวมทั้งเริ่มการทำภาชนะดินเผาและการติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงอีกด้วย
 
     ในช่วงที่ศาสนายังไม่ได้เข้ามาภายในประเทศไทย คนในช่วงนั้นได้นับถือสิ่งที่เรียกว่าผี และมีความเชื่อในเรื่องการปลงศพโดยนิยมการขุดหลุมฝังศพและมักอุทิศสิ่งของต่างๆให้กับผู้ตาย
 
  ในปีพ.ศ.2527 - 2528 ได้เกิดการร่วมมือขึ้นระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยโอทาโก จัดทำโครงการเพื่อศึกษาเรื่องราวในยุคก่อนประวัติศาสตร์และได้ทำการขุดค้นที่โคกพนมดี การขุดสำรวจในครั้งนั้นได้พบโครงกระดูกเป็นจำนวน154โครงด้วยกัน และสันนิษฐานได้ว่ามีการฝังศพอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง400ปีหรือ20ชั่วคน ซึ่งโครงกระดูกแต่ละโครงนั้นบ้างก็ถูกฝังที่เดียวกัน บ้างก็ต่างที่กัน อีกทั้งของอุทิศมีทั้งเหมือนและต่างกัน รวมทั้งปริมาณของอุทิศด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการแสดงถึงบทบาทหรือสถานภาพของแต่ละคน จะเห็นได้จากโครงกระดูกซึ่งเป็นเพศหญิงมีสร้อยเปลือกหอยเป็นจำนวนมาก อีกทั้งพบเพียงโครงเดียวสันนิษฐานว่าผู้หญิงคนนี้อาจเป็นใหญ่ในชุมชนแห่งนี้ จึงได้ถูกเรียกว่า “เจ้าแม่โคกพนมดี”
 
      ในครั้งหน้าเราจะไปกันที่ไหนติดตามได้เร็วๆนี้กับ #ชาวอนุรักษ์สัญจร

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

เจ้าแม่โคกพนมดี ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งฝังศพ สมัยหินใหม่

รายการอ้างอิง

-

เรื่องแนะนำ

จำนวนผู้เข้าชม

412

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

5 มิ.ย. 2567