หน้าแรก Current Stories เครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ : กลองมโหระทึก

เครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ : กลองมโหระทึก

เครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ : กลองมโหระทึก

เผยแพร่เมื่อ 22 มี.ค. 2567
พิมพ์

โดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

656

เครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ : กลองมโหระทึก
.
ราว ๆ 4,000-2,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ในช่วง ยุคสำริด-เหล็ก กลองมโหระทึกเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ทำมาจากโลหะผสมที่เรียกว่า “สัมฤทธิ์” และสามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคอุษาคเนย์ เช่น เวียดนาม พม่า ไทย ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา แสดงให้เห็นถึงระบบการติดต่อแลกเปลี่ยนทางการค้าขายสินค้าร่วมกัน
.
การสร้างเครื่องดนตรีที่ทำมาจากโลหะถือได้ว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ เพราะก่อนหน้าเครื่องดนตรีมักทำมาจากไม้และไม้ไผ่ ดังนั้นเสียงของโลหะที่มีความก้องกังวานที่ทำมาจากโลหะในสมัยนั้นถือได้ว่าเป็นเสียงใหม่ที่มีความยิ่งใหญ่และมีความศักดิ์สิทธิ์ อย่างมากในช่วงเวลานั้น
.
เครื่องดนตรีที่ทำมาจากโลหะจึงมีฐานะทางสังคมสูงมาก เพราะผู้ที่ครอบครองมักเป็นผู้ที่มีฐานะมั่นคงและเป็นหัวหน้า หรือ ผู้นำชุมชน ในช่วงสมัยนั้น บทบาทและหน้าที่ของกลองมโหระทึกจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น พิธีศพ พิธีเลี้ยงผี พิธีขอฝน ตามพื้นฐานความคิดร่วมกันของคนในภูมิภาคอุษาคเนย์ โดยภายหลังกลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตนเอง
.
การสร้างรูปกบบนหน้ากลอง เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนว่ากบเป็นสัตว์ของพระเจ้ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในการเรียกฝนและความอุดมสมบูรณ์ จึงมักสร้างรูปกบประดับตกแต่งไว้บนกลองมโหระทึกเพื่อใช้ในพิธีกรรมขอฝน คาดว่ากลองมโหระทึกน่าจะเกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรม
.
นอกจากนี้ยังมีเส้นลวดลายที่ปรากฏบนกลองเป็นลวดลายเรขาคณิต เป็นการเล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคนั้น ทั้งความเชื่อ พิธีกรรม รูปสัตว์ นก และเรือ
.
รูปดวงอาทิตย์หรือดวงดาว แสดงถึงพิธีกรรมการบูชาดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนสมัยก่อนที่เคารพบูชาธรรมชาติ
.
รูปนกบินทวนเข็มนาฬิกา เป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพนิเวศน์ที่กลุ่มผู้ผลิตกลองตั้งถิ่นฐานอยู่
.
การสร้างรูปเรือแสดงถึงพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย หมายถึงทำหน้าที่สื่อผู้ส่งวิญญาณผู้ตายไปยังภพหน้า
.
กลองมโหระทึกในวัฒนธรรมไทยมีปรากฏอยู่ในจารึกตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในบทพระอัยการสมัยอยุธยา จนปรากฏให้เห็นชัดอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยใช้กลองมโหระทึกในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ใช้ตีในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความอุดมสมบูรณ์

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

1. หลักฐานสุวรรณภูมิ 2. กลองมโหรทึก 3. เครื่องดนตรี

รายการอ้างอิง

อ้างอิง :
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ชุมพร. กลองมโหระทึก จากชุมชนโบราณเขาสามแก้ว. https://www.finearts.go.th/main/view/19673-กลองมโหระทึก-จากชุมชนโบราณเขาสามแก้ว
ภัทรวีร์ เทียนชัยอนันต์. เครื่องดนตรี “วัฒนธรรมกลองสัมฤทธิ์และฆ้อง” ในภูมิภาคอุษาคเนย์. http://ejs.bsru.ac.th/.../jour.../journal5_1/02_Article9.pdf
ยุภาพร ธัญวิวัฒน์กุล. มโหระทึก : กลองศักดิ์สิทธิ์. http://knowledge-center.museumsiam.org/.../qMghGeltXTqD.pdf

เครื่องดนตรีในภูมิภาคอุษาคเนย์ : กลองมโหระทึก
.
ราว ๆ 4,000-2,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ในช่วง ยุคสำริด-เหล็ก กลองมโหระทึกเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ทำมาจากโลหะผสมที่เรียกว่า “สัมฤทธิ์” และสามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคอุษาคเนย์ เช่น เวียดนาม พม่า ไทย ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา แสดงให้เห็นถึงระบบการติดต่อแลกเปลี่ยนทางการค้าขายสินค้าร่วมกัน
.
การสร้างเครื่องดนตรีที่ทำมาจากโลหะถือได้ว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ เพราะก่อนหน้าเครื่องดนตรีมักทำมาจากไม้และไม้ไผ่ ดังนั้นเสียงของโลหะที่มีความก้องกังวานที่ทำมาจากโลหะในสมัยนั้นถือได้ว่าเป็นเสียงใหม่ที่มีความยิ่งใหญ่และมีความศักดิ์สิทธิ์ อย่างมากในช่วงเวลานั้น
.
เครื่องดนตรีที่ทำมาจากโลหะจึงมีฐานะทางสังคมสูงมาก เพราะผู้ที่ครอบครองมักเป็นผู้ที่มีฐานะมั่นคงและเป็นหัวหน้า หรือ ผู้นำชุมชน ในช่วงสมัยนั้น บทบาทและหน้าที่ของกลองมโหระทึกจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น พิธีศพ พิธีเลี้ยงผี พิธีขอฝน ตามพื้นฐานความคิดร่วมกันของคนในภูมิภาคอุษาคเนย์ โดยภายหลังกลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในตนเอง
.
การสร้างรูปกบบนหน้ากลอง เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนว่ากบเป็นสัตว์ของพระเจ้ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ในการเรียกฝนและความอุดมสมบูรณ์ จึงมักสร้างรูปกบประดับตกแต่งไว้บนกลองมโหระทึกเพื่อใช้ในพิธีกรรมขอฝน คาดว่ากลองมโหระทึกน่าจะเกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรม
.
นอกจากนี้ยังมีเส้นลวดลายที่ปรากฏบนกลองเป็นลวดลายเรขาคณิต เป็นการเล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคนั้น ทั้งความเชื่อ พิธีกรรม รูปสัตว์ นก และเรือ
.
รูปดวงอาทิตย์หรือดวงดาว แสดงถึงพิธีกรรมการบูชาดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนสมัยก่อนที่เคารพบูชาธรรมชาติ
.
รูปนกบินทวนเข็มนาฬิกา เป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้า หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพนิเวศน์ที่กลุ่มผู้ผลิตกลองตั้งถิ่นฐานอยู่
.
การสร้างรูปเรือแสดงถึงพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย หมายถึงทำหน้าที่สื่อผู้ส่งวิญญาณผู้ตายไปยังภพหน้า
.
กลองมโหระทึกในวัฒนธรรมไทยมีปรากฏอยู่ในจารึกตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในบทพระอัยการสมัยอยุธยา จนปรากฏให้เห็นชัดอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยใช้กลองมโหระทึกในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ใช้ตีในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อความอุดมสมบูรณ์

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

หลักฐานสุวรรณภูมิ กลองมโหรทึก เครื่องดนตรี

รายการอ้างอิง

อ้างอิง :
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ชุมพร. กลองมโหระทึก จากชุมชนโบราณเขาสามแก้ว. https://www.finearts.go.th/main/view/19673-กลองมโหระทึก-จากชุมชนโบราณเขาสามแก้ว
ภัทรวีร์ เทียนชัยอนันต์. เครื่องดนตรี “วัฒนธรรมกลองสัมฤทธิ์และฆ้อง” ในภูมิภาคอุษาคเนย์. http://ejs.bsru.ac.th/.../jour.../journal5_1/02_Article9.pdf
ยุภาพร ธัญวิวัฒน์กุล. มโหระทึก : กลองศักดิ์สิทธิ์. http://knowledge-center.museumsiam.org/.../qMghGeltXTqD.pdf

จำนวนผู้เข้าชม

656

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 มี.ค. 2567