Google Translate |
|
---|
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องประดับมักทำจากกระดูกสัตว์ เปลือกหอย และหินบางชนิด อย่างไรก็ตามในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์ (Protohistory) นั้นกลับพบเครื่องประดับทำจากหินกึ่งรัตนชาติ และแก้วสีต่าง ๆแทน ซึ่งสะท้อนการติดต่อค้าขายกับอินเดีย จีน และผู้คนในภูมิภาคแถบนี้
ในบรรดาเครื่องประดับทั้งหมด ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความพิเศษโดดเด่นคือ การทำเครื่องประดับเป็นรูปสัตว์หลากหลายชนิดเช่น นก เต่า สิงโต เสือ เต่า เป็นต้น เครื่องประดับรูปสัตว์อาจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอธิบายสภาพแวดล้อมเดิมของมนุษย์ยุคก่อนผ่านสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่นั้นแล้ว ยังอาจรวมถึงการใช้ “สัตว์” ในการเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อ ทั้งความเชื่อท้องถิ่นและความเชื่อจากดินแดนอันไกลโพ้นโดยเฉพาะอินเดียกับจีน
ทำไมคนโบราณจึงนับถือสัตว์
เหตุผลของการนับถือสัตว์ (Animal Worship) ของคนสมัยโบราณนั้นมีด้วยกันหลายเหตุผล เช่น การบูชาเพราะกลัวความตาย การบูชาเพื่ออุดมสมบูรณ์ เป็นต้น เราอาจจำแนกสัตว์ที่คนบูชาออกได้เป็นกลุ่มๆ ได้แก่ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าที่มนุษย์ไม่ได้เลี้ยง สัตว์ที่เกี่ยวกับการสงคราม ยกตัวอย่างเช่น หมี ถูกนำถือในหมู่นักล่าสัตว์ในสมัยกรีกโบราณหมีได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับเทพีอาร์ทีมิส เทพีแห่งการล่าสัตว์ ซึ่งมีตำนานว่าครั้งหนึ่งเทพีอาร์ทีมิสได้แปลงกายเป็นหมี กลุ่มดาวหมีใหญ่จึงกลายเป็นหนึ่งในตัวแทนของเทพีอาร์ทีมิส และมีการศึกษาว่าในกลุ่มของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) อาจมีการบูชาหมีเนื่องจากพบกระดูกหมีโบราณในถ้ำต่าง ๆ หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล รวมทั้งมีการจัดวางกระดูกของหมีในลักษณะที่แปลกประหลาด จึงมีนักโบราณคดีบางท่านได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจมีกลุ่มที่นับถือหมีขึ้นมาในหมู่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลก็เป็นได้ (เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_worship)
นอกจากที่กล่าวถึงมาข้างต้นแล้ว แนวคิดเรื่อง “โทเท็ม” (Totemism) หรือการนับถือธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์ ถือเป็นรูปแบบความเชื่อแบบหนึ่งของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ลึกลับทางวิญญาณกับพืชหรือสัตว์ กล่าวคือ แนวคิดนี้กำเนิดขึ้นมาจากความรู้สึกผู้สัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณของมนุษย์กับสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ
Totemism นั้นมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวของกลุ่มเครือญาติ หรือกลุ่มคนในเผ่าเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ชาวอะบอริจินในประเทศออสเตเลีย ได้ใช้รูปสัตว์แทนกลุ่มของตนเองรวมไปถึงเครือญาติ เปรียบเสมือนตราประจำตระกูล อีกทั้ง “Totem” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Ojibwa” หรือ “one’s brother-sister kin” ซึ่งหมายถึงพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าหน้าที่อย่างหนึ่งของTotem คือถูกใช้แทนสัญลักษณ์ประจำตระกูล หรือคนในเครือญาติเดียวกัน อย่างไรก็ตาม Totem เป็นสิ่งที่ผูกเข้ากับจิตวิญญาณทางธรรมชาติอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นหน้าที่ของ Totem นอกเหนือจากการเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล ยังเป็นดั่งเครื่องรางของขลังที่เป็นดั่งเทพคุ้มครอง และอาจมอบพลังเหนือมนุษย์(ตามความเชื่อบางแห่ง)อีกด้วย ซึ่งในแง่การใช้งาน Totem เองนั้นทำให้มักเกิดการผสมปนเปกับความเชื่ออื่นๆ ทั้งการนับถือบรรพบุรุษ หรือการบูชาผี เช่นกัน (เข้าถึงได้จาก https://www.britannica.com/topic/totemism-religion)
สัญลักษณ์จากอินเดีย
ในอินเดียมีการนับถือสัตว์หลากหลายชนิด เห็นได้จากสัตว์พาหนะของเทพเจ้าฮินดู อย่างไรก็ตามย้อนกลับไปในยุคต้นพุทธกาลจะพบว่า มีสัตว์อยู่เพียงกี่ชนิดที่ได้รับการยกย่อและบูชา ที่สำคัญได้แก่ ช้าง ม้า โค สิงห์ และกวาง ดังเห็นได้จากในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะของอินเดีย ได้ใช้เครื่องหมายรูปกงจักรและรูปสัตว์ใหญ่ทั้งสี่คือ ช้างที่เป็นตัวแทนการเกิดของพระพุทธเจ้า(จากความฝันของพระนางสิริมหามายาที่ฝันเห็นช้าง) ม้าที่แสดงถึงสัตว์พาหนะชณะออกบวชของพระพุทธเจ้า โคเป็นตัวแทนของราศีของพระพุทธเจ้า(ราศีพฤษภ) สิงห์เป็นตัวแทนของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (เข้าถึงได้จาก https://byjus.com/free-ias-prep/interesting-facts-about-national-emblem) เป็นส่วนประกอบของเสาที่ชื่อว่า “เสาพระเจ้าอโศก” ซึ่งมีหน้าที่ทางตรงคือการบอกขอบเขตของพระราชอำนาจของพระเจ้าอโศก รวมทั้งยังสื่อถึงการเป็นแกนของจักรวาลอีกด้วยหรือในสมัยราชวงศ์คุปตะ เหตุการณ์ในตอนพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันได้มีการทำรูปกวางหมอบขนาดเล็กใต้ฐานของพระพุทธรูป ซึ่งในสมัยทวารวดีมีการสร้างธรรมจักรและกวางหมอบคู่
หัวเสารูปสิงโตของเสาพระเจ้าอโศกที่พบในอินเดีย
(ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tr%E1%BB%A5_%C4%91%C3%A1_Ashoka_%28Pillar_of_Ashoka%29.jpg)
กวางหมอบคู่กับธรรมจักรในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบภายในประเทศไทย
(ที่มา:https://www.matichonacademy.com/tour-story/tour-story/รู้จัก-ธรรมจักร-สัญลักษ)
วัฒนธรรมอินเดียยังมีสัตว์อื่นๆที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบอื่นๆ โดยมีทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการเคารพบูชา ตัวแทนของบางสิ่ง หรือเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อเติมเต็มสัญลักษณ์อย่างอื่นให้สมบูรณ์ พบทั้งสัตว์ขนาดใหญ่และสัตว์ขนาดเล็ก สำหรับสัตว์ขนาดใหญ่ที่พบมีทั้ง ช้าง ม้า สิงโต เสือ และนก เป็นต้น ความน่าสนใจของกลุ่มสัตว์ใหญ่คือมีการพบว่าชื่อของกษัตริย์บางพระองค์มีความหมายที่แปลว่าสิงโต หรือเสือภายในชื่อของพระองค์ โดยมีการอธิบายว่าเป็นการแสดงถึงสายเลือดของนักรบของกษัตริย์พระองค์นั้น เช่น จารึก Samudraguota เขียนขึ้นในปีค.ศ.380 (พ.ศ.923) กล่าวถึงหัวหน้าเผ่าผู้ปกครองตะวันตกได้ผ่ายแพ่แก่ “ราชาแห่งป่า”(Forest King) ชื่อ Vyaghraraja ซึ่งชื่อดังกล่าวหมายถึง “ราชาเสือ” (Yaroslav Vassilkov, 2013: 231 – 247)
สำหรับสัตว์ขนาดเล็กที่ถูกนำเสนอเป็นสัญลักษณ์ในอินเดียนั้นอยู่ในกลุ่มจำพวก “แมลง” เช่น แมงป่อง ตั๊กแตน ตะขาบ และมดดำ เป็นต้น โดยพบในลักษณะเป็นสัตว์หนึ่งของงานจิตรกรรม หรือบนลายของภาชนะดินเผา เช่น มดดำ ถูกวาดในจิตกรรมฝาผนังภายในถ้ำอชันตา หมายเลข 7 ภายในภาพเรื่อง “Shadadanta Jataka” พบเป็นรูปมดดำไต่ต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ดังกล่าวพบได้ทั่วไปในอินเดีย และรู้จักกันในนาม “Flame of the Forest” จากสีของดอกไม้ที่เป็นสีแดง และมีสรรพคุณในด้านการรักษา (Shivendra Kadgaonkar, 2017: 105 - 109)
จิตรกรรมฝาผนังภายในถ้ำอชันตา หมายเลข 7 (ที่มา:Shivendra Kadgaonkar, 2017: 107)
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ปู เป็นส่วนประกอบในประติมากรรม Naga Jataka ภายในประติมากรรมพบรูปช้าง ปู ปลา ภายในทะเลสาบ ซึ่งปูกำลังจับขาข้างหนึ่งของช้าง ซึ่งตรงกับชาดกเกี่ยวกับปูในเมือง Banaras ที่คอยฆ่าช้างที่แวะเข้ามาดื่มน้ำในทะเลสาบที่ตัวเองอยู่ และในขณะที่พระโพธิสัตว์ได้ผ่านทะเลสาปแห่งนั้นได้ถูกปูตัวดังกล่าวจับขาช้างของพระพุทธเจ้าหวังฆ่าเหมือนช้างตัวอื่นๆ ซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ฆ่าปูตัวนั้นเพื่อทำให้ทะเลสาปแห่งนี้ปลอดภัยต่อทุกสรรพชีวิตที่ต้องการดื่มกินน้ำจากทะเลสาปแห่งนี้ ความน่าสนใจของประติมากรรมดังกล่าวอีกอย่างคือ การใช้รูปช้างแทนตัวของพระพุทธเจ้า เพราะภายในประติมากรรมดังกล่าวไม่มีรูปของพระโพธิสัตว์ปรากฏให้เห็นเลย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเดียวกับที่ยังไม่เกิดการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงเกิดการใช้สัญลักษณ์ต่างๆแทนตัว รวมไปถึงการใช้สัตว์แทนเช่นกัน (Shivendra Kadgaonkar, 2017: 105 - 109)
ประติมากรรม Naga Jataka (ที่มา:Shivendra Kadgaonkar, 2017: 106)
สัญลักษณ์ในท้องถิ่น
การนับถือผีและธรรมชาติเป็นความเชื่อพื้นฐานของมนุษย์ในแถบนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่าการทำรูปสัตว์สัญลักษณ์อาจเป้นแขนงหนึ่งของการนับถือธรรมชาติโดยการใช้สัตว์เป็นตัวแทนของธรรมชาติ ความเชื่อในการบูชาสัตว์ของผู้คนแถบนี้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยก่อนยุคเหล็ก ดังเห็นได้จากภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่วาดเป็นรูปสัตว์หลากหลายชนิด เช่น วัว ควาย ช้าง ตัวเงินตัวทอง ตัวแลน กวาง ลิง เป็นต้น
แต่หลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่า สัตว์บางชนิดได้รับการบูชาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์นั้นปรากฏชัดอยู่บนกลางมโหระทึก ซึ่งสัตว์บนหน้ากลางมโหระทึกประกอบด้วยนก กบ หอย และช้าง
นอกจากนี้แล้วยังพบว่าผู้คนในแถบนี้ยังบูชางู เพราะงูนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่อันตรายต่อชีวิตเป็นอย่างมาก จากการเคลื่อนไหวของงูที่ไม่มีเสียงและเงียบสงบรวมทั้งพิษอันร้ายแรงถึงตาย จึงทำให้หลบเลี่ยงอันตรายจากงูได้ยาก จึงเกิดการบูชางูขึ้นมาคล้ายคลึงกับการบูชาฟ้าฝนของมนุษย์ในอดีต เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ นอกจากนี้ในทางสากลแล้วงูถือเป็นสัญลักษณ์ของความอมตะ จากการลอกคราบที่เปรียบเหมือนการเกิดใหม่ซ้ำไปซ้ำมา ตัวอย่างเช่นในตำนานกรีกโบราณมีเทพชื่อแอสคลีเพียส เป็นเทพด้านการแพทย์มีไม้เท้าเป็นรูปงูพันรอบ และได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับหน่วยงานด้านการแพทย์ทั่วโลก (เข้าถึงได้จาก www.finearts.go.th/museumstorage/view/25394-งู)
สัญลักษณ์รูปไม้เท้าของเทพแอสคลีเพียส ที่เป็นตัวแทนของการแพทย์
(ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Caduceus)
นอกจากงูแล้วยังมีการบูชาจระเข้ และเสือด้วยเช่นกัน ซึ่งมีต้นเหตุไม่แตกต่างจากการบูชางูคือ การเป็นสัตว์ที่มีอันตรายสูงถึงชีวิตและอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของมนุษย์โดยสิ้นเชิง ทั้งจระเข้ที่เป็นสัตว์นักล่าที่พบได้ทั่วไปตามแม่น้ำทั่วทั้งแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเสือที่พบได้ทั่วไปภายในป่าเขตร้อนแถบนี้ ซึ่งทั้งป่าและแม่น้ำต่างเป็นพื้นที่สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตทั้งสิ้น
เครื่องประดับรูปสัตว์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในไทย
การติดต่อกับอินเดียทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้มีการนำความเชื่อในการบูชาสัตว์ในศาสนาต่างๆ ของอินเดียเข้ามาใช้ด้วย หลักฐานดังกล่าวพบได้ในเครื่องประดับขนาดเล็กๆ แต่ในขณะเดียวกันการบูชาสัตว์พื้นเมืองก็ยังคงดำรงอยู่ ดังเห็นได้จากแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์มักพบกลองมโหระทึก และเครื่องประดับรูปสัตว์ที่ไม่พบในอินเดียด้วย
หลักฐานเกี่ยวกับการบูชาสัตว์ในไทยมักพบในแถบภาคใต้และภาคตะวันตกเช่น บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรีพบสิงโตทำจากหินคาร์เนเลียน (วสันต์ เทพสุริยานนท์, 2544) เขตท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบลูกปัดหินและแก้วรูปม้า นก เสือ และจระเข้ (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562) สำหรับในประเทศเมียนมาร์พบในเขตภาคใต้ของประเทศโดยอยู่ในเขตของแหล่งโบราณชื่อ “Samon valley” ซึ่งถูกนับได้ว่าเป็นกลุ่มคนก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศเมียนมาร์ก่อนพัฒนากลายเป็นกลุ่มวัฒนธรรมปยู (Pyu) ในสมัยต่อมา ซึ่งใน Samon valley มีการพบเครื่องประดับรูปเสือ ทำจากหินคาร์เนเลียน (Bob Hudson, 2005: 59-79)
สิงโตคาร์เนเลียนที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร
จากแหล่งโบราณคดีที่ได้ยกตัวอย่างมาเห็นได้ว่าประเภทของสัตว์ ที่พบในแต่ละพื้นที่มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน เป็นไปได้หรือไม่ว่าการพบสัตว์ชนิดเดียวกันอย่าง “เสือ” จากหินคาร์เนเลียนพบทั้งในเขาสามแก้ว ท่าชนะ บ้านดอนตาเพชร Samon Valley แสดงถึงการนับถือในรูปแบบความเชื่อเดียวกันรวมถึงสภาพภูมิประเทศที่มักเป็นป่าแล้วอาจเกิดการบูชาเสือขึ้น นอกจากนี้ในวัฒนธรรมของชาวจีนยังถือว่าเสือเป็นตัวแทนของ “ผู้ชาย” ซึ่งในสุสานเมืองเหอผู่เมืองใกล้ชายฝั่งทะเลของจีนพบ “เสือ” ทำจากหินคาร์เนเลียน เช่นเดียวกับที่พบทั้งในไทยและเมียนมาร์ และในวัฒนธรรมดั้งเดิมของเวียดนาม “เสือ” ถือเป็นสัญลักษณ์ของพละกำลัง ความดุร้าย และความสง่างาม รวมทั้งยังถือว่าเสือเป็นผู้พิทักษ์ (https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_worship) “เสือ” จึงอาจเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายภายในชุมชนที่มีบทบาทคอยออกล่าหาอาหาร และอาจมีหน้าที่คอยปกป้องชุมชน
อย่างไรก็ตามพื้นที่แถบคาบสมุทรทั้งท่าชนะ และเขาสามแก้ว กลับเป็นพื้นที่ที่พบสัตว์หลากหลายประเภททั้งจระเข้ เสือ นก กระต่าย ม้า และกวาง แตกต่างกับบ้านดอนตาเพชร หรือ Samon Valley ซึ่งอาจสอดคล้องกับคาบสมุทรเป็นพื้นที่สำหรับการติดต่อกับชุมชนภายนอกทางไกล และมีสถานะเป็นเมืองท่านานาชาติ ส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่จากคนหลากหลายแห่ง ทั้งจากคนในพื้นที่ดั้งเดิม พ่อค้าจากภายนอกที่เข้ามาค้าขาย หรือคนจากชุมชนอื่นที่มองเห็นช่องทางในการสร้างฐานะในแถบเมืองท่า จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการพบ “สัตว์” หลายประเภทสะท้อนถึงคนหลายกลุ่มภายในพื้นที่บริเวณดังกล่าว และอาจสะท้อนถึงสภาพภูมิประเทศด้วยเช่นกันอย่างลักษณะภูมิประเทศของเขาสามแก้วเป็นภูเขาติดแม่น้ำขนาดใหญ่ การมีสัญลักษณ์เป็นรูป “จระเข้” อาจเป็นการแทนถึงกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ จึงอาจเกิดการนับถือ “จระเข้” ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่ดุร้ายขึ้น
ลูกปัดหินและแก้วรูปสัตว์ที่พบในเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร
(ที่มา:สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562: 153)
ลูกปัดหินและแก้วรูปสัตว์ที่พบในท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ที่มา:สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562: 154)
สัตว์บางประเภทไม่ใช่สัตว์ดั้งเดิมของพื้นที่แถบนี้เช่น “ม้า” หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการมีม้านั้นพบที่เก่าแก่ที่สุดที่เวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงสมัยหริภุญชัย ดังนั้นการพบสัญลักษณ์ของ “ม้า” ในแถบคาบสมุทรช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์นั้น อาจสรุปได้ว่าเป็นของจากคนภายนอกที่เข้ามาในพื้นที่เช่น พ่อค้าในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนที่เข้ามาค้าขายภายในแถบคาบสมุทร เนื่องจากจีนเป็นแหล่งของม้าที่ใกล้ที่สุดในแถบนี้ รวมทั้งมีบันทึกสมัยทวารวดีที่กล่าวถึงการนำเข้าม้าจากจีนด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้สัตว์บางประเภทยังเชื่อมโยงกับความเชื่อของวัฒนธรรมภายนอกพื้นที่แถบนี้เช่น “กระต่าย” เนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมของคนในแถบนี้เกี่ยวกับ “กระต่าย” ไม่ชัดเจนมากนัก แต่หากอิงความเชื่อของชาวจีนเกี่ยวกับ “กระต่าย” กลับพบหลายเรื่องเช่น “กระต่าย” เป็นตัวแทนของนักษัตรลำดับที่ 4 คือปีเถาะตามปฏิทินจีน เป็นตัวแทนของเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ที่คอยปรุงยา และสัตว์เลี้ยงของเทพีฉางเอ๋อ เทพีแห่งดวงจันทร์ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการพบสัญลักษณ์รูป “กระต่าย” อาจมาจากพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาในพื้นที่เช่นกัน
ภายหลังการเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดีย
สมัยทวารวดีคือช่วงที่ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียมาอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะทางด้านศาสนา จึงพบว่าสัตว์สัญลักษณ์ในรูปแบบของเครื่องประดับกลับเป็นหลักฐานที่พบน้อยลง สันนิษฐานว่าเนื่องจากการเข้ามาของศาสนาและสัญลักษณ์แบบใหม่ในรูปแบบของ “รูปเคารพ” เข้ามาแทนที่การใช้ “สัตว์” เป็นสัญลักษณ์ โดยหากย้อนกลับไปยังอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้ว พบว่าเริ่มมีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายมงคลต่างๆ บนสถาปัตยกรรม หรือในงานวรรณกรรมมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยมีผู้ศึกษาและจัดแบ่งการใช้สัญลักษณ์ของคนในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุว่ามีการใช้สอยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน (นันทนา ชุติวงศ์, 2564: 13-30) คือ
อย่างไรก็ตามบทบาทของ “สัตว์” สัญลักษณ์ไม่ได้หายไปจนหมดสิ้นแต่ถูกลดบทบาทลงเช่น กวาง ที่พบคู่กับเสาธรรมจักรอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือ งู ที่เป็นสัตว์คู่กับพระศิวะเป็นต้น ซึ่งลักษณะคล้ายคลึงกับการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมของอินเดียภายหลังเกิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่นำเทพธรรมชาติดั้งเดิมหลอมรวมกับเทพฮินดู หรือในช่วงการเกิดศาสนาพุทธขึ้นมาได้มีการนำเทพฮินดูเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ เป็นต้น
นันทนา ชุติวงศ์. “เครื่องหมายมงคลในวัฒนธรรมแบบทวารวดี”. ใน รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2564.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. ภววิทยาวัตถุ (Object-oriented ontology). เข้าถึงได้เมื่อ 1 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/287.
วสันต์ เทพสุริยานนท์. แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร : ผลการขุดค้นทางโบราณคดี. สุพรรณบุรี: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี. 2544.
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรมเชื่อมโยงโลก. กรุงเทพ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). 2562.
Bob Hudson. “A Pyu Homeland in the Samon Valley: a new theory of the origins of Myanmar's early urban system”. In Myanmar Historical Commission Conference Proceedings, Part 2. Universities Historical Research Centre, Yangon. 2005.
Josef Haekel. Totemism. เข้าถึงได้จาก
https://www.britannica.com/topic/totemism-religion.
ในยุคก่อนประวัติศาสตร์แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องประดับมักทำจากกระดูกสัตว์ เปลือกหอย และหินบางชนิด อย่างไรก็ตามในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์ (Protohistory) นั้นกลับพบเครื่องประดับทำจากหินกึ่งรัตนชาติ และแก้วสีต่าง ๆแทน ซึ่งสะท้อนการติดต่อค้าขายกับอินเดีย จีน และผู้คนในภูมิภาคแถบนี้
ในบรรดาเครื่องประดับทั้งหมด ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความพิเศษโดดเด่นคือ การทำเครื่องประดับเป็นรูปสัตว์หลากหลายชนิดเช่น นก เต่า สิงโต เสือ เต่า เป็นต้น เครื่องประดับรูปสัตว์อาจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอธิบายสภาพแวดล้อมเดิมของมนุษย์ยุคก่อนผ่านสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่นั้นแล้ว ยังอาจรวมถึงการใช้ “สัตว์” ในการเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อ ทั้งความเชื่อท้องถิ่นและความเชื่อจากดินแดนอันไกลโพ้นโดยเฉพาะอินเดียกับจีน
ทำไมคนโบราณจึงนับถือสัตว์
เหตุผลของการนับถือสัตว์ (Animal Worship) ของคนสมัยโบราณนั้นมีด้วยกันหลายเหตุผล เช่น การบูชาเพราะกลัวความตาย การบูชาเพื่ออุดมสมบูรณ์ เป็นต้น เราอาจจำแนกสัตว์ที่คนบูชาออกได้เป็นกลุ่มๆ ได้แก่ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าที่มนุษย์ไม่ได้เลี้ยง สัตว์ที่เกี่ยวกับการสงคราม ยกตัวอย่างเช่น หมี ถูกนำถือในหมู่นักล่าสัตว์ในสมัยกรีกโบราณหมีได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับเทพีอาร์ทีมิส เทพีแห่งการล่าสัตว์ ซึ่งมีตำนานว่าครั้งหนึ่งเทพีอาร์ทีมิสได้แปลงกายเป็นหมี กลุ่มดาวหมีใหญ่จึงกลายเป็นหนึ่งในตัวแทนของเทพีอาร์ทีมิส และมีการศึกษาว่าในกลุ่มของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) อาจมีการบูชาหมีเนื่องจากพบกระดูกหมีโบราณในถ้ำต่าง ๆ หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล รวมทั้งมีการจัดวางกระดูกของหมีในลักษณะที่แปลกประหลาด จึงมีนักโบราณคดีบางท่านได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจมีกลุ่มที่นับถือหมีขึ้นมาในหมู่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลก็เป็นได้ (เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_worship)
นอกจากที่กล่าวถึงมาข้างต้นแล้ว แนวคิดเรื่อง “โทเท็ม” (Totemism) หรือการนับถือธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์ ถือเป็นรูปแบบความเชื่อแบบหนึ่งของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ลึกลับทางวิญญาณกับพืชหรือสัตว์ กล่าวคือ แนวคิดนี้กำเนิดขึ้นมาจากความรู้สึกผู้สัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณของมนุษย์กับสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ
Totemism นั้นมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวของกลุ่มเครือญาติ หรือกลุ่มคนในเผ่าเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ชาวอะบอริจินในประเทศออสเตเลีย ได้ใช้รูปสัตว์แทนกลุ่มของตนเองรวมไปถึงเครือญาติ เปรียบเสมือนตราประจำตระกูล อีกทั้ง “Totem” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Ojibwa” หรือ “one’s brother-sister kin” ซึ่งหมายถึงพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าหน้าที่อย่างหนึ่งของTotem คือถูกใช้แทนสัญลักษณ์ประจำตระกูล หรือคนในเครือญาติเดียวกัน อย่างไรก็ตาม Totem เป็นสิ่งที่ผูกเข้ากับจิตวิญญาณทางธรรมชาติอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นหน้าที่ของ Totem นอกเหนือจากการเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล ยังเป็นดั่งเครื่องรางของขลังที่เป็นดั่งเทพคุ้มครอง และอาจมอบพลังเหนือมนุษย์(ตามความเชื่อบางแห่ง)อีกด้วย ซึ่งในแง่การใช้งาน Totem เองนั้นทำให้มักเกิดการผสมปนเปกับความเชื่ออื่นๆ ทั้งการนับถือบรรพบุรุษ หรือการบูชาผี เช่นกัน (เข้าถึงได้จาก https://www.britannica.com/topic/totemism-religion)
สัญลักษณ์จากอินเดีย
ในอินเดียมีการนับถือสัตว์หลากหลายชนิด เห็นได้จากสัตว์พาหนะของเทพเจ้าฮินดู อย่างไรก็ตามย้อนกลับไปในยุคต้นพุทธกาลจะพบว่า มีสัตว์อยู่เพียงกี่ชนิดที่ได้รับการยกย่อและบูชา ที่สำคัญได้แก่ ช้าง ม้า โค สิงห์ และกวาง ดังเห็นได้จากในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะของอินเดีย ได้ใช้เครื่องหมายรูปกงจักรและรูปสัตว์ใหญ่ทั้งสี่คือ ช้างที่เป็นตัวแทนการเกิดของพระพุทธเจ้า(จากความฝันของพระนางสิริมหามายาที่ฝันเห็นช้าง) ม้าที่แสดงถึงสัตว์พาหนะชณะออกบวชของพระพุทธเจ้า โคเป็นตัวแทนของราศีของพระพุทธเจ้า(ราศีพฤษภ) สิงห์เป็นตัวแทนของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (เข้าถึงได้จาก https://byjus.com/free-ias-prep/interesting-facts-about-national-emblem) เป็นส่วนประกอบของเสาที่ชื่อว่า “เสาพระเจ้าอโศก” ซึ่งมีหน้าที่ทางตรงคือการบอกขอบเขตของพระราชอำนาจของพระเจ้าอโศก รวมทั้งยังสื่อถึงการเป็นแกนของจักรวาลอีกด้วยหรือในสมัยราชวงศ์คุปตะ เหตุการณ์ในตอนพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันได้มีการทำรูปกวางหมอบขนาดเล็กใต้ฐานของพระพุทธรูป ซึ่งในสมัยทวารวดีมีการสร้างธรรมจักรและกวางหมอบคู่
หัวเสารูปสิงโตของเสาพระเจ้าอโศกที่พบในอินเดีย
(ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tr%E1%BB%A5_%C4%91%C3%A1_Ashoka_%28Pillar_of_Ashoka%29.jpg)
กวางหมอบคู่กับธรรมจักรในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบภายในประเทศไทย
(ที่มา:https://www.matichonacademy.com/tour-story/tour-story/รู้จัก-ธรรมจักร-สัญลักษ)
วัฒนธรรมอินเดียยังมีสัตว์อื่นๆที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบอื่นๆ โดยมีทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการเคารพบูชา ตัวแทนของบางสิ่ง หรือเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อเติมเต็มสัญลักษณ์อย่างอื่นให้สมบูรณ์ พบทั้งสัตว์ขนาดใหญ่และสัตว์ขนาดเล็ก สำหรับสัตว์ขนาดใหญ่ที่พบมีทั้ง ช้าง ม้า สิงโต เสือ และนก เป็นต้น ความน่าสนใจของกลุ่มสัตว์ใหญ่คือมีการพบว่าชื่อของกษัตริย์บางพระองค์มีความหมายที่แปลว่าสิงโต หรือเสือภายในชื่อของพระองค์ โดยมีการอธิบายว่าเป็นการแสดงถึงสายเลือดของนักรบของกษัตริย์พระองค์นั้น เช่น จารึก Samudraguota เขียนขึ้นในปีค.ศ.380 (พ.ศ.923) กล่าวถึงหัวหน้าเผ่าผู้ปกครองตะวันตกได้ผ่ายแพ่แก่ “ราชาแห่งป่า”(Forest King) ชื่อ Vyaghraraja ซึ่งชื่อดังกล่าวหมายถึง “ราชาเสือ” (Yaroslav Vassilkov, 2013: 231 – 247)
สำหรับสัตว์ขนาดเล็กที่ถูกนำเสนอเป็นสัญลักษณ์ในอินเดียนั้นอยู่ในกลุ่มจำพวก “แมลง” เช่น แมงป่อง ตั๊กแตน ตะขาบ และมดดำ เป็นต้น โดยพบในลักษณะเป็นสัตว์หนึ่งของงานจิตรกรรม หรือบนลายของภาชนะดินเผา เช่น มดดำ ถูกวาดในจิตกรรมฝาผนังภายในถ้ำอชันตา หมายเลข 7 ภายในภาพเรื่อง “Shadadanta Jataka” พบเป็นรูปมดดำไต่ต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ดังกล่าวพบได้ทั่วไปในอินเดีย และรู้จักกันในนาม “Flame of the Forest” จากสีของดอกไม้ที่เป็นสีแดง และมีสรรพคุณในด้านการรักษา (Shivendra Kadgaonkar, 2017: 105 - 109)
จิตรกรรมฝาผนังภายในถ้ำอชันตา หมายเลข 7 (ที่มา:Shivendra Kadgaonkar, 2017: 107)
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ปู เป็นส่วนประกอบในประติมากรรม Naga Jataka ภายในประติมากรรมพบรูปช้าง ปู ปลา ภายในทะเลสาบ ซึ่งปูกำลังจับขาข้างหนึ่งของช้าง ซึ่งตรงกับชาดกเกี่ยวกับปูในเมือง Banaras ที่คอยฆ่าช้างที่แวะเข้ามาดื่มน้ำในทะเลสาบที่ตัวเองอยู่ และในขณะที่พระโพธิสัตว์ได้ผ่านทะเลสาปแห่งนั้นได้ถูกปูตัวดังกล่าวจับขาช้างของพระพุทธเจ้าหวังฆ่าเหมือนช้างตัวอื่นๆ ซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ฆ่าปูตัวนั้นเพื่อทำให้ทะเลสาปแห่งนี้ปลอดภัยต่อทุกสรรพชีวิตที่ต้องการดื่มกินน้ำจากทะเลสาปแห่งนี้ ความน่าสนใจของประติมากรรมดังกล่าวอีกอย่างคือ การใช้รูปช้างแทนตัวของพระพุทธเจ้า เพราะภายในประติมากรรมดังกล่าวไม่มีรูปของพระโพธิสัตว์ปรากฏให้เห็นเลย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเดียวกับที่ยังไม่เกิดการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงเกิดการใช้สัญลักษณ์ต่างๆแทนตัว รวมไปถึงการใช้สัตว์แทนเช่นกัน (Shivendra Kadgaonkar, 2017: 105 - 109)
ประติมากรรม Naga Jataka (ที่มา:Shivendra Kadgaonkar, 2017: 106)
สัญลักษณ์ในท้องถิ่น
การนับถือผีและธรรมชาติเป็นความเชื่อพื้นฐานของมนุษย์ในแถบนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่าการทำรูปสัตว์สัญลักษณ์อาจเป้นแขนงหนึ่งของการนับถือธรรมชาติโดยการใช้สัตว์เป็นตัวแทนของธรรมชาติ ความเชื่อในการบูชาสัตว์ของผู้คนแถบนี้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยก่อนยุคเหล็ก ดังเห็นได้จากภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่วาดเป็นรูปสัตว์หลากหลายชนิด เช่น วัว ควาย ช้าง ตัวเงินตัวทอง ตัวแลน กวาง ลิง เป็นต้น
แต่หลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่า สัตว์บางชนิดได้รับการบูชาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์นั้นปรากฏชัดอยู่บนกลางมโหระทึก ซึ่งสัตว์บนหน้ากลางมโหระทึกประกอบด้วยนก กบ หอย และช้าง
นอกจากนี้แล้วยังพบว่าผู้คนในแถบนี้ยังบูชางู เพราะงูนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่อันตรายต่อชีวิตเป็นอย่างมาก จากการเคลื่อนไหวของงูที่ไม่มีเสียงและเงียบสงบรวมทั้งพิษอันร้ายแรงถึงตาย จึงทำให้หลบเลี่ยงอันตรายจากงูได้ยาก จึงเกิดการบูชางูขึ้นมาคล้ายคลึงกับการบูชาฟ้าฝนของมนุษย์ในอดีต เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ นอกจากนี้ในทางสากลแล้วงูถือเป็นสัญลักษณ์ของความอมตะ จากการลอกคราบที่เปรียบเหมือนการเกิดใหม่ซ้ำไปซ้ำมา ตัวอย่างเช่นในตำนานกรีกโบราณมีเทพชื่อแอสคลีเพียส เป็นเทพด้านการแพทย์มีไม้เท้าเป็นรูปงูพันรอบ และได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับหน่วยงานด้านการแพทย์ทั่วโลก (เข้าถึงได้จาก www.finearts.go.th/museumstorage/view/25394-งู)
สัญลักษณ์รูปไม้เท้าของเทพแอสคลีเพียส ที่เป็นตัวแทนของการแพทย์
(ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Caduceus)
นอกจากงูแล้วยังมีการบูชาจระเข้ และเสือด้วยเช่นกัน ซึ่งมีต้นเหตุไม่แตกต่างจากการบูชางูคือ การเป็นสัตว์ที่มีอันตรายสูงถึงชีวิตและอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของมนุษย์โดยสิ้นเชิง ทั้งจระเข้ที่เป็นสัตว์นักล่าที่พบได้ทั่วไปตามแม่น้ำทั่วทั้งแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเสือที่พบได้ทั่วไปภายในป่าเขตร้อนแถบนี้ ซึ่งทั้งป่าและแม่น้ำต่างเป็นพื้นที่สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตทั้งสิ้น
เครื่องประดับรูปสัตว์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในไทย
การติดต่อกับอินเดียทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้มีการนำความเชื่อในการบูชาสัตว์ในศาสนาต่างๆ ของอินเดียเข้ามาใช้ด้วย หลักฐานดังกล่าวพบได้ในเครื่องประดับขนาดเล็กๆ แต่ในขณะเดียวกันการบูชาสัตว์พื้นเมืองก็ยังคงดำรงอยู่ ดังเห็นได้จากแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์มักพบกลองมโหระทึก และเครื่องประดับรูปสัตว์ที่ไม่พบในอินเดียด้วย
หลักฐานเกี่ยวกับการบูชาสัตว์ในไทยมักพบในแถบภาคใต้และภาคตะวันตกเช่น บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรีพบสิงโตทำจากหินคาร์เนเลียน (วสันต์ เทพสุริยานนท์, 2544) เขตท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบลูกปัดหินและแก้วรูปม้า นก เสือ และจระเข้ (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562) สำหรับในประเทศเมียนมาร์พบในเขตภาคใต้ของประเทศโดยอยู่ในเขตของแหล่งโบราณชื่อ “Samon valley” ซึ่งถูกนับได้ว่าเป็นกลุ่มคนก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศเมียนมาร์ก่อนพัฒนากลายเป็นกลุ่มวัฒนธรรมปยู (Pyu) ในสมัยต่อมา ซึ่งใน Samon valley มีการพบเครื่องประดับรูปเสือ ทำจากหินคาร์เนเลียน (Bob Hudson, 2005: 59-79)
สิงโตคาร์เนเลียนที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร
จากแหล่งโบราณคดีที่ได้ยกตัวอย่างมาเห็นได้ว่าประเภทของสัตว์ ที่พบในแต่ละพื้นที่มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน เป็นไปได้หรือไม่ว่าการพบสัตว์ชนิดเดียวกันอย่าง “เสือ” จากหินคาร์เนเลียนพบทั้งในเขาสามแก้ว ท่าชนะ บ้านดอนตาเพชร Samon Valley แสดงถึงการนับถือในรูปแบบความเชื่อเดียวกันรวมถึงสภาพภูมิประเทศที่มักเป็นป่าแล้วอาจเกิดการบูชาเสือขึ้น นอกจากนี้ในวัฒนธรรมของชาวจีนยังถือว่าเสือเป็นตัวแทนของ “ผู้ชาย” ซึ่งในสุสานเมืองเหอผู่เมืองใกล้ชายฝั่งทะเลของจีนพบ “เสือ” ทำจากหินคาร์เนเลียน เช่นเดียวกับที่พบทั้งในไทยและเมียนมาร์ และในวัฒนธรรมดั้งเดิมของเวียดนาม “เสือ” ถือเป็นสัญลักษณ์ของพละกำลัง ความดุร้าย และความสง่างาม รวมทั้งยังถือว่าเสือเป็นผู้พิทักษ์ (https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_worship) “เสือ” จึงอาจเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายภายในชุมชนที่มีบทบาทคอยออกล่าหาอาหาร และอาจมีหน้าที่คอยปกป้องชุมชน
อย่างไรก็ตามพื้นที่แถบคาบสมุทรทั้งท่าชนะ และเขาสามแก้ว กลับเป็นพื้นที่ที่พบสัตว์หลากหลายประเภททั้งจระเข้ เสือ นก กระต่าย ม้า และกวาง แตกต่างกับบ้านดอนตาเพชร หรือ Samon Valley ซึ่งอาจสอดคล้องกับคาบสมุทรเป็นพื้นที่สำหรับการติดต่อกับชุมชนภายนอกทางไกล และมีสถานะเป็นเมืองท่านานาชาติ ส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่จากคนหลากหลายแห่ง ทั้งจากคนในพื้นที่ดั้งเดิม พ่อค้าจากภายนอกที่เข้ามาค้าขาย หรือคนจากชุมชนอื่นที่มองเห็นช่องทางในการสร้างฐานะในแถบเมืองท่า จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการพบ “สัตว์” หลายประเภทสะท้อนถึงคนหลายกลุ่มภายในพื้นที่บริเวณดังกล่าว และอาจสะท้อนถึงสภาพภูมิประเทศด้วยเช่นกันอย่างลักษณะภูมิประเทศของเขาสามแก้วเป็นภูเขาติดแม่น้ำขนาดใหญ่ การมีสัญลักษณ์เป็นรูป “จระเข้” อาจเป็นการแทนถึงกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ จึงอาจเกิดการนับถือ “จระเข้” ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่ดุร้ายขึ้น
ลูกปัดหินและแก้วรูปสัตว์ที่พบในเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร
(ที่มา:สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562: 153)
ลูกปัดหินและแก้วรูปสัตว์ที่พบในท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ที่มา:สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562: 154)
สัตว์บางประเภทไม่ใช่สัตว์ดั้งเดิมของพื้นที่แถบนี้เช่น “ม้า” หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการมีม้านั้นพบที่เก่าแก่ที่สุดที่เวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงสมัยหริภุญชัย ดังนั้นการพบสัญลักษณ์ของ “ม้า” ในแถบคาบสมุทรช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์นั้น อาจสรุปได้ว่าเป็นของจากคนภายนอกที่เข้ามาในพื้นที่เช่น พ่อค้าในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนที่เข้ามาค้าขายภายในแถบคาบสมุทร เนื่องจากจีนเป็นแหล่งของม้าที่ใกล้ที่สุดในแถบนี้ รวมทั้งมีบันทึกสมัยทวารวดีที่กล่าวถึงการนำเข้าม้าจากจีนด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้สัตว์บางประเภทยังเชื่อมโยงกับความเชื่อของวัฒนธรรมภายนอกพื้นที่แถบนี้เช่น “กระต่าย” เนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมของคนในแถบนี้เกี่ยวกับ “กระต่าย” ไม่ชัดเจนมากนัก แต่หากอิงความเชื่อของชาวจีนเกี่ยวกับ “กระต่าย” กลับพบหลายเรื่องเช่น “กระต่าย” เป็นตัวแทนของนักษัตรลำดับที่ 4 คือปีเถาะตามปฏิทินจีน เป็นตัวแทนของเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ที่คอยปรุงยา และสัตว์เลี้ยงของเทพีฉางเอ๋อ เทพีแห่งดวงจันทร์ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการพบสัญลักษณ์รูป “กระต่าย” อาจมาจากพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาในพื้นที่เช่นกัน
ภายหลังการเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดีย
สมัยทวารวดีคือช่วงที่ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียมาอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะทางด้านศาสนา จึงพบว่าสัตว์สัญลักษณ์ในรูปแบบของเครื่องประดับกลับเป็นหลักฐานที่พบน้อยลง สันนิษฐานว่าเนื่องจากการเข้ามาของศาสนาและสัญลักษณ์แบบใหม่ในรูปแบบของ “รูปเคารพ” เข้ามาแทนที่การใช้ “สัตว์” เป็นสัญลักษณ์ โดยหากย้อนกลับไปยังอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้ว พบว่าเริ่มมีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายมงคลต่างๆ บนสถาปัตยกรรม หรือในงานวรรณกรรมมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยมีผู้ศึกษาและจัดแบ่งการใช้สัญลักษณ์ของคนในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุว่ามีการใช้สอยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน (นันทนา ชุติวงศ์, 2564: 13-30) คือ
อย่างไรก็ตามบทบาทของ “สัตว์” สัญลักษณ์ไม่ได้หายไปจนหมดสิ้นแต่ถูกลดบทบาทลงเช่น กวาง ที่พบคู่กับเสาธรรมจักรอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือ งู ที่เป็นสัตว์คู่กับพระศิวะเป็นต้น ซึ่งลักษณะคล้ายคลึงกับการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมของอินเดียภายหลังเกิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่นำเทพธรรมชาติดั้งเดิมหลอมรวมกับเทพฮินดู หรือในช่วงการเกิดศาสนาพุทธขึ้นมาได้มีการนำเทพฮินดูเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ เป็นต้น
นันทนา ชุติวงศ์. “เครื่องหมายมงคลในวัฒนธรรมแบบทวารวดี”. ใน รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2564.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. ภววิทยาวัตถุ (Object-oriented ontology). เข้าถึงได้เมื่อ 1 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/287.
วสันต์ เทพสุริยานนท์. แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร : ผลการขุดค้นทางโบราณคดี. สุพรรณบุรี: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี. 2544.
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรมเชื่อมโยงโลก. กรุงเทพ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). 2562.
Bob Hudson. “A Pyu Homeland in the Samon Valley: a new theory of the origins of Myanmar's early urban system”. In Myanmar Historical Commission Conference Proceedings, Part 2. Universities Historical Research Centre, Yangon. 2005.
Josef Haekel. Totemism. เข้าถึงได้จาก
https://www.britannica.com/topic/totemism-religion.