หน้าแรก Current Stories ข้อค้นพบใหม่ ทุ่งสะวันนาเมืองไทยในยุคน้ำแข็ง ร่องรอยจากฟันสัตว์

ข้อค้นพบใหม่ ทุ่งสะวันนาเมืองไทยในยุคน้ำแข็ง ร่องรอยจากฟันสัตว์

ข้อค้นพบใหม่ ทุ่งสะวันนาเมืองไทยในยุคน้ำแข็ง ร่องรอยจากฟันสัตว์

เผยแพร่เมื่อ 26 ก.ย. 2565
พิมพ์

โดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

264

คำถามเกี่ยวกับยุคน้ำแข็งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญคือ ‘ปัจจัยอะไรที่เอื้อให้มนุษย์ยุคหมื่นปีขึ้นไปสามารถเดินทางไปในเขตหมู่เกาะ พวกเขาอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมแบบใด และทำไมเครื่องมือหินในยุคนั้นจึงไม่ค่อยพัฒนามากเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นของโลก’

คำถามนี้คลี่คลายลงเมื่อทีมนักวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาและโบราณคดีชาวไทยร่วมกับต่างชาติได้ร่วมกันค้นหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์จากตัวอย่างสัตว์ที่ขุดค้นพบจากแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการทำงานวิจัยมาต่อเนื่องถึง 2 ทศวรรษพอดิบพอดี โดยผลงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลกอย่าง Scientific Reports ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่สำคัญ เพราะค้านกับแนวคิดเดิมที่เชื่อว่ามนุษย์ยุคน้ำแข็งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลานั้นอาศัยอยู่เฉพาะในพื้นที่ป่าทึบเท่านั้น ไม่ใช่พื้นที่ป่าโปร่งสลับทุ่งหญ้าและรอยต่อระหว่างป่าทั้งสองแบบ

 

 

เพิงผาถ้ำลอดในยุคน้ำแข็ง แหล่งโบราณคดีสำคัญของเมืองไทย

ท่ามกลางขุนเขาสูงของเมืองสายหมอก มีแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งชื่อว่า ‘เพิงผาถ้ำลอด’ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านของชาวไทใหญ่ที่บ้านถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ตำแหน่งที่ตั้งของเพิงผานี้จัดว่าวิเศษมาก เพราะอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำลาง ซึ่งเต็มไปด้วยปลาและหินกรวดแม่น้ำ มีพื้นที่ราบขนาดย่อมหน้าเพิงผา และเหนือเพิงผาไปเป็นเบญจพรรณ-เต็งรังที่อุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อน ชาวไทใหญ่เล่าว่าในพื้นที่บริเวณนี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด กระทั่งสมัยที่ผมเองเป็นส่วนหนึ่งของทีมขุดค้นที่เพิงผาแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2544 ยังได้เห็นชะนี ลิง เก้ง และหมูป่าในป่าอยู่บ้าง

 

 

 

รายการอ้างอิง

  • Athiwat Wattanapituksakula, Arnaud Filouxb, Anusorn Amphansric and Sakboworn Tumpeesuwana. “Late Pleistocene Caprinae assemblages of Tham Lod Rockshelter (Mae Hon Son Province, Northwest Thailand),” Quaternary International. 493, 10 November 2018, Pages 212-226. Available at: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1040618218300879?via%3Dihub
  • Kantapon Suraprasit, Rasmi Shoocongdej, Kanoknart Chintakanon and Hervé Bocherens.”Late Pleistocene human paleoecology in the highland savanna ecosystem of mainland Southeast Asia,” Scientific Reports. 16756 (2021), published on 18th August 2021. Available at: https://www.nature.com/articles/s41598-021-96260-4?fbclid=IwAR3wg696N2kUzBka2wP5hYv-GNeAdc16L6CkhrqgJOqTPHutlmsDaetYz1A
  • จรัสนภา สุรินทร์เลิศ. “ชุดหลักฐานเครื่องมือหิน ‘โหบินเนียน’ กับการเลือกใช้วัตถุดิบหิน: กรณีศึกษาจากแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน”, Humanities, Social Sciences and Arts. 12 (1), (January-February), 2019, pp.1525-1540. 
  • อธิวัตน์ วัฒนะพิทักษ์สกุล. “หลากพันธุ์: ฟันและกระดูกโบราณของสัตว์บนพื้นที่สูงอำเภอปางมะผ้า สมัยไพลสโตซีนตอนปลายถึงโฮโลซีน”, โบราณคดี ‘ก่อนไท(ย)’ บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563. 

คำถามเกี่ยวกับยุคน้ำแข็งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญคือ ‘ปัจจัยอะไรที่เอื้อให้มนุษย์ยุคหมื่นปีขึ้นไปสามารถเดินทางไปในเขตหมู่เกาะ พวกเขาอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมแบบใด และทำไมเครื่องมือหินในยุคนั้นจึงไม่ค่อยพัฒนามากเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นของโลก’

คำถามนี้คลี่คลายลงเมื่อทีมนักวิจัยด้านบรรพชีวินวิทยาและโบราณคดีชาวไทยร่วมกับต่างชาติได้ร่วมกันค้นหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์จากตัวอย่างสัตว์ที่ขุดค้นพบจากแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการทำงานวิจัยมาต่อเนื่องถึง 2 ทศวรรษพอดิบพอดี โดยผลงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลกอย่าง Scientific Reports ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่สำคัญ เพราะค้านกับแนวคิดเดิมที่เชื่อว่ามนุษย์ยุคน้ำแข็งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลานั้นอาศัยอยู่เฉพาะในพื้นที่ป่าทึบเท่านั้น ไม่ใช่พื้นที่ป่าโปร่งสลับทุ่งหญ้าและรอยต่อระหว่างป่าทั้งสองแบบ

 

 

เพิงผาถ้ำลอดในยุคน้ำแข็ง แหล่งโบราณคดีสำคัญของเมืองไทย

ท่ามกลางขุนเขาสูงของเมืองสายหมอก มีแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งชื่อว่า ‘เพิงผาถ้ำลอด’ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านของชาวไทใหญ่ที่บ้านถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ตำแหน่งที่ตั้งของเพิงผานี้จัดว่าวิเศษมาก เพราะอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำลาง ซึ่งเต็มไปด้วยปลาและหินกรวดแม่น้ำ มีพื้นที่ราบขนาดย่อมหน้าเพิงผา และเหนือเพิงผาไปเป็นเบญจพรรณ-เต็งรังที่อุดมสมบูรณ์ ในสมัยก่อน ชาวไทใหญ่เล่าว่าในพื้นที่บริเวณนี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด กระทั่งสมัยที่ผมเองเป็นส่วนหนึ่งของทีมขุดค้นที่เพิงผาแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2544 ยังได้เห็นชะนี ลิง เก้ง และหมูป่าในป่าอยู่บ้าง

 

 

 

รายการอ้างอิง

  • Athiwat Wattanapituksakula, Arnaud Filouxb, Anusorn Amphansric and Sakboworn Tumpeesuwana. “Late Pleistocene Caprinae assemblages of Tham Lod Rockshelter (Mae Hon Son Province, Northwest Thailand),” Quaternary International. 493, 10 November 2018, Pages 212-226. Available at: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1040618218300879?via%3Dihub
  • Kantapon Suraprasit, Rasmi Shoocongdej, Kanoknart Chintakanon and Hervé Bocherens.”Late Pleistocene human paleoecology in the highland savanna ecosystem of mainland Southeast Asia,” Scientific Reports. 16756 (2021), published on 18th August 2021. Available at: https://www.nature.com/articles/s41598-021-96260-4?fbclid=IwAR3wg696N2kUzBka2wP5hYv-GNeAdc16L6CkhrqgJOqTPHutlmsDaetYz1A
  • จรัสนภา สุรินทร์เลิศ. “ชุดหลักฐานเครื่องมือหิน ‘โหบินเนียน’ กับการเลือกใช้วัตถุดิบหิน: กรณีศึกษาจากแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน”, Humanities, Social Sciences and Arts. 12 (1), (January-February), 2019, pp.1525-1540. 
  • อธิวัตน์ วัฒนะพิทักษ์สกุล. “หลากพันธุ์: ฟันและกระดูกโบราณของสัตว์บนพื้นที่สูงอำเภอปางมะผ้า สมัยไพลสโตซีนตอนปลายถึงโฮโลซีน”, โบราณคดี ‘ก่อนไท(ย)’ บนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563. 

จำนวนผู้เข้าชม

264

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

25 ก.ย. 2565