หน้าแรก Current Stories ลูกปัด: ร่องรอยอารยธรรมในสุวรรณภูมิ

ลูกปัด: ร่องรอยอารยธรรมในสุวรรณภูมิ

ลูกปัด: ร่องรอยอารยธรรมในสุวรรณภูมิ

เผยแพร่เมื่อ 26 มี.ค. 2567
พิมพ์

โดย วิภพ หุยากรณ์

554

ลูกปัด: ร่องรอยอารยธรรมในสุวรรณภูมิ

 

ลูกปัดเป็นโบราณวัตถุกลุ่มเครื่องประดับที่พบได้ตามแหล่งโบราณคดีทั่วไปตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องประดับเม็ดเล็กเม็ดใหญ่เหล่านี้เป็นสิ่งของที่ผู้คนในอดีตนำมาใช้ประดับตกแต่งร่างกายตลอดจนใช้เป็นสิ่งของในทางความเชื่อ สะท้อนถึงสถานะทางสังคม และการแลกเปลี่ยนสินค้าจากดินแดนอื่นหรือดินแดนใกล้เคียงจากองค์ประกอบทางวัสดุศาสตร์ รูปแบบศิลปะ และเทคนิคการผลิตที่แตกต่างกัน

 

พบร่องรอยการใช้เครื่องประดับของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ด้วยการนำวัสดุจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ไม้ เปลือกไม้ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ขนนก หิน ฯลฯ มาเจาะรูและร้อยเป็นพวงใส่ประดับร่างกาย ลูกปัดก็เป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการเครื่องประดับของมนุษย์เช่นกัน ในเอเชียพบร่องรอยการใช้ลูกปัดทั้งในอารยธรรมอินเดีย และอารยธรรมจีนมานับหมื่นปีแล้ว ขณะที่ในประเทศไทยพบร่องรอยการใช้ลูกปัดตามแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ราว 5,000 ปีมาแล้ว      

 

ลูกปัดเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของสุวรรณภูมิในดินแดนไทย เมื่อราว 2,000 มาแล้ว เห็นได้จากร่องรอยการใช้ลูกปัดที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปตามคาบสมุทรภาคใต้ของไทยไม่ว่าจะเป็น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว ในจังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด ในจังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย (เขาพระนารายณ์) แหล่งโบราณคดีควนพุนพิน และแหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาส ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก และแหล่งโบราณคดีวัดบ้านเตรียม ในจังหวัดพังงา แหล่งโบราณคดีสทิงพระ จังหวัดสงขลา แหล่งโบราณคดียะรัง จังหวัดปัตตานี ฯลฯ

 

ตามแหล่งโบราณคดีเหล่านี้มีลูกปัดหลากหลายชนิดและที่มา เช่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอาเกต ลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ลูกปัดทองคำ ลูกปัดโรมัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นรูปแบบการดำรงชีวิต การค้าทางไกล การเดินทางข้ามคาบสมุทร ผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลเชื่อมโยงระหว่างซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก ผ่านอารยธรรมโรมัน อาหรับ อินเดีย และจีน

 

นอกจากจะพบร่องรอยการใช้ลูกปัดจำนวนมากแล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือ ในพื้นที่ภาคใต้ของไทยพบร่องรอยการผลิตลูกปัดและเครื่องประดับอีกด้วย โดยพบตั้งแต่ก้อนวัตถุดิบ หินขัดลูกปัด เศษเหลือจากการผลิต เช่นที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ฯลฯ ชี้ให้เห็นความสำคัญของบริเวณนี้ที่มีมากกว่าแค่ทางผ่าน แต่เป็นแหล่งผลิต ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนมีแหล่งวัตถุดิบอันเป็นที่ต้องการของตลาด

 

ภาพร่องรอยหลักฐานการผลิตลูกปัดที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร

การค้นพบนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องหาคำตอบต่อไปถึงร่องรอยอารยธรรมโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

1. หลักฐานสุวรรณภูมิ 2. ลูกปัด

รายการอ้างอิง

นฤมล กางเกตุ. เครื่องประดับที่พบในแหล่งโบราณคดีภูเขาทองและบริเวณใกล้เคียงในจังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Narumol_Kangked/fulltext.pdf

นภัคมน ทองเฝือ. ลูกปัดแก้วจากแหลู่งโบราณคดี: ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างภาคใต้ของไทยกับต่างชาติ ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. View of Glass Beads from Archaeological Sites: Trade Relations between Southern and Foreign Countries Prior to the 14th Century A.D. (tci-thaijo.org)

บัญชา พงษ์พานิช. สุวรรณภูมิ แผ่นดินทอง Online Flipbook (heyzine.com)

สุขกมล วงศ์สวรรค์. โบราณวัตถุจากภายนอกที่แสดงถึงการเข้ามาของชาวอินเดีย finearts.go.th/nlt-korat/view/20420-โบราณวัตถุจากภายนอกที่แสดงถึงการเข้ามาของชาวอินเดีย

ภาพหน้าปกจาก ศิลป์สุวรรณภูมิบนเส้นทางสายไหมทางทะเล Facebook

ลูกปัด: ร่องรอยอารยธรรมในสุวรรณภูมิ

 

ลูกปัดเป็นโบราณวัตถุกลุ่มเครื่องประดับที่พบได้ตามแหล่งโบราณคดีทั่วไปตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องประดับเม็ดเล็กเม็ดใหญ่เหล่านี้เป็นสิ่งของที่ผู้คนในอดีตนำมาใช้ประดับตกแต่งร่างกายตลอดจนใช้เป็นสิ่งของในทางความเชื่อ สะท้อนถึงสถานะทางสังคม และการแลกเปลี่ยนสินค้าจากดินแดนอื่นหรือดินแดนใกล้เคียงจากองค์ประกอบทางวัสดุศาสตร์ รูปแบบศิลปะ และเทคนิคการผลิตที่แตกต่างกัน

 

พบร่องรอยการใช้เครื่องประดับของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ด้วยการนำวัสดุจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ไม้ เปลือกไม้ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย ขนนก หิน ฯลฯ มาเจาะรูและร้อยเป็นพวงใส่ประดับร่างกาย ลูกปัดก็เป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการเครื่องประดับของมนุษย์เช่นกัน ในเอเชียพบร่องรอยการใช้ลูกปัดทั้งในอารยธรรมอินเดีย และอารยธรรมจีนมานับหมื่นปีแล้ว ขณะที่ในประเทศไทยพบร่องรอยการใช้ลูกปัดตามแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ราว 5,000 ปีมาแล้ว      

 

ลูกปัดเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นความรุ่งเรืองของสุวรรณภูมิในดินแดนไทย เมื่อราว 2,000 มาแล้ว เห็นได้จากร่องรอยการใช้ลูกปัดที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปตามคาบสมุทรภาคใต้ของไทยไม่ว่าจะเป็น แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว ในจังหวัดชุมพร แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด ในจังหวัดกระบี่ แหล่งโบราณคดีแหลมโพธิ์ แหล่งโบราณคดีเขาศรีวิชัย (เขาพระนารายณ์) แหล่งโบราณคดีควนพุนพิน และแหล่งโบราณคดีวัดอัมพาวาส ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แหล่งโบราณคดีทุ่งตึก และแหล่งโบราณคดีวัดบ้านเตรียม ในจังหวัดพังงา แหล่งโบราณคดีสทิงพระ จังหวัดสงขลา แหล่งโบราณคดียะรัง จังหวัดปัตตานี ฯลฯ

 

ตามแหล่งโบราณคดีเหล่านี้มีลูกปัดหลากหลายชนิดและที่มา เช่น ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ลูกปัดหินอาเกต ลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ลูกปัดทองคำ ลูกปัดโรมัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นรูปแบบการดำรงชีวิต การค้าทางไกล การเดินทางข้ามคาบสมุทร ผ่านเส้นทางสายไหมทางทะเลเชื่อมโยงระหว่างซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก ผ่านอารยธรรมโรมัน อาหรับ อินเดีย และจีน

 

นอกจากจะพบร่องรอยการใช้ลูกปัดจำนวนมากแล้ว สิ่งที่น่าสนใจคือ ในพื้นที่ภาคใต้ของไทยพบร่องรอยการผลิตลูกปัดและเครื่องประดับอีกด้วย โดยพบตั้งแต่ก้อนวัตถุดิบ หินขัดลูกปัด เศษเหลือจากการผลิต เช่นที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ฯลฯ ชี้ให้เห็นความสำคัญของบริเวณนี้ที่มีมากกว่าแค่ทางผ่าน แต่เป็นแหล่งผลิต ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนมีแหล่งวัตถุดิบอันเป็นที่ต้องการของตลาด

 

ภาพร่องรอยหลักฐานการผลิตลูกปัดที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร

การค้นพบนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องหาคำตอบต่อไปถึงร่องรอยอารยธรรมโบราณในดินแดนสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

หลักฐานสุวรรณภูมิ ลูกปัด

รายการอ้างอิง

นฤมล กางเกตุ. เครื่องประดับที่พบในแหล่งโบราณคดีภูเขาทองและบริเวณใกล้เคียงในจังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Narumol_Kangked/fulltext.pdf

นภัคมน ทองเฝือ. ลูกปัดแก้วจากแหลู่งโบราณคดี: ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างภาคใต้ของไทยกับต่างชาติ ช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. View of Glass Beads from Archaeological Sites: Trade Relations between Southern and Foreign Countries Prior to the 14th Century A.D. (tci-thaijo.org)

บัญชา พงษ์พานิช. สุวรรณภูมิ แผ่นดินทอง Online Flipbook (heyzine.com)

สุขกมล วงศ์สวรรค์. โบราณวัตถุจากภายนอกที่แสดงถึงการเข้ามาของชาวอินเดีย finearts.go.th/nlt-korat/view/20420-โบราณวัตถุจากภายนอกที่แสดงถึงการเข้ามาของชาวอินเดีย

ภาพหน้าปกจาก ศิลป์สุวรรณภูมิบนเส้นทางสายไหมทางทะเล Facebook

เรื่องแนะนำ

จำนวนผู้เข้าชม

554

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 มี.ค. 2567