หน้าแรก Current Stories บุกรุกเขาน้อย-เขาแดง คือความพินาศของภูมิวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา

บุกรุกเขาน้อย-เขาแดง คือความพินาศของภูมิวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา

บุกรุกเขาน้อย-เขาแดง คือความพินาศของภูมิวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา

เผยแพร่เมื่อ 25 ก.ย. 2565
พิมพ์

โดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

276

การบุกรุกทำลายพื้นที่รอบโบราณสถานโดยนายทุนและนักการเมืองเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ล่าสุดกรณีพื้นที่ของเขาน้อยและเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งมีโบราณสถานสมัยศรีวิชัยเพียงไม่กี่แห่งในคาบสมุทรภาคใต้ กลุ่มโบราณสถานในสมัยอยุธยา ซึ่งสะท้อนรากเหง้าและตัวตนของสงขลา ถือเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมชั้นยอด มีสภาพน่าเป็นห่วง ถูกบุกรุกจนเกือบประชิดโบราณสถาน โดยเฉพาะวัดเขาน้อย โบราณสถานสมัยศรีวิชัย ที่กลุ่มทุนไถปรับที่ห่างเพียง 60 เมตรเท่านั้น! 

พงศ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ให้ข่าวกับไทยพีบีเอสว่า เมื่อได้รับแจ้งเหตุจึงเข้าไปตรวจสอบ แต่ผลคือถูกข่มขู่กลับมา เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะมีอำนาจเถื่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่าบางหน่วยงานจะออกมาแก้ข่าวว่าไม่มีการข่มขู่ก็ตาม ถ้าบุกรุกทำลายพื้นที่กันได้ขนาดนี้ ผู้อ่านจะเชื่อไหมครับ 

 

 

จากการสำรวจและขุดค้น ทำให้บริเวณนี้พบโบราณวัตถุหลากหลายชนิดที่สะท้อนถึงการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรบ้านเมืองต่างๆ เช่น ประติมากรรมแบบศรีวิชัย จาม เขมร มีทั้งรูปพระโพธิสัตว์ สะท้อนการนับถือศาสนาพุทธมหายาน พระพุทธรูป ท้าวกุเวร พระคเณศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง, ซ่ง, หยวน และหมิง อีกด้วย 

ในขณะที่โบราณสถานวัดเขาน้อยเป็นเจดีย์เก่าแบบศรีวิชัยก่อด้วยอิฐ มีซุ้มจระนำโดยรอบส่วนฐานที่ยกเก็จ (ภาษาช่าง ยกเก็จ แปลว่าการเพิ่มของมุมฐานของเจดีย์) ภายในซุ้มจระนำนี้ประดับพระพุทธรูป ซึ่งช่างในสมัยอยุธยาได้เข้ามาดัดแปลงปั้นพระพุทธรูปแบบอยุธยาแทน การประดับพระพุทธรูปมากมายนี้ต้องการสื่อถึงคติมณฑลจักรวาลของศาสนาพุทธมหายาน ที่ถือว่าพระพุทธเจ้านั้นมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งคอยช่วยคุ้มครองมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย 

นอกจากนี้แล้ว จากการขุดค้นเมื่อ 40 กว่าปีก่อนยังได้พบประติมากรรมประดับเจดีย์ทำจากดินเผาและหลักฐานอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อมีเจดีย์ตั้งบนยอดเขา ย่อมจะต้องมีกุฏิ อาคารประกอบ และชุมชนอยู่อาศัยอีกด้วย ซึ่งคงอยู่ไม่ห่างจากเจดีย์ ดังนั้น การบุกรุกพื้นที่ห่างจากโบราณสถานเพียง 60 เมตร จึงเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างมาก 

 

สภาพของโบราณสถานเขาน้อยภายหลังการบูรณะเมื่อ 40 กว่าปีก่อน (ภาพจาก ลักษณ์ บุญเรือง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา)

 

ปัจจัยที่ทำให้เมืองสทิงพระและเมืองตรงเขาแดงสำคัญขึ้นมานั้น เพราะตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรจากสงขลาไปตรัง หรือไปไทรบุรี (เคดาห์) ได้สะดวก ไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา ในบันทึกของฝรั่งเศสระบุว่า สงขลายังเป็นเมืองที่ตั้งติดต่อทำการค้ากับจีน บอร์เนียว และมะนิลา ทำให้ฝรั่งเศสเชื่อว่าเมืองนี้จะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นเมืองท่าชั้นนำได้ในอนาคต อีกทั้งยังสามารถควบคุมการค้าเครื่องเทศ โดยเฉพาะพริกไทยได้ ที่สำคัญคือสงขลามีพื้นที่เหมาะกับการปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงประชากร

อย่างไรก็ตาม ด้วยการตั้งเมืองอยู่บนสันทรายโบราณใกล้ชายฝั่ง ทำให้ไม่มีน้ำจืดเพียงพอ ชาวเมืองจึงต้องขุด ‘พัง’ หรือสระน้ำ ทำให้พบสระน้ำอยู่หลายแห่งรอบเมือง เช่น พังสายหมาน พังหลุง พังแขกชีใต้ ดังนั้นบริเวณรอบพังจึงพบร่องรอยของชุมชนอยู่ด้วย เห็นได้จากเศษภาชนะดินเผา ประติมากรรมทางศาสนา เช่น ท้าวกุเวร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  

 

 

ความจริงแล้วสทิงพระก็เป็นพื้นที่ที่น่าเป็นห่วง เพราะทุกวันนี้ยังมีกระบวนการขุดลักลอบโบราณวัตถุ ทำให้แหล่งโบราณคดีเสียหายไปมาก ทางการและประชาชนอาจต้องช่วยกัน เพราะสงขลาเป็นเมืองที่มีศักยภาพต่อการยกเป็นมรดกโลก

ในสมัยอยุธยาตอนกลาง-ปลาย สงขลากลายเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มชาวมลายูมุสลิม (บางหลักฐานว่าเป็นชวา แต่ที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือคือเป็นชาวเปอร์เซีย) นำโดย ดาโต๊ะ โมกอล ได้ตั้งเมืองขึ้นที่บริเวณหัวเขาแดงเมื่อ พ.ศ. 2162-2185 ตรงกับสมัยพระเจ้าทรงธรรม (ข้อมูลบางแหล่งว่าตั้งสมัยพระเอกาทศรถก็มี) โดยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช

แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของอยุธยา ที่ตั้งราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์ปราสาททอง จึงทำให้สุลต่านสุลัยมานแข็งเมือง ประกอบกับเผชิญกับโจรสลัดที่เข้าปล้นเมือง เป็นเหตุผลทำให้มีการสร้างป้อมกำแพงเมืองล้อมรอบเมืองและภูเขาบนเขาแดง ในจังหวะเดียวกันนี้ ทางบริษัทการค้าของอังกฤษ (EIC) พยายามเข้าไปแทรกแซงการเมืองของสงขลาด้วยการไปช่วยซ่อม สร้างป้อมปราการให้แก่เจ้าเมืองสงขลาเมื่อราว พ.ศ. 2223 เพราะหวังจะเข้าไปมีผลประโยชน์ทางการค้า

 

 

 

 

 

รายการอ้างอิง

การบุกรุกทำลายพื้นที่รอบโบราณสถานโดยนายทุนและนักการเมืองเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ล่าสุดกรณีพื้นที่ของเขาน้อยและเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา ซึ่งมีโบราณสถานสมัยศรีวิชัยเพียงไม่กี่แห่งในคาบสมุทรภาคใต้ กลุ่มโบราณสถานในสมัยอยุธยา ซึ่งสะท้อนรากเหง้าและตัวตนของสงขลา ถือเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมชั้นยอด มีสภาพน่าเป็นห่วง ถูกบุกรุกจนเกือบประชิดโบราณสถาน โดยเฉพาะวัดเขาน้อย โบราณสถานสมัยศรีวิชัย ที่กลุ่มทุนไถปรับที่ห่างเพียง 60 เมตรเท่านั้น! 

พงศ์ธันว์ สำเภาเงิน ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ให้ข่าวกับไทยพีบีเอสว่า เมื่อได้รับแจ้งเหตุจึงเข้าไปตรวจสอบ แต่ผลคือถูกข่มขู่กลับมา เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะมีอำนาจเถื่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง แม้ว่าบางหน่วยงานจะออกมาแก้ข่าวว่าไม่มีการข่มขู่ก็ตาม ถ้าบุกรุกทำลายพื้นที่กันได้ขนาดนี้ ผู้อ่านจะเชื่อไหมครับ 

 

 

จากการสำรวจและขุดค้น ทำให้บริเวณนี้พบโบราณวัตถุหลากหลายชนิดที่สะท้อนถึงการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรบ้านเมืองต่างๆ เช่น ประติมากรรมแบบศรีวิชัย จาม เขมร มีทั้งรูปพระโพธิสัตว์ สะท้อนการนับถือศาสนาพุทธมหายาน พระพุทธรูป ท้าวกุเวร พระคเณศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง, ซ่ง, หยวน และหมิง อีกด้วย 

ในขณะที่โบราณสถานวัดเขาน้อยเป็นเจดีย์เก่าแบบศรีวิชัยก่อด้วยอิฐ มีซุ้มจระนำโดยรอบส่วนฐานที่ยกเก็จ (ภาษาช่าง ยกเก็จ แปลว่าการเพิ่มของมุมฐานของเจดีย์) ภายในซุ้มจระนำนี้ประดับพระพุทธรูป ซึ่งช่างในสมัยอยุธยาได้เข้ามาดัดแปลงปั้นพระพุทธรูปแบบอยุธยาแทน การประดับพระพุทธรูปมากมายนี้ต้องการสื่อถึงคติมณฑลจักรวาลของศาสนาพุทธมหายาน ที่ถือว่าพระพุทธเจ้านั้นมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งคอยช่วยคุ้มครองมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย 

นอกจากนี้แล้ว จากการขุดค้นเมื่อ 40 กว่าปีก่อนยังได้พบประติมากรรมประดับเจดีย์ทำจากดินเผาและหลักฐานอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อมีเจดีย์ตั้งบนยอดเขา ย่อมจะต้องมีกุฏิ อาคารประกอบ และชุมชนอยู่อาศัยอีกด้วย ซึ่งคงอยู่ไม่ห่างจากเจดีย์ ดังนั้น การบุกรุกพื้นที่ห่างจากโบราณสถานเพียง 60 เมตร จึงเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างมาก 

 

สภาพของโบราณสถานเขาน้อยภายหลังการบูรณะเมื่อ 40 กว่าปีก่อน (ภาพจาก ลักษณ์ บุญเรือง ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา)

 

ปัจจัยที่ทำให้เมืองสทิงพระและเมืองตรงเขาแดงสำคัญขึ้นมานั้น เพราะตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทรจากสงขลาไปตรัง หรือไปไทรบุรี (เคดาห์) ได้สะดวก ไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา ในบันทึกของฝรั่งเศสระบุว่า สงขลายังเป็นเมืองที่ตั้งติดต่อทำการค้ากับจีน บอร์เนียว และมะนิลา ทำให้ฝรั่งเศสเชื่อว่าเมืองนี้จะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นเมืองท่าชั้นนำได้ในอนาคต อีกทั้งยังสามารถควบคุมการค้าเครื่องเทศ โดยเฉพาะพริกไทยได้ ที่สำคัญคือสงขลามีพื้นที่เหมาะกับการปลูกข้าวเพื่อเลี้ยงประชากร

อย่างไรก็ตาม ด้วยการตั้งเมืองอยู่บนสันทรายโบราณใกล้ชายฝั่ง ทำให้ไม่มีน้ำจืดเพียงพอ ชาวเมืองจึงต้องขุด ‘พัง’ หรือสระน้ำ ทำให้พบสระน้ำอยู่หลายแห่งรอบเมือง เช่น พังสายหมาน พังหลุง พังแขกชีใต้ ดังนั้นบริเวณรอบพังจึงพบร่องรอยของชุมชนอยู่ด้วย เห็นได้จากเศษภาชนะดินเผา ประติมากรรมทางศาสนา เช่น ท้าวกุเวร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  

 

 

ความจริงแล้วสทิงพระก็เป็นพื้นที่ที่น่าเป็นห่วง เพราะทุกวันนี้ยังมีกระบวนการขุดลักลอบโบราณวัตถุ ทำให้แหล่งโบราณคดีเสียหายไปมาก ทางการและประชาชนอาจต้องช่วยกัน เพราะสงขลาเป็นเมืองที่มีศักยภาพต่อการยกเป็นมรดกโลก

ในสมัยอยุธยาตอนกลาง-ปลาย สงขลากลายเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มชาวมลายูมุสลิม (บางหลักฐานว่าเป็นชวา แต่ที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือคือเป็นชาวเปอร์เซีย) นำโดย ดาโต๊ะ โมกอล ได้ตั้งเมืองขึ้นที่บริเวณหัวเขาแดงเมื่อ พ.ศ. 2162-2185 ตรงกับสมัยพระเจ้าทรงธรรม (ข้อมูลบางแหล่งว่าตั้งสมัยพระเอกาทศรถก็มี) โดยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช

แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของอยุธยา ที่ตั้งราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์ปราสาททอง จึงทำให้สุลต่านสุลัยมานแข็งเมือง ประกอบกับเผชิญกับโจรสลัดที่เข้าปล้นเมือง เป็นเหตุผลทำให้มีการสร้างป้อมกำแพงเมืองล้อมรอบเมืองและภูเขาบนเขาแดง ในจังหวะเดียวกันนี้ ทางบริษัทการค้าของอังกฤษ (EIC) พยายามเข้าไปแทรกแซงการเมืองของสงขลาด้วยการไปช่วยซ่อม สร้างป้อมปราการให้แก่เจ้าเมืองสงขลาเมื่อราว พ.ศ. 2223 เพราะหวังจะเข้าไปมีผลประโยชน์ทางการค้า

 

 

 

 

 

รายการอ้างอิง

จำนวนผู้เข้าชม

276

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

18 ส.ค. 2565