ชื่อผู้แต่ง | วิษณุ สมบุญปีติ |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม |
ปีที่ | 12 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 137 - 152 |
ภาษา | ภาษาไทย |
หัวเรื่อง | - |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและกำหนดอายุประติมากรรมศิลาทรายเทวรูปพระวิษณุ จากวัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยศึกษาเปรียบเทียบกับพัฒนาการถือสังข์ในศิลปะอินเดียเทวรูปองค์นี้ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นประติมากรรมที่แสดงลักษณะพื้นเมืองที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดีย เทวรูปองค์นี้ศาสตราจารย์ชอง บวสซิลิเย่ (Jean Boisselier) นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวฝรั่งเศสให้ความเห็นว่าเป็นประติมากรรมในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดีที่เจริญอยู่ในอินเดียภาคใต้ราวพุทธศตวรรษที่ 7-10 เทวรูปพระวิษณุองค์นี้ถือสังข์ด้วยพระหัตถ์ซ้ายล่างแสดงปากสังข์ เมื่อตรวจสอบพัฒนาารถือสังข์ของเทวรูปพระวิษณุในศิลปะอินเดียพบว่าการถือสังข์ด้วยพระหัตถ์ซ้ายล่างและแสดงปากสังข์นั้นเริ่มต้นในศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและศิลปะอินเดียอมราวดีตอนปลายหลังราชวงศ์อิกษวากุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-10 และเมื่อเปรียบเทียบกับการถือสังข์ของเทวรูปองค์นี้แล้วบทความนี้จึงเสนอว่าเทวรูปองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว
-
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและกำหนดอายุประติมากรรมศิลาทรายเทวรูปพระวิษณุ จากวัดศาลาทึง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยศึกษาเปรียบเทียบกับพัฒนาการถือสังข์ในศิลปะอินเดียเทวรูปองค์นี้ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เป็นประติมากรรมที่แสดงลักษณะพื้นเมืองที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดีย เทวรูปองค์นี้ศาสตราจารย์ชอง บวสซิลิเย่ (Jean Boisselier) นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวฝรั่งเศสให้ความเห็นว่าเป็นประติมากรรมในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดีที่เจริญอยู่ในอินเดียภาคใต้ราวพุทธศตวรรษที่ 7-10 เทวรูปพระวิษณุองค์นี้ถือสังข์ด้วยพระหัตถ์ซ้ายล่างแสดงปากสังข์ เมื่อตรวจสอบพัฒนาารถือสังข์ของเทวรูปพระวิษณุในศิลปะอินเดียพบว่าการถือสังข์ด้วยพระหัตถ์ซ้ายล่างและแสดงปากสังข์นั้นเริ่มต้นในศิลปะอินเดียสมัยคุปตะและศิลปะอินเดียอมราวดีตอนปลายหลังราชวงศ์อิกษวากุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-10 และเมื่อเปรียบเทียบกับการถือสังข์ของเทวรูปองค์นี้แล้วบทความนี้จึงเสนอว่าเทวรูปองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว
-