ชื่อผู้แต่ง | พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ |
วารสาร/นิตยสาร | ดำรงวิชาการ |
เดือน | มกราคม |
ปีที่ | 13 |
ฉบับที่ | 1 |
หน้าที่ | 205 - 238 |
ภาษา | ภาษาไทย |
หัวเรื่อง | - |
บทความที่เขียนถึงแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยโบราณในไทยมีอยู๋ไม่มากนัก บทความนี้ได้เค้าโครงหลักมาจากหนังสือ "ทฤษฎี ตัวแบบ และแนวคิดในประวัติศาสตร์โบราณ" (Theories, Models and Concepts in Ancient History) เขียนโดยเนวิล มอร์เลย์ (Nevile Morley) ถึงจะเป็นแนวคิดจากตะวันตกแต่ผู้เขียนก็ได้หยิบยกประเด็นปัญหาของประวัติศาสตร์ไทยหรืออื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบให้พอสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น
บทความนี้แบ่งเนื้อหาออกได้เป็น 6 ส่วนหลักคือ ส่วนแรก เริ่มต้นจากการอธิบายปัญหาเชิงทฤษฎีที่เป็นนามธรรมประกอบด้วย ปัญหาของการใช้ทฤษฎีหรือกฎ และชี้ให้เห็นจุดเด่นของการใช้โมเดลในการศึกษาประวัติศาสตร์ ปัญหาของการใช้คำศัพท์เฉพาะ และการให้น้ำหนักในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ว่าควรให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านจิตนิยมหรือวัตถุนิยม ส่วนที่สอง เป็นการอธิบายถึงข้อควรระวังของการศึกษาเศรษฐกิจสมัยโบราณ และประเด็นเรื่องชนชั้นกับสถานภาพทางสังคมว่ามีความสัมพันธ์กับที่มาของอำนาจทางการเมือง ส่วนที่สาม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้แก่เรื่องแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงยาว และนิเวศวิทยา ส่วนที่สี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวมนุษย์ได้แก่ประเด็นเรื่องอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ และประชากรศาสตร์ ส่วนที่ห้าเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมคือความเป็นหญิงชายและเพศสภาวะในงานประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กับเชื้อชาติและชาติพันธุ์ สุดท้ายคือ อธิบายแนวคิดทางด้านจิตวิทยากับการศึกษาตำนานในประวัติศาสตร์ ความจริงแล้ว ปัจจุบันแนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยโบราณเติบโตไปมากแต่ยังขาดการนำมาประยุกต์ใช้เชื่อมโยงกับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีที่มีเป็นจำนวนมาก แนวคิดทฤษฎีที่นำเสนอในบทความนี้จึงเป็นแนวทางเบื้องต้นไปสู่การศึกษาเชิงลึกในอนาคต
-
บทความที่เขียนถึงแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยโบราณในไทยมีอยู๋ไม่มากนัก บทความนี้ได้เค้าโครงหลักมาจากหนังสือ "ทฤษฎี ตัวแบบ และแนวคิดในประวัติศาสตร์โบราณ" (Theories, Models and Concepts in Ancient History) เขียนโดยเนวิล มอร์เลย์ (Nevile Morley) ถึงจะเป็นแนวคิดจากตะวันตกแต่ผู้เขียนก็ได้หยิบยกประเด็นปัญหาของประวัติศาสตร์ไทยหรืออื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบให้พอสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น
บทความนี้แบ่งเนื้อหาออกได้เป็น 6 ส่วนหลักคือ ส่วนแรก เริ่มต้นจากการอธิบายปัญหาเชิงทฤษฎีที่เป็นนามธรรมประกอบด้วย ปัญหาของการใช้ทฤษฎีหรือกฎ และชี้ให้เห็นจุดเด่นของการใช้โมเดลในการศึกษาประวัติศาสตร์ ปัญหาของการใช้คำศัพท์เฉพาะ และการให้น้ำหนักในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ว่าควรให้ความสำคัญกับปัจจัยทางด้านจิตนิยมหรือวัตถุนิยม ส่วนที่สอง เป็นการอธิบายถึงข้อควรระวังของการศึกษาเศรษฐกิจสมัยโบราณ และประเด็นเรื่องชนชั้นกับสถานภาพทางสังคมว่ามีความสัมพันธ์กับที่มาของอำนาจทางการเมือง ส่วนที่สาม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้แก่เรื่องแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงยาว และนิเวศวิทยา ส่วนที่สี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวมนุษย์ได้แก่ประเด็นเรื่องอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ และประชากรศาสตร์ ส่วนที่ห้าเกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมคือความเป็นหญิงชายและเพศสภาวะในงานประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กับเชื้อชาติและชาติพันธุ์ สุดท้ายคือ อธิบายแนวคิดทางด้านจิตวิทยากับการศึกษาตำนานในประวัติศาสตร์ ความจริงแล้ว ปัจจุบันแนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยโบราณเติบโตไปมากแต่ยังขาดการนำมาประยุกต์ใช้เชื่อมโยงกับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีที่มีเป็นจำนวนมาก แนวคิดทฤษฎีที่นำเสนอในบทความนี้จึงเป็นแนวทางเบื้องต้นไปสู่การศึกษาเชิงลึกในอนาคต
-