หน้าแรก Current Stories สัตว์สัญลักษณ์กับความเชื่อยุคแรกเริ่มของอุษาคเนย์

สัตว์สัญลักษณ์กับความเชื่อยุคแรกเริ่มของอุษาคเนย์

สัตว์สัญลักษณ์กับความเชื่อยุคแรกเริ่มของอุษาคเนย์

เผยแพร่เมื่อ 28 มี.ค. 2566
พิมพ์

โดย ธวัชชัย สินทอง

410

ในยุคก่อนประวัติศาสตร์แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องประดับมักทำจากกระดูกสัตว์ เปลือกหอย และหินบางชนิด อย่างไรก็ตามในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์ (Protohistory) นั้นกลับพบเครื่องประดับทำจากหินกึ่งรัตนชาติ และแก้วสีต่าง ๆแทน ซึ่งสะท้อนการติดต่อค้าขายกับอินเดีย จีน และผู้คนในภูมิภาคแถบนี้

 

ในบรรดาเครื่องประดับทั้งหมด ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความพิเศษโดดเด่นคือ การทำเครื่องประดับเป็นรูปสัตว์หลากหลายชนิดเช่น นก เต่า สิงโต เสือ เต่า เป็นต้น เครื่องประดับรูปสัตว์อาจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอธิบายสภาพแวดล้อมเดิมของมนุษย์ยุคก่อนผ่านสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่นั้นแล้ว ยังอาจรวมถึงการใช้ “สัตว์” ในการเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อ ทั้งความเชื่อท้องถิ่นและความเชื่อจากดินแดนอันไกลโพ้นโดยเฉพาะอินเดียกับจีน

 

ทำไมคนโบราณจึงนับถือสัตว์

เหตุผลของการนับถือสัตว์ (Animal Worship) ของคนสมัยโบราณนั้นมีด้วยกันหลายเหตุผล เช่น การบูชาเพราะกลัวความตาย การบูชาเพื่ออุดมสมบูรณ์ เป็นต้น เราอาจจำแนกสัตว์ที่คนบูชาออกได้เป็นกลุ่มๆ ได้แก่ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าที่มนุษย์ไม่ได้เลี้ยง สัตว์ที่เกี่ยวกับการสงคราม ยกตัวอย่างเช่น หมี ถูกนำถือในหมู่นักล่าสัตว์ในสมัยกรีกโบราณหมีได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับเทพีอาร์ทีมิส เทพีแห่งการล่าสัตว์ ซึ่งมีตำนานว่าครั้งหนึ่งเทพีอาร์ทีมิสได้แปลงกายเป็นหมี กลุ่มดาวหมีใหญ่จึงกลายเป็นหนึ่งในตัวแทนของเทพีอาร์ทีมิส และมีการศึกษาว่าในกลุ่มของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) อาจมีการบูชาหมีเนื่องจากพบกระดูกหมีโบราณในถ้ำต่าง ๆ หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล รวมทั้งมีการจัดวางกระดูกของหมีในลักษณะที่แปลกประหลาด จึงมีนักโบราณคดีบางท่านได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจมีกลุ่มที่นับถือหมีขึ้นมาในหมู่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลก็เป็นได้ (เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_worship)

 

นอกจากที่กล่าวถึงมาข้างต้นแล้ว แนวคิดเรื่อง “โทเท็ม” (Totemism) หรือการนับถือธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์ ถือเป็นรูปแบบความเชื่อแบบหนึ่งของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ลึกลับทางวิญญาณกับพืชหรือสัตว์ กล่าวคือ แนวคิดนี้กำเนิดขึ้นมาจากความรู้สึกผู้สัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณของมนุษย์กับสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ

 

 Totemism นั้นมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวของกลุ่มเครือญาติ หรือกลุ่มคนในเผ่าเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ชาวอะบอริจินในประเทศออสเตเลีย ได้ใช้รูปสัตว์แทนกลุ่มของตนเองรวมไปถึงเครือญาติ เปรียบเสมือนตราประจำตระกูล อีกทั้ง “Totem” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Ojibwa” หรือ “one’s brother-sister kin” ซึ่งหมายถึงพี่น้องสายเลือดเดียวกัน

 

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าหน้าที่อย่างหนึ่งของTotem คือถูกใช้แทนสัญลักษณ์ประจำตระกูล หรือคนในเครือญาติเดียวกัน อย่างไรก็ตาม Totem เป็นสิ่งที่ผูกเข้ากับจิตวิญญาณทางธรรมชาติอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นหน้าที่ของ Totem นอกเหนือจากการเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล ยังเป็นดั่งเครื่องรางของขลังที่เป็นดั่งเทพคุ้มครอง และอาจมอบพลังเหนือมนุษย์(ตามความเชื่อบางแห่ง)อีกด้วย ซึ่งในแง่การใช้งาน Totem เองนั้นทำให้มักเกิดการผสมปนเปกับความเชื่ออื่นๆ ทั้งการนับถือบรรพบุรุษ หรือการบูชาผี เช่นกัน (เข้าถึงได้จาก https://www.britannica.com/topic/totemism-religion)

 

สัญลักษณ์จากอินเดีย

ในอินเดียมีการนับถือสัตว์หลากหลายชนิด เห็นได้จากสัตว์พาหนะของเทพเจ้าฮินดู อย่างไรก็ตามย้อนกลับไปในยุคต้นพุทธกาลจะพบว่า มีสัตว์อยู่เพียงกี่ชนิดที่ได้รับการยกย่อและบูชา ที่สำคัญได้แก่ ช้าง ม้า โค สิงห์ และกวาง ดังเห็นได้จากในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะของอินเดีย ได้ใช้เครื่องหมายรูปกงจักรและรูปสัตว์ใหญ่ทั้งสี่คือ ช้างที่เป็นตัวแทนการเกิดของพระพุทธเจ้า(จากความฝันของพระนางสิริมหามายาที่ฝันเห็นช้าง) ม้าที่แสดงถึงสัตว์พาหนะชณะออกบวชของพระพุทธเจ้า โคเป็นตัวแทนของราศีของพระพุทธเจ้า(ราศีพฤษภ) สิงห์เป็นตัวแทนของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (เข้าถึงได้จาก https://byjus.com/free-ias-prep/interesting-facts-about-national-emblem) เป็นส่วนประกอบของเสาที่ชื่อว่า “เสาพระเจ้าอโศก” ซึ่งมีหน้าที่ทางตรงคือการบอกขอบเขตของพระราชอำนาจของพระเจ้าอโศก รวมทั้งยังสื่อถึงการเป็นแกนของจักรวาลอีกด้วยหรือในสมัยราชวงศ์คุปตะ เหตุการณ์ในตอนพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันได้มีการทำรูปกวางหมอบขนาดเล็กใต้ฐานของพระพุทธรูป ซึ่งในสมัยทวารวดีมีการสร้างธรรมจักรและกวางหมอบคู่

 

หัวเสารูปสิงโตของเสาพระเจ้าอโศกที่พบในอินเดีย

(ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tr%E1%BB%A5_%C4%91%C3%A1_Ashoka_%28Pillar_of_Ashoka%29.jpg)

 

กวางหมอบคู่กับธรรมจักรในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบภายในประเทศไทย

(ที่มา:https://www.matichonacademy.com/tour-story/tour-story/รู้จัก-ธรรมจักร-สัญลักษ)

 

วัฒนธรรมอินเดียยังมีสัตว์อื่นๆที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบอื่นๆ โดยมีทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการเคารพบูชา ตัวแทนของบางสิ่ง หรือเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อเติมเต็มสัญลักษณ์อย่างอื่นให้สมบูรณ์ พบทั้งสัตว์ขนาดใหญ่และสัตว์ขนาดเล็ก สำหรับสัตว์ขนาดใหญ่ที่พบมีทั้ง ช้าง ม้า สิงโต เสือ และนก เป็นต้น ความน่าสนใจของกลุ่มสัตว์ใหญ่คือมีการพบว่าชื่อของกษัตริย์บางพระองค์มีความหมายที่แปลว่าสิงโต หรือเสือภายในชื่อของพระองค์ โดยมีการอธิบายว่าเป็นการแสดงถึงสายเลือดของนักรบของกษัตริย์พระองค์นั้น เช่น จารึก Samudraguota เขียนขึ้นในปีค.ศ.380 (พ.ศ.923) กล่าวถึงหัวหน้าเผ่าผู้ปกครองตะวันตกได้ผ่ายแพ่แก่ “ราชาแห่งป่า”(Forest King) ชื่อ Vyaghraraja ซึ่งชื่อดังกล่าวหมายถึง “ราชาเสือ” (Yaroslav Vassilkov, 2013: 231 – 247)

 

สำหรับสัตว์ขนาดเล็กที่ถูกนำเสนอเป็นสัญลักษณ์ในอินเดียนั้นอยู่ในกลุ่มจำพวก “แมลง” เช่น แมงป่อง ตั๊กแตน ตะขาบ และมดดำ เป็นต้น โดยพบในลักษณะเป็นสัตว์หนึ่งของงานจิตรกรรม หรือบนลายของภาชนะดินเผา เช่น มดดำ ถูกวาดในจิตกรรมฝาผนังภายในถ้ำอชันตา หมายเลข 7 ภายในภาพเรื่อง “Shadadanta Jataka” พบเป็นรูปมดดำไต่ต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ดังกล่าวพบได้ทั่วไปในอินเดีย และรู้จักกันในนาม “Flame of the Forest” จากสีของดอกไม้ที่เป็นสีแดง และมีสรรพคุณในด้านการรักษา (Shivendra Kadgaonkar, 2017: 105 - 109)

 

จิตรกรรมฝาผนังภายในถ้ำอชันตา หมายเลข 7 (ที่มา:Shivendra Kadgaonkar, 2017: 107)

 

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ปู เป็นส่วนประกอบในประติมากรรม Naga Jataka ภายในประติมากรรมพบรูปช้าง ปู ปลา ภายในทะเลสาบ ซึ่งปูกำลังจับขาข้างหนึ่งของช้าง ซึ่งตรงกับชาดกเกี่ยวกับปูในเมือง Banaras ที่คอยฆ่าช้างที่แวะเข้ามาดื่มน้ำในทะเลสาบที่ตัวเองอยู่ และในขณะที่พระโพธิสัตว์ได้ผ่านทะเลสาปแห่งนั้นได้ถูกปูตัวดังกล่าวจับขาช้างของพระพุทธเจ้าหวังฆ่าเหมือนช้างตัวอื่นๆ ซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ฆ่าปูตัวนั้นเพื่อทำให้ทะเลสาปแห่งนี้ปลอดภัยต่อทุกสรรพชีวิตที่ต้องการดื่มกินน้ำจากทะเลสาปแห่งนี้ ความน่าสนใจของประติมากรรมดังกล่าวอีกอย่างคือ การใช้รูปช้างแทนตัวของพระพุทธเจ้า เพราะภายในประติมากรรมดังกล่าวไม่มีรูปของพระโพธิสัตว์ปรากฏให้เห็นเลย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเดียวกับที่ยังไม่เกิดการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงเกิดการใช้สัญลักษณ์ต่างๆแทนตัว รวมไปถึงการใช้สัตว์แทนเช่นกัน (Shivendra Kadgaonkar, 2017: 105 - 109)

ประติมากรรม Naga Jataka (ที่มา:Shivendra Kadgaonkar, 2017: 106)

 

สัญลักษณ์ในท้องถิ่น

การนับถือผีและธรรมชาติเป็นความเชื่อพื้นฐานของมนุษย์ในแถบนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่าการทำรูปสัตว์สัญลักษณ์อาจเป้นแขนงหนึ่งของการนับถือธรรมชาติโดยการใช้สัตว์เป็นตัวแทนของธรรมชาติ ความเชื่อในการบูชาสัตว์ของผู้คนแถบนี้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยก่อนยุคเหล็ก ดังเห็นได้จากภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่วาดเป็นรูปสัตว์หลากหลายชนิด เช่น วัว ควาย ช้าง ตัวเงินตัวทอง ตัวแลน กวาง ลิง เป็นต้น

 

แต่หลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่า สัตว์บางชนิดได้รับการบูชาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์นั้นปรากฏชัดอยู่บนกลางมโหระทึก ซึ่งสัตว์บนหน้ากลางมโหระทึกประกอบด้วยนก กบ หอย และช้าง

 

นอกจากนี้แล้วยังพบว่าผู้คนในแถบนี้ยังบูชางู เพราะงูนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่อันตรายต่อชีวิตเป็นอย่างมาก จากการเคลื่อนไหวของงูที่ไม่มีเสียงและเงียบสงบรวมทั้งพิษอันร้ายแรงถึงตาย จึงทำให้หลบเลี่ยงอันตรายจากงูได้ยาก จึงเกิดการบูชางูขึ้นมาคล้ายคลึงกับการบูชาฟ้าฝนของมนุษย์ในอดีต เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ นอกจากนี้ในทางสากลแล้วงูถือเป็นสัญลักษณ์ของความอมตะ จากการลอกคราบที่เปรียบเหมือนการเกิดใหม่ซ้ำไปซ้ำมา ตัวอย่างเช่นในตำนานกรีกโบราณมีเทพชื่อแอสคลีเพียส เป็นเทพด้านการแพทย์มีไม้เท้าเป็นรูปงูพันรอบ และได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับหน่วยงานด้านการแพทย์ทั่วโลก (เข้าถึงได้จาก www.finearts.go.th/museumstorage/view/25394-งู)

 

สัญลักษณ์รูปไม้เท้าของเทพแอสคลีเพียส ที่เป็นตัวแทนของการแพทย์

(ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Caduceus)

 

นอกจากงูแล้วยังมีการบูชาจระเข้ และเสือด้วยเช่นกัน ซึ่งมีต้นเหตุไม่แตกต่างจากการบูชางูคือ การเป็นสัตว์ที่มีอันตรายสูงถึงชีวิตและอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของมนุษย์โดยสิ้นเชิง ทั้งจระเข้ที่เป็นสัตว์นักล่าที่พบได้ทั่วไปตามแม่น้ำทั่วทั้งแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเสือที่พบได้ทั่วไปภายในป่าเขตร้อนแถบนี้ ซึ่งทั้งป่าและแม่น้ำต่างเป็นพื้นที่สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตทั้งสิ้น

 

เครื่องประดับรูปสัตว์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในไทย

การติดต่อกับอินเดียทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้มีการนำความเชื่อในการบูชาสัตว์ในศาสนาต่างๆ ของอินเดียเข้ามาใช้ด้วย หลักฐานดังกล่าวพบได้ในเครื่องประดับขนาดเล็กๆ แต่ในขณะเดียวกันการบูชาสัตว์พื้นเมืองก็ยังคงดำรงอยู่ ดังเห็นได้จากแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์มักพบกลองมโหระทึก และเครื่องประดับรูปสัตว์ที่ไม่พบในอินเดียด้วย

 

หลักฐานเกี่ยวกับการบูชาสัตว์ในไทยมักพบในแถบภาคใต้และภาคตะวันตกเช่น บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรีพบสิงโตทำจากหินคาร์เนเลียน (วสันต์ เทพสุริยานนท์, 2544) เขตท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบลูกปัดหินและแก้วรูปม้า นก เสือ และจระเข้ (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562) สำหรับในประเทศเมียนมาร์พบในเขตภาคใต้ของประเทศโดยอยู่ในเขตของแหล่งโบราณชื่อ “Samon valley” ซึ่งถูกนับได้ว่าเป็นกลุ่มคนก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศเมียนมาร์ก่อนพัฒนากลายเป็นกลุ่มวัฒนธรรมปยู (Pyu) ในสมัยต่อมา ซึ่งใน Samon valley มีการพบเครื่องประดับรูปเสือ ทำจากหินคาร์เนเลียน (Bob Hudson, 2005: 59-79)

 

สิงโตคาร์เนเลียนที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร

 

จากแหล่งโบราณคดีที่ได้ยกตัวอย่างมาเห็นได้ว่าประเภทของสัตว์ ที่พบในแต่ละพื้นที่มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน เป็นไปได้หรือไม่ว่าการพบสัตว์ชนิดเดียวกันอย่าง “เสือ” จากหินคาร์เนเลียนพบทั้งในเขาสามแก้ว ท่าชนะ บ้านดอนตาเพชร Samon Valley แสดงถึงการนับถือในรูปแบบความเชื่อเดียวกันรวมถึงสภาพภูมิประเทศที่มักเป็นป่าแล้วอาจเกิดการบูชาเสือขึ้น นอกจากนี้ในวัฒนธรรมของชาวจีนยังถือว่าเสือเป็นตัวแทนของ “ผู้ชาย” ซึ่งในสุสานเมืองเหอผู่เมืองใกล้ชายฝั่งทะเลของจีนพบ “เสือ” ทำจากหินคาร์เนเลียน เช่นเดียวกับที่พบทั้งในไทยและเมียนมาร์ และในวัฒนธรรมดั้งเดิมของเวียดนาม “เสือ” ถือเป็นสัญลักษณ์ของพละกำลัง ความดุร้าย และความสง่างาม รวมทั้งยังถือว่าเสือเป็นผู้พิทักษ์ (https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_worship) “เสือ” จึงอาจเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายภายในชุมชนที่มีบทบาทคอยออกล่าหาอาหาร และอาจมีหน้าที่คอยปกป้องชุมชน

 

อย่างไรก็ตามพื้นที่แถบคาบสมุทรทั้งท่าชนะ และเขาสามแก้ว กลับเป็นพื้นที่ที่พบสัตว์หลากหลายประเภททั้งจระเข้ เสือ นก กระต่าย ม้า และกวาง แตกต่างกับบ้านดอนตาเพชร หรือ Samon Valley ซึ่งอาจสอดคล้องกับคาบสมุทรเป็นพื้นที่สำหรับการติดต่อกับชุมชนภายนอกทางไกล และมีสถานะเป็นเมืองท่านานาชาติ ส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่จากคนหลากหลายแห่ง ทั้งจากคนในพื้นที่ดั้งเดิม พ่อค้าจากภายนอกที่เข้ามาค้าขาย หรือคนจากชุมชนอื่นที่มองเห็นช่องทางในการสร้างฐานะในแถบเมืองท่า จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการพบ “สัตว์” หลายประเภทสะท้อนถึงคนหลายกลุ่มภายในพื้นที่บริเวณดังกล่าว และอาจสะท้อนถึงสภาพภูมิประเทศด้วยเช่นกันอย่างลักษณะภูมิประเทศของเขาสามแก้วเป็นภูเขาติดแม่น้ำขนาดใหญ่ การมีสัญลักษณ์เป็นรูป “จระเข้” อาจเป็นการแทนถึงกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ จึงอาจเกิดการนับถือ “จระเข้” ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่ดุร้ายขึ้น

ลูกปัดหินและแก้วรูปสัตว์ที่พบในเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร

(ที่มา:สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562: 153)

 

ลูกปัดหินและแก้วรูปสัตว์ที่พบในท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(ที่มา:สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562: 154)

 

สัตว์บางประเภทไม่ใช่สัตว์ดั้งเดิมของพื้นที่แถบนี้เช่น “ม้า” หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการมีม้านั้นพบที่เก่าแก่ที่สุดที่เวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงสมัยหริภุญชัย ดังนั้นการพบสัญลักษณ์ของ “ม้า” ในแถบคาบสมุทรช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์นั้น อาจสรุปได้ว่าเป็นของจากคนภายนอกที่เข้ามาในพื้นที่เช่น พ่อค้าในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนที่เข้ามาค้าขายภายในแถบคาบสมุทร เนื่องจากจีนเป็นแหล่งของม้าที่ใกล้ที่สุดในแถบนี้ รวมทั้งมีบันทึกสมัยทวารวดีที่กล่าวถึงการนำเข้าม้าจากจีนด้วยเช่นกัน

 

นอกจากนี้สัตว์บางประเภทยังเชื่อมโยงกับความเชื่อของวัฒนธรรมภายนอกพื้นที่แถบนี้เช่น “กระต่าย” เนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมของคนในแถบนี้เกี่ยวกับ “กระต่าย” ไม่ชัดเจนมากนัก แต่หากอิงความเชื่อของชาวจีนเกี่ยวกับ “กระต่าย” กลับพบหลายเรื่องเช่น “กระต่าย” เป็นตัวแทนของนักษัตรลำดับที่ 4 คือปีเถาะตามปฏิทินจีน เป็นตัวแทนของเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ที่คอยปรุงยา และสัตว์เลี้ยงของเทพีฉางเอ๋อ เทพีแห่งดวงจันทร์ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการพบสัญลักษณ์รูป “กระต่าย” อาจมาจากพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาในพื้นที่เช่นกัน

 

 

ภายหลังการเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดีย

สมัยทวารวดีคือช่วงที่ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียมาอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะทางด้านศาสนา จึงพบว่าสัตว์สัญลักษณ์ในรูปแบบของเครื่องประดับกลับเป็นหลักฐานที่พบน้อยลง สันนิษฐานว่าเนื่องจากการเข้ามาของศาสนาและสัญลักษณ์แบบใหม่ในรูปแบบของ “รูปเคารพ” เข้ามาแทนที่การใช้ “สัตว์” เป็นสัญลักษณ์ โดยหากย้อนกลับไปยังอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้ว พบว่าเริ่มมีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายมงคลต่างๆ บนสถาปัตยกรรม หรือในงานวรรณกรรมมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยมีผู้ศึกษาและจัดแบ่งการใช้สัญลักษณ์ของคนในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุว่ามีการใช้สอยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน (นันทนา ชุติวงศ์, 2564: 13-30) คือ

  1. ใช้ประกอบกับสัญลักษณ์ทางร่างกายของบุคคลสำคัญ ที่เรียกรวมกันว่า “มหาบุรุษ” ทั้งเทพเจ้า พระพุทธเจ้า บุคคลสำคัญ และบุคคลที่มีความเหนือมนุษย์คนอื่นๆ
  2. ลวดลายเครื่องประดับของเทพเจ้า และผู้มีภาวะเหนือมนุษย์คนอื่นๆ รวมทั้งวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทางธรรมชาติ เช่น พระแม่ธรณี และพญานาค เป็นต้น
  3. ใช้เป็นสื่อสำหรับการติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์

 

อย่างไรก็ตามบทบาทของ “สัตว์” สัญลักษณ์ไม่ได้หายไปจนหมดสิ้นแต่ถูกลดบทบาทลงเช่น กวาง ที่พบคู่กับเสาธรรมจักรอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือ งู ที่เป็นสัตว์คู่กับพระศิวะเป็นต้น ซึ่งลักษณะคล้ายคลึงกับการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมของอินเดียภายหลังเกิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่นำเทพธรรมชาติดั้งเดิมหลอมรวมกับเทพฮินดู หรือในช่วงการเกิดศาสนาพุทธขึ้นมาได้มีการนำเทพฮินดูเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ เป็นต้น

 

 

 

 

 

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

1. เครื่องประดับรูปสัตว์ 2. จีน 3. อินเดีย 4. ไทย 5. เมียนมาร์ 6. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7. ความเชื่อ

รายการอ้างอิง

นันทนา ชุติวงศ์. “เครื่องหมายมงคลในวัฒนธรรมแบบทวารวดี”. ใน รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2564.

 

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. ภววิทยาวัตถุ (Object-oriented ontology). เข้าถึงได้เมื่อ 1 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/287.

 

วสันต์ เทพสุริยานนท์. แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร : ผลการขุดค้นทางโบราณคดี. สุพรรณบุรี: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี. 2544.

 

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรมเชื่อมโยงโลก. กรุงเทพ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). 2562.

 

Bob Hudson. “A Pyu Homeland in the Samon Valley: a new theory of the origins of Myanmar's early urban system”. In Myanmar Historical Commission Conference Proceedings, Part 2. Universities Historical Research Centre, Yangon. 2005.

 

Josef Haekel. Totemism. เข้าถึงได้จาก

https://www.britannica.com/topic/totemism-religion.

ในยุคก่อนประวัติศาสตร์แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องประดับมักทำจากกระดูกสัตว์ เปลือกหอย และหินบางชนิด อย่างไรก็ตามในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์ (Protohistory) นั้นกลับพบเครื่องประดับทำจากหินกึ่งรัตนชาติ และแก้วสีต่าง ๆแทน ซึ่งสะท้อนการติดต่อค้าขายกับอินเดีย จีน และผู้คนในภูมิภาคแถบนี้

 

ในบรรดาเครื่องประดับทั้งหมด ที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความพิเศษโดดเด่นคือ การทำเครื่องประดับเป็นรูปสัตว์หลากหลายชนิดเช่น นก เต่า สิงโต เสือ เต่า เป็นต้น เครื่องประดับรูปสัตว์อาจเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอธิบายสภาพแวดล้อมเดิมของมนุษย์ยุคก่อนผ่านสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่นั้นแล้ว ยังอาจรวมถึงการใช้ “สัตว์” ในการเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อ ทั้งความเชื่อท้องถิ่นและความเชื่อจากดินแดนอันไกลโพ้นโดยเฉพาะอินเดียกับจีน

 

ทำไมคนโบราณจึงนับถือสัตว์

เหตุผลของการนับถือสัตว์ (Animal Worship) ของคนสมัยโบราณนั้นมีด้วยกันหลายเหตุผล เช่น การบูชาเพราะกลัวความตาย การบูชาเพื่ออุดมสมบูรณ์ เป็นต้น เราอาจจำแนกสัตว์ที่คนบูชาออกได้เป็นกลุ่มๆ ได้แก่ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าที่มนุษย์ไม่ได้เลี้ยง สัตว์ที่เกี่ยวกับการสงคราม ยกตัวอย่างเช่น หมี ถูกนำถือในหมู่นักล่าสัตว์ในสมัยกรีกโบราณหมีได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับเทพีอาร์ทีมิส เทพีแห่งการล่าสัตว์ ซึ่งมีตำนานว่าครั้งหนึ่งเทพีอาร์ทีมิสได้แปลงกายเป็นหมี กลุ่มดาวหมีใหญ่จึงกลายเป็นหนึ่งในตัวแทนของเทพีอาร์ทีมิส และมีการศึกษาว่าในกลุ่มของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal) อาจมีการบูชาหมีเนื่องจากพบกระดูกหมีโบราณในถ้ำต่าง ๆ หลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล รวมทั้งมีการจัดวางกระดูกของหมีในลักษณะที่แปลกประหลาด จึงมีนักโบราณคดีบางท่านได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจมีกลุ่มที่นับถือหมีขึ้นมาในหมู่มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลก็เป็นได้ (เข้าถึงได้จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_worship)

 

นอกจากที่กล่าวถึงมาข้างต้นแล้ว แนวคิดเรื่อง “โทเท็ม” (Totemism) หรือการนับถือธรรมชาติเป็นสัญลักษณ์ ถือเป็นรูปแบบความเชื่อแบบหนึ่งของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ลึกลับทางวิญญาณกับพืชหรือสัตว์ กล่าวคือ แนวคิดนี้กำเนิดขึ้นมาจากความรู้สึกผู้สัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณของมนุษย์กับสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ

 

 Totemism นั้นมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวของกลุ่มเครือญาติ หรือกลุ่มคนในเผ่าเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ชาวอะบอริจินในประเทศออสเตเลีย ได้ใช้รูปสัตว์แทนกลุ่มของตนเองรวมไปถึงเครือญาติ เปรียบเสมือนตราประจำตระกูล อีกทั้ง “Totem” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Ojibwa” หรือ “one’s brother-sister kin” ซึ่งหมายถึงพี่น้องสายเลือดเดียวกัน

 

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าหน้าที่อย่างหนึ่งของTotem คือถูกใช้แทนสัญลักษณ์ประจำตระกูล หรือคนในเครือญาติเดียวกัน อย่างไรก็ตาม Totem เป็นสิ่งที่ผูกเข้ากับจิตวิญญาณทางธรรมชาติอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นหน้าที่ของ Totem นอกเหนือจากการเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล ยังเป็นดั่งเครื่องรางของขลังที่เป็นดั่งเทพคุ้มครอง และอาจมอบพลังเหนือมนุษย์(ตามความเชื่อบางแห่ง)อีกด้วย ซึ่งในแง่การใช้งาน Totem เองนั้นทำให้มักเกิดการผสมปนเปกับความเชื่ออื่นๆ ทั้งการนับถือบรรพบุรุษ หรือการบูชาผี เช่นกัน (เข้าถึงได้จาก https://www.britannica.com/topic/totemism-religion)

 

สัญลักษณ์จากอินเดีย

ในอินเดียมีการนับถือสัตว์หลากหลายชนิด เห็นได้จากสัตว์พาหนะของเทพเจ้าฮินดู อย่างไรก็ตามย้อนกลับไปในยุคต้นพุทธกาลจะพบว่า มีสัตว์อยู่เพียงกี่ชนิดที่ได้รับการยกย่อและบูชา ที่สำคัญได้แก่ ช้าง ม้า โค สิงห์ และกวาง ดังเห็นได้จากในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์โมริยะของอินเดีย ได้ใช้เครื่องหมายรูปกงจักรและรูปสัตว์ใหญ่ทั้งสี่คือ ช้างที่เป็นตัวแทนการเกิดของพระพุทธเจ้า(จากความฝันของพระนางสิริมหามายาที่ฝันเห็นช้าง) ม้าที่แสดงถึงสัตว์พาหนะชณะออกบวชของพระพุทธเจ้า โคเป็นตัวแทนของราศีของพระพุทธเจ้า(ราศีพฤษภ) สิงห์เป็นตัวแทนของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (เข้าถึงได้จาก https://byjus.com/free-ias-prep/interesting-facts-about-national-emblem) เป็นส่วนประกอบของเสาที่ชื่อว่า “เสาพระเจ้าอโศก” ซึ่งมีหน้าที่ทางตรงคือการบอกขอบเขตของพระราชอำนาจของพระเจ้าอโศก รวมทั้งยังสื่อถึงการเป็นแกนของจักรวาลอีกด้วยหรือในสมัยราชวงศ์คุปตะ เหตุการณ์ในตอนพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันได้มีการทำรูปกวางหมอบขนาดเล็กใต้ฐานของพระพุทธรูป ซึ่งในสมัยทวารวดีมีการสร้างธรรมจักรและกวางหมอบคู่

 

หัวเสารูปสิงโตของเสาพระเจ้าอโศกที่พบในอินเดีย

(ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Tr%E1%BB%A5_%C4%91%C3%A1_Ashoka_%28Pillar_of_Ashoka%29.jpg)

 

กวางหมอบคู่กับธรรมจักรในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบภายในประเทศไทย

(ที่มา:https://www.matichonacademy.com/tour-story/tour-story/รู้จัก-ธรรมจักร-สัญลักษ)

 

วัฒนธรรมอินเดียยังมีสัตว์อื่นๆที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบอื่นๆ โดยมีทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการเคารพบูชา ตัวแทนของบางสิ่ง หรือเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อเติมเต็มสัญลักษณ์อย่างอื่นให้สมบูรณ์ พบทั้งสัตว์ขนาดใหญ่และสัตว์ขนาดเล็ก สำหรับสัตว์ขนาดใหญ่ที่พบมีทั้ง ช้าง ม้า สิงโต เสือ และนก เป็นต้น ความน่าสนใจของกลุ่มสัตว์ใหญ่คือมีการพบว่าชื่อของกษัตริย์บางพระองค์มีความหมายที่แปลว่าสิงโต หรือเสือภายในชื่อของพระองค์ โดยมีการอธิบายว่าเป็นการแสดงถึงสายเลือดของนักรบของกษัตริย์พระองค์นั้น เช่น จารึก Samudraguota เขียนขึ้นในปีค.ศ.380 (พ.ศ.923) กล่าวถึงหัวหน้าเผ่าผู้ปกครองตะวันตกได้ผ่ายแพ่แก่ “ราชาแห่งป่า”(Forest King) ชื่อ Vyaghraraja ซึ่งชื่อดังกล่าวหมายถึง “ราชาเสือ” (Yaroslav Vassilkov, 2013: 231 – 247)

 

สำหรับสัตว์ขนาดเล็กที่ถูกนำเสนอเป็นสัญลักษณ์ในอินเดียนั้นอยู่ในกลุ่มจำพวก “แมลง” เช่น แมงป่อง ตั๊กแตน ตะขาบ และมดดำ เป็นต้น โดยพบในลักษณะเป็นสัตว์หนึ่งของงานจิตรกรรม หรือบนลายของภาชนะดินเผา เช่น มดดำ ถูกวาดในจิตกรรมฝาผนังภายในถ้ำอชันตา หมายเลข 7 ภายในภาพเรื่อง “Shadadanta Jataka” พบเป็นรูปมดดำไต่ต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ดังกล่าวพบได้ทั่วไปในอินเดีย และรู้จักกันในนาม “Flame of the Forest” จากสีของดอกไม้ที่เป็นสีแดง และมีสรรพคุณในด้านการรักษา (Shivendra Kadgaonkar, 2017: 105 - 109)

 

จิตรกรรมฝาผนังภายในถ้ำอชันตา หมายเลข 7 (ที่มา:Shivendra Kadgaonkar, 2017: 107)

 

อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ปู เป็นส่วนประกอบในประติมากรรม Naga Jataka ภายในประติมากรรมพบรูปช้าง ปู ปลา ภายในทะเลสาบ ซึ่งปูกำลังจับขาข้างหนึ่งของช้าง ซึ่งตรงกับชาดกเกี่ยวกับปูในเมือง Banaras ที่คอยฆ่าช้างที่แวะเข้ามาดื่มน้ำในทะเลสาบที่ตัวเองอยู่ และในขณะที่พระโพธิสัตว์ได้ผ่านทะเลสาปแห่งนั้นได้ถูกปูตัวดังกล่าวจับขาช้างของพระพุทธเจ้าหวังฆ่าเหมือนช้างตัวอื่นๆ ซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ฆ่าปูตัวนั้นเพื่อทำให้ทะเลสาปแห่งนี้ปลอดภัยต่อทุกสรรพชีวิตที่ต้องการดื่มกินน้ำจากทะเลสาปแห่งนี้ ความน่าสนใจของประติมากรรมดังกล่าวอีกอย่างคือ การใช้รูปช้างแทนตัวของพระพุทธเจ้า เพราะภายในประติมากรรมดังกล่าวไม่มีรูปของพระโพธิสัตว์ปรากฏให้เห็นเลย ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเดียวกับที่ยังไม่เกิดการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงเกิดการใช้สัญลักษณ์ต่างๆแทนตัว รวมไปถึงการใช้สัตว์แทนเช่นกัน (Shivendra Kadgaonkar, 2017: 105 - 109)

ประติมากรรม Naga Jataka (ที่มา:Shivendra Kadgaonkar, 2017: 106)

 

สัญลักษณ์ในท้องถิ่น

การนับถือผีและธรรมชาติเป็นความเชื่อพื้นฐานของมนุษย์ในแถบนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่าการทำรูปสัตว์สัญลักษณ์อาจเป้นแขนงหนึ่งของการนับถือธรรมชาติโดยการใช้สัตว์เป็นตัวแทนของธรรมชาติ ความเชื่อในการบูชาสัตว์ของผู้คนแถบนี้สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยก่อนยุคเหล็ก ดังเห็นได้จากภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่วาดเป็นรูปสัตว์หลากหลายชนิด เช่น วัว ควาย ช้าง ตัวเงินตัวทอง ตัวแลน กวาง ลิง เป็นต้น

 

แต่หลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่า สัตว์บางชนิดได้รับการบูชาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์นั้นปรากฏชัดอยู่บนกลางมโหระทึก ซึ่งสัตว์บนหน้ากลางมโหระทึกประกอบด้วยนก กบ หอย และช้าง

 

นอกจากนี้แล้วยังพบว่าผู้คนในแถบนี้ยังบูชางู เพราะงูนับได้ว่าเป็นสัตว์ที่อันตรายต่อชีวิตเป็นอย่างมาก จากการเคลื่อนไหวของงูที่ไม่มีเสียงและเงียบสงบรวมทั้งพิษอันร้ายแรงถึงตาย จึงทำให้หลบเลี่ยงอันตรายจากงูได้ยาก จึงเกิดการบูชางูขึ้นมาคล้ายคลึงกับการบูชาฟ้าฝนของมนุษย์ในอดีต เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ นอกจากนี้ในทางสากลแล้วงูถือเป็นสัญลักษณ์ของความอมตะ จากการลอกคราบที่เปรียบเหมือนการเกิดใหม่ซ้ำไปซ้ำมา ตัวอย่างเช่นในตำนานกรีกโบราณมีเทพชื่อแอสคลีเพียส เป็นเทพด้านการแพทย์มีไม้เท้าเป็นรูปงูพันรอบ และได้ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับหน่วยงานด้านการแพทย์ทั่วโลก (เข้าถึงได้จาก www.finearts.go.th/museumstorage/view/25394-งู)

 

สัญลักษณ์รูปไม้เท้าของเทพแอสคลีเพียส ที่เป็นตัวแทนของการแพทย์

(ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Caduceus)

 

นอกจากงูแล้วยังมีการบูชาจระเข้ และเสือด้วยเช่นกัน ซึ่งมีต้นเหตุไม่แตกต่างจากการบูชางูคือ การเป็นสัตว์ที่มีอันตรายสูงถึงชีวิตและอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของมนุษย์โดยสิ้นเชิง ทั้งจระเข้ที่เป็นสัตว์นักล่าที่พบได้ทั่วไปตามแม่น้ำทั่วทั้งแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเสือที่พบได้ทั่วไปภายในป่าเขตร้อนแถบนี้ ซึ่งทั้งป่าและแม่น้ำต่างเป็นพื้นที่สำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตทั้งสิ้น

 

เครื่องประดับรูปสัตว์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในไทย

การติดต่อกับอินเดียทำให้ผู้คนในภูมิภาคนี้มีการนำความเชื่อในการบูชาสัตว์ในศาสนาต่างๆ ของอินเดียเข้ามาใช้ด้วย หลักฐานดังกล่าวพบได้ในเครื่องประดับขนาดเล็กๆ แต่ในขณะเดียวกันการบูชาสัตว์พื้นเมืองก็ยังคงดำรงอยู่ ดังเห็นได้จากแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์มักพบกลองมโหระทึก และเครื่องประดับรูปสัตว์ที่ไม่พบในอินเดียด้วย

 

หลักฐานเกี่ยวกับการบูชาสัตว์ในไทยมักพบในแถบภาคใต้และภาคตะวันตกเช่น บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรีพบสิงโตทำจากหินคาร์เนเลียน (วสันต์ เทพสุริยานนท์, 2544) เขตท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบลูกปัดหินและแก้วรูปม้า นก เสือ และจระเข้ (สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562) สำหรับในประเทศเมียนมาร์พบในเขตภาคใต้ของประเทศโดยอยู่ในเขตของแหล่งโบราณชื่อ “Samon valley” ซึ่งถูกนับได้ว่าเป็นกลุ่มคนก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศเมียนมาร์ก่อนพัฒนากลายเป็นกลุ่มวัฒนธรรมปยู (Pyu) ในสมัยต่อมา ซึ่งใน Samon valley มีการพบเครื่องประดับรูปเสือ ทำจากหินคาร์เนเลียน (Bob Hudson, 2005: 59-79)

 

สิงโตคาร์เนเลียนที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร

 

จากแหล่งโบราณคดีที่ได้ยกตัวอย่างมาเห็นได้ว่าประเภทของสัตว์ ที่พบในแต่ละพื้นที่มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน เป็นไปได้หรือไม่ว่าการพบสัตว์ชนิดเดียวกันอย่าง “เสือ” จากหินคาร์เนเลียนพบทั้งในเขาสามแก้ว ท่าชนะ บ้านดอนตาเพชร Samon Valley แสดงถึงการนับถือในรูปแบบความเชื่อเดียวกันรวมถึงสภาพภูมิประเทศที่มักเป็นป่าแล้วอาจเกิดการบูชาเสือขึ้น นอกจากนี้ในวัฒนธรรมของชาวจีนยังถือว่าเสือเป็นตัวแทนของ “ผู้ชาย” ซึ่งในสุสานเมืองเหอผู่เมืองใกล้ชายฝั่งทะเลของจีนพบ “เสือ” ทำจากหินคาร์เนเลียน เช่นเดียวกับที่พบทั้งในไทยและเมียนมาร์ และในวัฒนธรรมดั้งเดิมของเวียดนาม “เสือ” ถือเป็นสัญลักษณ์ของพละกำลัง ความดุร้าย และความสง่างาม รวมทั้งยังถือว่าเสือเป็นผู้พิทักษ์ (https://en.wikipedia.org/wiki/Animal_worship) “เสือ” จึงอาจเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายภายในชุมชนที่มีบทบาทคอยออกล่าหาอาหาร และอาจมีหน้าที่คอยปกป้องชุมชน

 

อย่างไรก็ตามพื้นที่แถบคาบสมุทรทั้งท่าชนะ และเขาสามแก้ว กลับเป็นพื้นที่ที่พบสัตว์หลากหลายประเภททั้งจระเข้ เสือ นก กระต่าย ม้า และกวาง แตกต่างกับบ้านดอนตาเพชร หรือ Samon Valley ซึ่งอาจสอดคล้องกับคาบสมุทรเป็นพื้นที่สำหรับการติดต่อกับชุมชนภายนอกทางไกล และมีสถานะเป็นเมืองท่านานาชาติ ส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่จากคนหลากหลายแห่ง ทั้งจากคนในพื้นที่ดั้งเดิม พ่อค้าจากภายนอกที่เข้ามาค้าขาย หรือคนจากชุมชนอื่นที่มองเห็นช่องทางในการสร้างฐานะในแถบเมืองท่า จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการพบ “สัตว์” หลายประเภทสะท้อนถึงคนหลายกลุ่มภายในพื้นที่บริเวณดังกล่าว และอาจสะท้อนถึงสภาพภูมิประเทศด้วยเช่นกันอย่างลักษณะภูมิประเทศของเขาสามแก้วเป็นภูเขาติดแม่น้ำขนาดใหญ่ การมีสัญลักษณ์เป็นรูป “จระเข้” อาจเป็นการแทนถึงกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ จึงอาจเกิดการนับถือ “จระเข้” ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่ดุร้ายขึ้น

ลูกปัดหินและแก้วรูปสัตว์ที่พบในเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร

(ที่มา:สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562: 153)

 

ลูกปัดหินและแก้วรูปสัตว์ที่พบในท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(ที่มา:สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2562: 154)

 

สัตว์บางประเภทไม่ใช่สัตว์ดั้งเดิมของพื้นที่แถบนี้เช่น “ม้า” หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงการมีม้านั้นพบที่เก่าแก่ที่สุดที่เวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงสมัยหริภุญชัย ดังนั้นการพบสัญลักษณ์ของ “ม้า” ในแถบคาบสมุทรช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางประวัติศาสตร์นั้น อาจสรุปได้ว่าเป็นของจากคนภายนอกที่เข้ามาในพื้นที่เช่น พ่อค้าในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนที่เข้ามาค้าขายภายในแถบคาบสมุทร เนื่องจากจีนเป็นแหล่งของม้าที่ใกล้ที่สุดในแถบนี้ รวมทั้งมีบันทึกสมัยทวารวดีที่กล่าวถึงการนำเข้าม้าจากจีนด้วยเช่นกัน

 

นอกจากนี้สัตว์บางประเภทยังเชื่อมโยงกับความเชื่อของวัฒนธรรมภายนอกพื้นที่แถบนี้เช่น “กระต่าย” เนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมของคนในแถบนี้เกี่ยวกับ “กระต่าย” ไม่ชัดเจนมากนัก แต่หากอิงความเชื่อของชาวจีนเกี่ยวกับ “กระต่าย” กลับพบหลายเรื่องเช่น “กระต่าย” เป็นตัวแทนของนักษัตรลำดับที่ 4 คือปีเถาะตามปฏิทินจีน เป็นตัวแทนของเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ที่คอยปรุงยา และสัตว์เลี้ยงของเทพีฉางเอ๋อ เทพีแห่งดวงจันทร์ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าการพบสัญลักษณ์รูป “กระต่าย” อาจมาจากพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาในพื้นที่เช่นกัน

 

 

ภายหลังการเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดีย

สมัยทวารวดีคือช่วงที่ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียมาอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะทางด้านศาสนา จึงพบว่าสัตว์สัญลักษณ์ในรูปแบบของเครื่องประดับกลับเป็นหลักฐานที่พบน้อยลง สันนิษฐานว่าเนื่องจากการเข้ามาของศาสนาและสัญลักษณ์แบบใหม่ในรูปแบบของ “รูปเคารพ” เข้ามาแทนที่การใช้ “สัตว์” เป็นสัญลักษณ์ โดยหากย้อนกลับไปยังอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์-ฮินดูแล้ว พบว่าเริ่มมีการใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายมงคลต่างๆ บนสถาปัตยกรรม หรือในงานวรรณกรรมมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์แล้ว โดยมีผู้ศึกษาและจัดแบ่งการใช้สัญลักษณ์ของคนในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุว่ามีการใช้สอยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน (นันทนา ชุติวงศ์, 2564: 13-30) คือ

  1. ใช้ประกอบกับสัญลักษณ์ทางร่างกายของบุคคลสำคัญ ที่เรียกรวมกันว่า “มหาบุรุษ” ทั้งเทพเจ้า พระพุทธเจ้า บุคคลสำคัญ และบุคคลที่มีความเหนือมนุษย์คนอื่นๆ
  2. ลวดลายเครื่องประดับของเทพเจ้า และผู้มีภาวะเหนือมนุษย์คนอื่นๆ รวมทั้งวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทางธรรมชาติ เช่น พระแม่ธรณี และพญานาค เป็นต้น
  3. ใช้เป็นสื่อสำหรับการติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์

 

อย่างไรก็ตามบทบาทของ “สัตว์” สัญลักษณ์ไม่ได้หายไปจนหมดสิ้นแต่ถูกลดบทบาทลงเช่น กวาง ที่พบคู่กับเสาธรรมจักรอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือ งู ที่เป็นสัตว์คู่กับพระศิวะเป็นต้น ซึ่งลักษณะคล้ายคลึงกับการผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมของอินเดียภายหลังเกิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่นำเทพธรรมชาติดั้งเดิมหลอมรวมกับเทพฮินดู หรือในช่วงการเกิดศาสนาพุทธขึ้นมาได้มีการนำเทพฮินดูเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ เป็นต้น

 

 

 

 

 

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

เครื่องประดับรูปสัตว์ จีน อินเดีย ไทย เมียนมาร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความเชื่อ

รายการอ้างอิง

นันทนา ชุติวงศ์. “เครื่องหมายมงคลในวัฒนธรรมแบบทวารวดี”. ใน รวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2564.

 

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. ภววิทยาวัตถุ (Object-oriented ontology). เข้าถึงได้เมื่อ 1 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/287.

 

วสันต์ เทพสุริยานนท์. แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร : ผลการขุดค้นทางโบราณคดี. สุพรรณบุรี: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี. 2544.

 

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). สุวรรณภูมิ ภูมิอารยธรรมเชื่อมโยงโลก. กรุงเทพ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). 2562.

 

Bob Hudson. “A Pyu Homeland in the Samon Valley: a new theory of the origins of Myanmar's early urban system”. In Myanmar Historical Commission Conference Proceedings, Part 2. Universities Historical Research Centre, Yangon. 2005.

 

Josef Haekel. Totemism. เข้าถึงได้จาก

https://www.britannica.com/topic/totemism-religion.

จำนวนผู้เข้าชม

410

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

28 มี.ค. 2566