หน้าแรก Current Stories สงขลาในยุคแรกจากเพิงผาสู่ชายฝั่ง

สงขลาในยุคแรกจากเพิงผาสู่ชายฝั่ง

สงขลาในยุคแรกจากเพิงผาสู่ชายฝั่ง

เผยแพร่เมื่อ 10 ธ.ค. 2565
พิมพ์

โดย ธวัชชัย สินทอง

274

   สงขลานั้นมีร่องรอยการใช้ชีวิตของมนุษย์ไม่ได้เพิ่งเริ่มมาแค่ในช่วงสมัยอยุธยาบริเวณหัวเขาแดงโดยการปกครองของชาวมุสลิม หรือไม่ได้เพิ่งเริ่มขึ้นในช่วงต้นรัตนโกสินทร์โดยชาวจีนที่เข้ามาอาศัยบริเวณเมืองเก่าย่านบ่อยางเท่านั้น แต่พื้นที่ในสงขลายังพบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากรและนักวิจัยต่างๆ พบว่าแหล่งโบราณคดีที่มีอายุย้อนไปไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์หลายร้อย

 ร่อยรองของมนุษย์เก่าแก่ที่สุดคือช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ภายในพื้นที่จังหวัดสงขลาพบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยไปกว่า 42 แหล่งด้วยกัน พบอยู่ในเขตอำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะเดา และอำเภอรัตภูมิ สังเกตได้ว่าแหล่งโบราณคดีทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ห่างจากชายฝั่งมาก เพราะพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นถ้ำ เพิงผา และภูเขา เหมาะกับรูปแบบการอยู่อาศัยที่เคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา โดยใช้ถ้ำหรือเพิงผาเป็นที่กำบัง(Shelter) จากทั้งภัยทางธรรมชาติเช่นฝนตก หรือสัตว์ป่า นอกเหนือไปจากนี้แล้วมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ – สมัยต้นประวัติศาสตร์ยังมองด้วยว่าเพิงผาและถ้ำเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงพบว่าใช้เป็นพื้นที่ในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายอีกด้วย

  จากการขุดค้นโดยกรมศิลปากรนั้นมีแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำหลังวัดเขารูปช้างหมายเลข 1 ความพิเศษของแหล่งโบราณคดีดังกล่าวคือเป็นพื้นที่สำหรับการฝังศพของมนุษย์พบจำนวน 5 โครงสามารถแบ่งรูปแบบการฝังศพได้ 2 รูปแบบคือ

  1. การฝังศพภายในโลงไม้ พบจำนวน 2 โครง โลงไม้ที่พบทำจากไม้ต้นเดียว รูปทรงคล้ายกับความเชื่อเรื่อง “เรือส่งวิญญาณ” ที่พบในกลุ่มวัฒนธรรมชาวน้ำในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย รวมทั้งในกลุ่มวัฒนธรรมของคนแถบคาบสมุทรมาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย แหล่งโบราณคดีในแถบคาบสมุทรที่พบรูปแบบการฝังศพในลักษณะดังกล่าวเช่น ถ้ำกัวชาประเทศมาเลเซีย มีอายุราว 3,000 ปีมาแล้ว
  2. การฝังศพแบบงอตัว เป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกับรูปแบบการฝังศพที่พบในประเทศมาเลเซีย รู้จักกันในชื่อของ“มนุษย์เปรัค” มีอายุราว 9,000 – 10,000 ปีมาแล้ว โดยมักพบคู่กับเครื่องมือหินที่ชื่อว่า “โฮบินเนียน”ซึ่งในแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำหลังวัดเขารูปช้างหมายเลข 1 ได้พบเครื่องมือหินอยู่ร่วมกับการฝังศพเช่นกัน

   เมื่อราว 2,500 ปีที่แล้ว คนในพื้นที่สงขลาเริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอก ดังนั้นจึงทำให้ลูกปัดชนิดต่างๆทั้งลูกปัดดินเผา ลูกปัดแก้ว ลูกปัดเปลือกหอย ลูกปัดจากกระดูกสัตว์ และลูกปัดหินมีค่าเช่น หินควอตซ์ หินอาเกต และหินคาร์เนเลียนเป็นต้น  (พรทิพย์ วงศ์เสงี่ยม, ศิริพร สังข์หิรัญ และธนิสรา พุ่มผะกา: 2557, 160 – 165) ซึ่งลูกปัดกลุ่มหลังนี้นำเข้ามาจากอินเดียหรือ ศรีลังกา ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวนี้เราอาจเรียกว่า “สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์” จากแหล่งโบราณคดีที่พบหลักฐานเหล่านี้

    จากการสำรวจและขุดค้นของกรมศิลปากรพบว่า เกือบทั้งหมดพบบริเวณแนวชายฝั่งทะเลหรือบริเวณที่ถูกเรียกว่า  “สันทรายตะวันออก” ซึ่งบริเวณที่พบแหล่งโบราณคดีเริ่มตั้งแต่อำเภอระโนด จนถึงบริเวณของอำเภอสิงหนคร

   การพบร่องรอยของมนุษย์ในพื้นที่บริเวณใหม่นั้นสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทั้งวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนเป็นการตั้งถิ่นฐานถาวร และเริ่มเกิดการค้าทางทะเลระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ขึ้นมา บริเวณสันทรายตะวันออกจึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมเนื่องด้วยเป็นทั้งพื้นที่ราบและใกล้ชายฝั่ง

   จากการศึกษาของ Janice Stargardt นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญงานโบราณคดีในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้ามาขุดค้นบริเวณอำเภอระโนด จังหวัดสงขลาเมื่อปีค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) และได้ทำการศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่อำเภอสทิงพระ ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือการศึกษาเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม Janice Stargardt ได้กล่าวถึงพัฒนาการของระบบการทำเกษตรกรรมของมนุษย์ในแถบสทิงพระที่เริ่มพบร่องรอยตั้งแต่เกือบ 2,500 ปีมาแล้ว และพัฒนาเรื่อยมาจนสามารถควบคุมน้ำสำหรับเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 - 13 (พุทธศตวรรษที่ 10 – 19) (Janice Stargardt: 2526, 84)

  สำหรับการเป็นพื้นที่สำหรับการติดต่อกับกลุ่มวัฒนธรรมแห่งอื่น สามารถอธิบายได้จากการพบหลักฐานทางโบราณคดีเช่น แหล่งโบราณคดีโคกทอง อำเภอระโนด พบเครื่องประดับเช่น ลูกปัดแก้วและแหวนแก้วลักษณะเป็นแก้วแถบอาหรับ และลูกปัดเคลือบขาวจากจีน ลูกปัดมีตาเป็นชั้นหลายชั้น (Stratified Eye-Bead)จากโรมัน-อาหรับ เป็นต้น (พรทิพย์ วงศ์เสงี่ยม, ศิริพร สังข์หิรัญ และธนิสรา พุ่มผะกา: 2557)

ภาพลายเส้นแหวนที่พบในแหล่งโบราณคดีโคกทอง
(ที่มา: โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและสตูล)

 ในช่วงเวลานี้ยังพบการสร้างศาสนสถานภายใต้อิทธิพลความเชื่อจากอินเดียใต้อีกด้วย ที่สำคัญคือแหล่งโบราณคดีถ้ำเขาคูหา อำเภอสทิงพร ศาสนสถานถ้ำที่ขุดขึ้นด้วยฝีมือของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยมีอายุอยู่ในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 - 8 (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) พบประติมากรรมพระวิษณุ และศิวลึงค์ที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูภายในพื้นที่ของแหล่งโบราณคดี มีการสันนิษฐานว่ารูปแบบของศาสนสถานถ้ำแห่งนี้ได้รับอิทธิพลจากราชวงศ์ปัลลวะ (ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์ และบัณฑิต ทองอร่าม: มปป, 1 - 11) ซึ่งหลักฐานในกลุ่มนี้แสดงให้เห็นว่าบริเวณสันทรายตะวันออกเป็นบริเวณที่เกิดการติดต่อกับภายนอก ทั้งในด้านการค้า รวมไปถึงการติดต่อกับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนหรือรับวัฒนธรรมเข้ามา

บริเวณปากทางเข้าถ้ำเขาคูหา

  จากการนำเสนอเบื้องต้นเห็นได้ว่าร่องรอย หรือกล่าวได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ไม่ได้เพิ่งเริ่มมาในช่วงสมัยอยุธยาแต่สามารถย้อนไปได้ไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านพื้นที่การอยู่อาศัย
รูปแบบวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเรื่อยมา

  อย่างไรก็ตามการพบร่องรอยของมนุษย์ในแต่ละช่วงเวลาและพื้นที่ที่แตกต่างกัน ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นคนหรือกลุ่มบรรพบุรุษเดียวกันที่เกิดการเคลื่อนย้ายจากพื้นที่ตอนของแผ่นดินในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ สู่พื้นที่สันทรายตะวันออกตามแนวชายฝั่งทะเลช่วงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยเส้นแบ่งเขตแดนทั้งเขตแดนประเทศ เขตแดนจังหวัด หรือเขตแดนอำเภอเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยปัจจุบัน การพบร่องรอยของการเลือกใช้พื้นที่ของมนุษย์มีปัจจัยทั้งทางด้านธรรมชาติและปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ณ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ควบคุมการตัดสินใจของมนุษย์นั่นเอง

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

1. สงขลา 2. ยุคก่่อนประวัติศาสตร์ 3. สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ 4. Janice Stargardt 5. ราชวงศ์ปัลลวะ 6. ถ้ำเขาคูหา 7. แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำหลังวัดเขารูปช้างหมายเลข 1 8. มนุษย์เปรัค 9. โลงไม้ 10. เรือส่งวิญญาณ 11. สันทรายตะวันออก 12. ลูกปัดคาร์เนเลียน 13. Stratified Eye-Bead 14. ลูกปัดเคลือบขาว 15. ลูกปัดแก้ว 16. แหล่งฝังศพ

รายการอ้างอิง

พรทิพย์ วงศ์เสงี่ยม, ศิริพร สังข์หิรัญ และธนิสรา พุ่มผะกา. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่จังหวัด สงขลาและสตูล. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2557.

 

ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์ และบัณฑิต ทองอร่าม. เขาคูหา: หลักฐานใหม่จากการดำเนินงานทางโบราณคดี. สงขลา : สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10, มปป.

 

Janice Stargardt. Satingpra I : The Environmental and Economic Archaeology of South Thailand. Oxford : B.A.R., 1983

   สงขลานั้นมีร่องรอยการใช้ชีวิตของมนุษย์ไม่ได้เพิ่งเริ่มมาแค่ในช่วงสมัยอยุธยาบริเวณหัวเขาแดงโดยการปกครองของชาวมุสลิม หรือไม่ได้เพิ่งเริ่มขึ้นในช่วงต้นรัตนโกสินทร์โดยชาวจีนที่เข้ามาอาศัยบริเวณเมืองเก่าย่านบ่อยางเท่านั้น แต่พื้นที่ในสงขลายังพบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากรและนักวิจัยต่างๆ พบว่าแหล่งโบราณคดีที่มีอายุย้อนไปไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์หลายร้อย

 ร่อยรองของมนุษย์เก่าแก่ที่สุดคือช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ภายในพื้นที่จังหวัดสงขลาพบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยไปกว่า 42 แหล่งด้วยกัน พบอยู่ในเขตอำเภอสะบ้าย้อย อำเภอสะเดา และอำเภอรัตภูมิ สังเกตได้ว่าแหล่งโบราณคดีทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ห่างจากชายฝั่งมาก เพราะพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นถ้ำ เพิงผา และภูเขา เหมาะกับรูปแบบการอยู่อาศัยที่เคลื่อนย้ายอยู่ตลอดเวลา โดยใช้ถ้ำหรือเพิงผาเป็นที่กำบัง(Shelter) จากทั้งภัยทางธรรมชาติเช่นฝนตก หรือสัตว์ป่า นอกเหนือไปจากนี้แล้วมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ – สมัยต้นประวัติศาสตร์ยังมองด้วยว่าเพิงผาและถ้ำเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงพบว่าใช้เป็นพื้นที่ในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายอีกด้วย

  จากการขุดค้นโดยกรมศิลปากรนั้นมีแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำหลังวัดเขารูปช้างหมายเลข 1 ความพิเศษของแหล่งโบราณคดีดังกล่าวคือเป็นพื้นที่สำหรับการฝังศพของมนุษย์พบจำนวน 5 โครงสามารถแบ่งรูปแบบการฝังศพได้ 2 รูปแบบคือ

  1. การฝังศพภายในโลงไม้ พบจำนวน 2 โครง โลงไม้ที่พบทำจากไม้ต้นเดียว รูปทรงคล้ายกับความเชื่อเรื่อง “เรือส่งวิญญาณ” ที่พบในกลุ่มวัฒนธรรมชาวน้ำในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย รวมทั้งในกลุ่มวัฒนธรรมของคนแถบคาบสมุทรมาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย แหล่งโบราณคดีในแถบคาบสมุทรที่พบรูปแบบการฝังศพในลักษณะดังกล่าวเช่น ถ้ำกัวชาประเทศมาเลเซีย มีอายุราว 3,000 ปีมาแล้ว
  2. การฝังศพแบบงอตัว เป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกับรูปแบบการฝังศพที่พบในประเทศมาเลเซีย รู้จักกันในชื่อของ“มนุษย์เปรัค” มีอายุราว 9,000 – 10,000 ปีมาแล้ว โดยมักพบคู่กับเครื่องมือหินที่ชื่อว่า “โฮบินเนียน”ซึ่งในแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำหลังวัดเขารูปช้างหมายเลข 1 ได้พบเครื่องมือหินอยู่ร่วมกับการฝังศพเช่นกัน

   เมื่อราว 2,500 ปีที่แล้ว คนในพื้นที่สงขลาเริ่มมีการติดต่อกับสังคมภายนอก ดังนั้นจึงทำให้ลูกปัดชนิดต่างๆทั้งลูกปัดดินเผา ลูกปัดแก้ว ลูกปัดเปลือกหอย ลูกปัดจากกระดูกสัตว์ และลูกปัดหินมีค่าเช่น หินควอตซ์ หินอาเกต และหินคาร์เนเลียนเป็นต้น  (พรทิพย์ วงศ์เสงี่ยม, ศิริพร สังข์หิรัญ และธนิสรา พุ่มผะกา: 2557, 160 – 165) ซึ่งลูกปัดกลุ่มหลังนี้นำเข้ามาจากอินเดียหรือ ศรีลังกา ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวนี้เราอาจเรียกว่า “สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์” จากแหล่งโบราณคดีที่พบหลักฐานเหล่านี้

    จากการสำรวจและขุดค้นของกรมศิลปากรพบว่า เกือบทั้งหมดพบบริเวณแนวชายฝั่งทะเลหรือบริเวณที่ถูกเรียกว่า  “สันทรายตะวันออก” ซึ่งบริเวณที่พบแหล่งโบราณคดีเริ่มตั้งแต่อำเภอระโนด จนถึงบริเวณของอำเภอสิงหนคร

   การพบร่องรอยของมนุษย์ในพื้นที่บริเวณใหม่นั้นสอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทั้งวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนเป็นการตั้งถิ่นฐานถาวร และเริ่มเกิดการค้าทางทะเลระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ขึ้นมา บริเวณสันทรายตะวันออกจึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมเนื่องด้วยเป็นทั้งพื้นที่ราบและใกล้ชายฝั่ง

   จากการศึกษาของ Janice Stargardt นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญงานโบราณคดีในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้ามาขุดค้นบริเวณอำเภอระโนด จังหวัดสงขลาเมื่อปีค.ศ.1971 (พ.ศ.2514) และได้ทำการศึกษาทางโบราณคดีในพื้นที่อำเภอสทิงพระ ประเด็นที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือการศึกษาเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม Janice Stargardt ได้กล่าวถึงพัฒนาการของระบบการทำเกษตรกรรมของมนุษย์ในแถบสทิงพระที่เริ่มพบร่องรอยตั้งแต่เกือบ 2,500 ปีมาแล้ว และพัฒนาเรื่อยมาจนสามารถควบคุมน้ำสำหรับเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 - 13 (พุทธศตวรรษที่ 10 – 19) (Janice Stargardt: 2526, 84)

  สำหรับการเป็นพื้นที่สำหรับการติดต่อกับกลุ่มวัฒนธรรมแห่งอื่น สามารถอธิบายได้จากการพบหลักฐานทางโบราณคดีเช่น แหล่งโบราณคดีโคกทอง อำเภอระโนด พบเครื่องประดับเช่น ลูกปัดแก้วและแหวนแก้วลักษณะเป็นแก้วแถบอาหรับ และลูกปัดเคลือบขาวจากจีน ลูกปัดมีตาเป็นชั้นหลายชั้น (Stratified Eye-Bead)จากโรมัน-อาหรับ เป็นต้น (พรทิพย์ วงศ์เสงี่ยม, ศิริพร สังข์หิรัญ และธนิสรา พุ่มผะกา: 2557)

ภาพลายเส้นแหวนที่พบในแหล่งโบราณคดีโคกทอง
(ที่มา: โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์
และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลาและสตูล)

 ในช่วงเวลานี้ยังพบการสร้างศาสนสถานภายใต้อิทธิพลความเชื่อจากอินเดียใต้อีกด้วย ที่สำคัญคือแหล่งโบราณคดีถ้ำเขาคูหา อำเภอสทิงพร ศาสนสถานถ้ำที่ขุดขึ้นด้วยฝีมือของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยมีอายุอยู่ในช่วงราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 - 8 (พุทธศตวรรษที่ 12 – 14) พบประติมากรรมพระวิษณุ และศิวลึงค์ที่แสดงถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูภายในพื้นที่ของแหล่งโบราณคดี มีการสันนิษฐานว่ารูปแบบของศาสนสถานถ้ำแห่งนี้ได้รับอิทธิพลจากราชวงศ์ปัลลวะ (ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์ และบัณฑิต ทองอร่าม: มปป, 1 - 11) ซึ่งหลักฐานในกลุ่มนี้แสดงให้เห็นว่าบริเวณสันทรายตะวันออกเป็นบริเวณที่เกิดการติดต่อกับภายนอก ทั้งในด้านการค้า รวมไปถึงการติดต่อกับกลุ่มวัฒนธรรมอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนหรือรับวัฒนธรรมเข้ามา

บริเวณปากทางเข้าถ้ำเขาคูหา

  จากการนำเสนอเบื้องต้นเห็นได้ว่าร่องรอย หรือกล่าวได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ไม่ได้เพิ่งเริ่มมาในช่วงสมัยอยุธยาแต่สามารถย้อนไปได้ไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ผ่านการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านพื้นที่การอยู่อาศัย
รูปแบบวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเรื่อยมา

  อย่างไรก็ตามการพบร่องรอยของมนุษย์ในแต่ละช่วงเวลาและพื้นที่ที่แตกต่างกัน ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นคนหรือกลุ่มบรรพบุรุษเดียวกันที่เกิดการเคลื่อนย้ายจากพื้นที่ตอนของแผ่นดินในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ สู่พื้นที่สันทรายตะวันออกตามแนวชายฝั่งทะเลช่วงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยเส้นแบ่งเขตแดนทั้งเขตแดนประเทศ เขตแดนจังหวัด หรือเขตแดนอำเภอเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยปัจจุบัน การพบร่องรอยของการเลือกใช้พื้นที่ของมนุษย์มีปัจจัยทั้งทางด้านธรรมชาติและปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ณ ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นสิ่งที่ควบคุมการตัดสินใจของมนุษย์นั่นเอง

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

สงขลา ยุคก่่อนประวัติศาสตร์ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ Janice Stargardt ราชวงศ์ปัลลวะ ถ้ำเขาคูหา แหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำหลังวัดเขารูปช้างหมายเลข 1 มนุษย์เปรัค โลงไม้ เรือส่งวิญญาณ สันทรายตะวันออก ลูกปัดคาร์เนเลียน Stratified Eye-Bead ลูกปัดเคลือบขาว ลูกปัดแก้ว แหล่งฝังศพ

รายการอ้างอิง

พรทิพย์ วงศ์เสงี่ยม, ศิริพร สังข์หิรัญ และธนิสรา พุ่มผะกา. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่จังหวัด สงขลาและสตูล. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2557.

 

ศิริพร ลิ่มวิจิตรวงศ์ และบัณฑิต ทองอร่าม. เขาคูหา: หลักฐานใหม่จากการดำเนินงานทางโบราณคดี. สงขลา : สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 10, มปป.

 

Janice Stargardt. Satingpra I : The Environmental and Economic Archaeology of South Thailand. Oxford : B.A.R., 1983

จำนวนผู้เข้าชม

274

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

10 ธ.ค. 2565