หน้าแรก Current Stories ลพบุรีกับความเชื่อมโยงกับสุวรรณภูมิ

ลพบุรีกับความเชื่อมโยงกับสุวรรณภูมิ

ลพบุรีกับความเชื่อมโยงกับสุวรรณภูมิ

เผยแพร่เมื่อ 17 พ.ย. 2565
พิมพ์

โดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์

805

ช่วงเวลาก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 12 หรือก่อนหน้าวัฒนธรรมทวารวดี ในเขตลพบุรีนั้น ถือเป็นช่วงเวลาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม น่าตั้งคำถามว่า เราควรเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่หรือไม่ เพราะจากหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ชี้ให้เห็นว่า ลพบุรีได้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่ 2,500 ปีที่แล้ว

  

จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า ในเขตลุ่มน้ำป่าสักและอื่นๆ ในเขตลพบุรีพบชุมชนยุคเหล็กกระจายอยู่หลายแห่งด้วยกัน ที่สำคัญมี 3 อำเภอคือ อำเภอชัยบาดาล เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเนินอีแซว บ้านชัยบาดาล ในเขตอำเภอท่าหลวง เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านพุสง่า และในเขตอำเภอพัฒนานิยม เช่น บ้านเกาะพระแก้ว โนนหนองม้ามัน ตามแหล่งโบราณคดีเหล่านี้พบหลุมฝังศพหลายแห่ง ซึ่งตามร่างกายของศพมีการฝังข้าวของเครื่องใช้อุทิศให้กับผู้ตายด้วย ที่สำคัญคือเครื่องประดับชนิดต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นการติดต่อของชุมชนในขตลพบุรีกับบ้านเมืองต่างๆ ทั้งในประเทศไทย ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไกลถึงอินเดีย

 

ในหนังสือลูกปัดลพบุรี...ที่สุดพิเศษ เขียนโดยนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ตีพิมพ์เมื่อ 2559 ได้ช่วยทำให้เห็นถึงการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและนอกภูมิภาค อีกทั้งความร่ำรวยของคนในลพบุรีเมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้วอย่างน่าสนใจ ที่สำคัญ โบราณวัตถุประเภทลูกปัดนี้ หลายชนิดบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงกับการค้าของอินเดียที่เข้ามาทำการค้าในดินแดนสุวรรณภูมิ

 

เครื่องประดับที่พบทำมาจากวัสดุที่หลากหลาย สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ เครื่องประดับที่ทำจากหินกึ่งรัตนชาติ (Semi-precious stone) แก้ว และโลหะ

 

ในกลุ่มของหินกึ่งรัตนชาติพบว่าลูกปัดที่มาจากหินหลายชนิดได้แก่ คาร์เนเลียน (หินโมรา) อาเกต (หินโมกุล) หินควอตซ์ชนิดต่างๆ และหินหยกประเภทเนไฟรต์ (Nephrite)

 

ลูกปัดที่พบที่แหล่งโบราณคดีโคกเจริญ และอื่นๆ ในเขตลพบุรี จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

ลูกปัดคาร์เนเลียน อาเกต และอื่นๆ ที่พบในลพบุรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

 

ความน่าสนใจของคาร์เนเลียน (มีสีส้ม) อาเกต (เป็นสีน้ำตาลสลับชั้นสีขาว) คือเดิมทีเข้าใจกันว่าเป็นการนำเข้าวัตถุดิบมาจากอินเดีย แต่ผลจากการศึกษาของนักโบราณคดีชาวต่างชาติ Robert Theunissen, Peter Grave และ Grahame Bailey ในบทความเรื่อง “Doubts on Diffusion: Challenging the Assumed Indian Origin of Iron Age Agate and Carnelian Beads in Southeast Asia” เมื่อปี 2000 พบว่า ลูกปัดเหล่านี้มีทั้งที่วัตถุดิบนำเข้ามาจากอินเดียจากเมืองอริกาเมฑุ และเมืองลิโมดาร์ จากศรีลังกาที่เมืองอนุราธปุระ และอีกเป็นจำนวนมากพบว่ามาจากแหล่งหินที่เขาโมกุล จังหวัดลพบุรีนี้เอง

 

เครื่องประดับทำจากหยกพบที่ลพบุรี

หยกที่พบในลพบุรี  

 

ในส่วนของหินหยกประเภทเนไฟรต์ (Nephrite) นั้น ถือได้ว่าพบที่ลพบุรีเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับแหล่งโบราณคดีในพื้นที่อื่นๆ ปกติแล้วแหล่งของเนไฟรต์ (Nephrite) มีอยู่ที่เกาะไต้หวันมากที่สุด ในขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบไม่มากนัก Hsiao-Chun Hung, Yoshiyuki Iizuka, Peter Bellwood, and Jonathan H. Manton ในบทความเรื่อง “Ancient jades map 3,000 years of prehistoric exchange in Southeast Asia” ได้ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของเครื่องประดับหยกที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า ส่วนใหญ่แล้วแทบทั้งหมดมาจากไต้หวัน

 

ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำที่พบนลพบุรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

 

ในกลุ่มของลูกปัดแก้วนั้นมีหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือกลุ่มของลูกปัดแก้วขนาดเล็กที่เรียกกันว่า “ลูกปัดลม” ย่อมาจากลูกปัดลมสินค้า (Trade wind beads) เพราะพ่อค้าจากต่างถิ่นนำลูกปัดนี้เข้ามาขายตามฤดูลมมรสุม ลูกปัดนี้ผลิตจากแก้วซิลิกาที่อาจนำเข้ามาวัตถุดิบมาจากอินเดีย ศรีลังกา และภาคใต้ของไทย ผุสดี รอดเจริญ ได้ให้ข้อสังเกตว่า ลพบุรี-ลุ่มน้ำป่าสัก เป็นพื้นที่ที่พบความหลากหลายของลูกปัดมากที่สุดแห่งหนึ่ง แต่โดยมากแล้วสะท้อนว่าเป็นการผลิตภายในภูมิภาคนี้ และนำเข้ามาจากอินเดียกับศรีลังกา

 

กลุ่มสุดท้าย เครื่องประดับที่ทำจากโลหะที่สำคัญคือ เครื่องประดับสำริด ซึ่งพบเป็นเครื่องประดับสามัญที่นิยมมากในยุคเหล็กพบในหลายแหล่งโบราณคดี เช่น โป่งมะนาว ชัยบาดาล เป็นต้น ต่อมาเมื่อราว 2,000 ปีลงมาพบว่ามีความนิยมในการใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งพบในจำนวนไม่มาก

 

ปกติแล้ว ลูกปัดและเครื่องประดับต่างๆ ที่พบในลพบุรีนี้ ก่อนที่จะกลายเป็นของที่อุทิศให้กับผู้ตายนั้น เดิมทีใช้เป็นเครื่องประดับในชีวิตประจำวัน แน่นอนว่า เครื่องประดับพวกนี้มีวัตถุประสงค์ด้านหนึ่งเพื่อความงาม แต่เราควรตั้งคำถามว่า เครื่องประดับพวกนี้มีแง่มุมทางสังคมอื่นๆ อีกหรือไม่

 

จากปริมาณของเครื่องประดับที่พบในหลุมฝังศพและตามแหล่งโบราณคดีจำนวนมหาศาลย่อมสะท้อนว่า เป็นไปได้ว่าลพบุรีคงจะเป็นแหล่งผลิตลูกปัดหินคาร์เนเลียนและหินอาเกตส่งออกขายไปยังที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลทำให้ชุมชนที่ลพบุรีกระจุกตัวกันหนาแน่นในเขตภูเขาแถบลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งมีแหล่งหินชนิดนี้อยู่ ที่สำคัญคือ แหล่งหินที่เขาโมกุล จังหวัดลพบุรี ทางเหนือค่อนมาทางตะวันตกของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในขณะเดียวกันก็ติดต่อนำเข้าเครื่องประดับจากกลุ่มชาวน้ำที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเชียน อาจเป็นพวกจาม ทำให้พบหยกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว ชุมชนในลพบุรียังติดต่อทำการค้ากับชุมชนในเขตภาคใต้-ตะวันตก ทำให้พบลูกปัดลม ซึ่งอาจมาจากเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี, และเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร

 

ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงการค้าทางไกลที่เป็นแรงกระตุ้นทำให้เกิดชุมชนบ้านเมืองในยุคต้นของลพบุรี

 

 

 

 

 

 

รายการอ้างอิง

Hsiao-Chun Hung, Yoshiyuki Iizuka, Peter Bellwood, and Jonathan H. Manton. "Ancient jades map 3,000 years of prehistoric exchange in Southeast Asia," PNAS. 104 (50), 2007: 19745-19750. 

Robert Theunissen, Peter Grave and Grahame Bailey. "Doubts on Diffusion: Challenging the Assumed Indian Origin of Iron Age Agate and Carnelian Beads in Southeast Asia," World Archaeology. 32 (1), Archaeology in Southeast Asia (Jun., 2000): 84-105. 

ผุสดี รอดเจริญ. "การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย," Veridian E-Journal. 7 (3) (กันยายน – ธันวาคม). 2557: 171-181.  

ช่วงเวลาก่อนหน้าพุทธศตวรรษที่ 12 หรือก่อนหน้าวัฒนธรรมทวารวดี ในเขตลพบุรีนั้น ถือเป็นช่วงเวลาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม น่าตั้งคำถามว่า เราควรเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่าสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่หรือไม่ เพราะจากหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ชี้ให้เห็นว่า ลพบุรีได้พัฒนาขึ้นเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาตั้งแต่ 2,500 ปีที่แล้ว

  

จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า ในเขตลุ่มน้ำป่าสักและอื่นๆ ในเขตลพบุรีพบชุมชนยุคเหล็กกระจายอยู่หลายแห่งด้วยกัน ที่สำคัญมี 3 อำเภอคือ อำเภอชัยบาดาล เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเนินอีแซว บ้านชัยบาดาล ในเขตอำเภอท่าหลวง เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านพุสง่า และในเขตอำเภอพัฒนานิยม เช่น บ้านเกาะพระแก้ว โนนหนองม้ามัน ตามแหล่งโบราณคดีเหล่านี้พบหลุมฝังศพหลายแห่ง ซึ่งตามร่างกายของศพมีการฝังข้าวของเครื่องใช้อุทิศให้กับผู้ตายด้วย ที่สำคัญคือเครื่องประดับชนิดต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นการติดต่อของชุมชนในขตลพบุรีกับบ้านเมืองต่างๆ ทั้งในประเทศไทย ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไกลถึงอินเดีย

 

ในหนังสือลูกปัดลพบุรี...ที่สุดพิเศษ เขียนโดยนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ตีพิมพ์เมื่อ 2559 ได้ช่วยทำให้เห็นถึงการค้าทั้งในระดับภูมิภาคและนอกภูมิภาค อีกทั้งความร่ำรวยของคนในลพบุรีเมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้วอย่างน่าสนใจ ที่สำคัญ โบราณวัตถุประเภทลูกปัดนี้ หลายชนิดบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงกับการค้าของอินเดียที่เข้ามาทำการค้าในดินแดนสุวรรณภูมิ

 

เครื่องประดับที่พบทำมาจากวัสดุที่หลากหลาย สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ เครื่องประดับที่ทำจากหินกึ่งรัตนชาติ (Semi-precious stone) แก้ว และโลหะ

 

ในกลุ่มของหินกึ่งรัตนชาติพบว่าลูกปัดที่มาจากหินหลายชนิดได้แก่ คาร์เนเลียน (หินโมรา) อาเกต (หินโมกุล) หินควอตซ์ชนิดต่างๆ และหินหยกประเภทเนไฟรต์ (Nephrite)

 

ลูกปัดที่พบที่แหล่งโบราณคดีโคกเจริญ และอื่นๆ ในเขตลพบุรี จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

ลูกปัดคาร์เนเลียน อาเกต และอื่นๆ ที่พบในลพบุรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

 

ความน่าสนใจของคาร์เนเลียน (มีสีส้ม) อาเกต (เป็นสีน้ำตาลสลับชั้นสีขาว) คือเดิมทีเข้าใจกันว่าเป็นการนำเข้าวัตถุดิบมาจากอินเดีย แต่ผลจากการศึกษาของนักโบราณคดีชาวต่างชาติ Robert Theunissen, Peter Grave และ Grahame Bailey ในบทความเรื่อง “Doubts on Diffusion: Challenging the Assumed Indian Origin of Iron Age Agate and Carnelian Beads in Southeast Asia” เมื่อปี 2000 พบว่า ลูกปัดเหล่านี้มีทั้งที่วัตถุดิบนำเข้ามาจากอินเดียจากเมืองอริกาเมฑุ และเมืองลิโมดาร์ จากศรีลังกาที่เมืองอนุราธปุระ และอีกเป็นจำนวนมากพบว่ามาจากแหล่งหินที่เขาโมกุล จังหวัดลพบุรีนี้เอง

 

เครื่องประดับทำจากหยกพบที่ลพบุรี

หยกที่พบในลพบุรี  

 

ในส่วนของหินหยกประเภทเนไฟรต์ (Nephrite) นั้น ถือได้ว่าพบที่ลพบุรีเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับแหล่งโบราณคดีในพื้นที่อื่นๆ ปกติแล้วแหล่งของเนไฟรต์ (Nephrite) มีอยู่ที่เกาะไต้หวันมากที่สุด ในขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบไม่มากนัก Hsiao-Chun Hung, Yoshiyuki Iizuka, Peter Bellwood, and Jonathan H. Manton ในบทความเรื่อง “Ancient jades map 3,000 years of prehistoric exchange in Southeast Asia” ได้ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของเครื่องประดับหยกที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า ส่วนใหญ่แล้วแทบทั้งหมดมาจากไต้หวัน

 

ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำ จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

ลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำที่พบนลพบุรี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์

 

ในกลุ่มของลูกปัดแก้วนั้นมีหลายรูปแบบ ที่สำคัญคือกลุ่มของลูกปัดแก้วขนาดเล็กที่เรียกกันว่า “ลูกปัดลม” ย่อมาจากลูกปัดลมสินค้า (Trade wind beads) เพราะพ่อค้าจากต่างถิ่นนำลูกปัดนี้เข้ามาขายตามฤดูลมมรสุม ลูกปัดนี้ผลิตจากแก้วซิลิกาที่อาจนำเข้ามาวัตถุดิบมาจากอินเดีย ศรีลังกา และภาคใต้ของไทย ผุสดี รอดเจริญ ได้ให้ข้อสังเกตว่า ลพบุรี-ลุ่มน้ำป่าสัก เป็นพื้นที่ที่พบความหลากหลายของลูกปัดมากที่สุดแห่งหนึ่ง แต่โดยมากแล้วสะท้อนว่าเป็นการผลิตภายในภูมิภาคนี้ และนำเข้ามาจากอินเดียกับศรีลังกา

 

กลุ่มสุดท้าย เครื่องประดับที่ทำจากโลหะที่สำคัญคือ เครื่องประดับสำริด ซึ่งพบเป็นเครื่องประดับสามัญที่นิยมมากในยุคเหล็กพบในหลายแหล่งโบราณคดี เช่น โป่งมะนาว ชัยบาดาล เป็นต้น ต่อมาเมื่อราว 2,000 ปีลงมาพบว่ามีความนิยมในการใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งพบในจำนวนไม่มาก

 

ปกติแล้ว ลูกปัดและเครื่องประดับต่างๆ ที่พบในลพบุรีนี้ ก่อนที่จะกลายเป็นของที่อุทิศให้กับผู้ตายนั้น เดิมทีใช้เป็นเครื่องประดับในชีวิตประจำวัน แน่นอนว่า เครื่องประดับพวกนี้มีวัตถุประสงค์ด้านหนึ่งเพื่อความงาม แต่เราควรตั้งคำถามว่า เครื่องประดับพวกนี้มีแง่มุมทางสังคมอื่นๆ อีกหรือไม่

 

จากปริมาณของเครื่องประดับที่พบในหลุมฝังศพและตามแหล่งโบราณคดีจำนวนมหาศาลย่อมสะท้อนว่า เป็นไปได้ว่าลพบุรีคงจะเป็นแหล่งผลิตลูกปัดหินคาร์เนเลียนและหินอาเกตส่งออกขายไปยังที่ต่างๆ ซึ่งส่งผลทำให้ชุมชนที่ลพบุรีกระจุกตัวกันหนาแน่นในเขตภูเขาแถบลุ่มน้ำป่าสัก ซึ่งมีแหล่งหินชนิดนี้อยู่ ที่สำคัญคือ แหล่งหินที่เขาโมกุล จังหวัดลพบุรี ทางเหนือค่อนมาทางตะวันตกของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในขณะเดียวกันก็ติดต่อนำเข้าเครื่องประดับจากกลุ่มชาวน้ำที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเชียน อาจเป็นพวกจาม ทำให้พบหยกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว ชุมชนในลพบุรียังติดต่อทำการค้ากับชุมชนในเขตภาคใต้-ตะวันตก ทำให้พบลูกปัดลม ซึ่งอาจมาจากเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี, บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี, และเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร

 

ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงการค้าทางไกลที่เป็นแรงกระตุ้นทำให้เกิดชุมชนบ้านเมืองในยุคต้นของลพบุรี

 

 

 

 

 

 

รายการอ้างอิง

Hsiao-Chun Hung, Yoshiyuki Iizuka, Peter Bellwood, and Jonathan H. Manton. "Ancient jades map 3,000 years of prehistoric exchange in Southeast Asia," PNAS. 104 (50), 2007: 19745-19750. 

Robert Theunissen, Peter Grave and Grahame Bailey. "Doubts on Diffusion: Challenging the Assumed Indian Origin of Iron Age Agate and Carnelian Beads in Southeast Asia," World Archaeology. 32 (1), Archaeology in Southeast Asia (Jun., 2000): 84-105. 

ผุสดี รอดเจริญ. "การวิเคราะห์ลูกปัดแก้วจากเมืองโบราณสมัยทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย," Veridian E-Journal. 7 (3) (กันยายน – ธันวาคม). 2557: 171-181.  

จำนวนผู้เข้าชม

805

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

17 พ.ย. 2565