ผู้เขียน | วรวุธ สุวรรณฤทธิ์ |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบของประติมากรรมปูนปั้นแบบทวาราวดีที่บ้านคูบัว |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | โบราณคดี |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2530 (1987) |
จำนวนหน้า | 121 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ความเป็นมาของอาณาจักรทวารวดี
บทที่ 3 สภาพภูมิศาสตร์และประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณบ้านคูบัว
บทที่ 4 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่บ้านคูบัว
บทที่ 5 ประติมากรรมที่พบที่บ้านคูบัว
บทที่ 6 คติความเชื่อและอิทธิพลที่ได้รับ รูปแบบทางศิลปะและประโยชน์ใช้สอย
บทที่ 7 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ความเป็นมาของอาณาจักรทวารวดี
บทที่ 3 สภาพภูมิศาสตร์และประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณบ้านคูบัว
บทที่ 4 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่บ้านคูบัว
บทที่ 5 ประติมากรรมที่พบที่บ้านคูบัว
บทที่ 6 คติความเชื่อและอิทธิพลที่ได้รับ รูปแบบทางศิลปะและประโยชน์ใช้สอย
บทที่ 7 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบและคติความเชื่อของประติมากรรมปูนปั้นแบบทวารวดีที่บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในการศึกษาวิจัยได้ถ่ายภาพประติมากรรมปูนปั้นที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและในคลัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรี วัดโขลงสุวรรณคีรี ฯลฯ เนื้อหาของวิทยานิพนธ์แบ่งออกเป็น 7 บท ดังนี้ บทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของความสำคัญของการศึกษา ความมุ่งหมายและขอบเขตในการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงความเป็นมาของอาณาจักรทวารวดี บทที่ 3 กล่าวถึง สภาพภูมิศาสตร์และประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณบ้านคูบัว บทที่ 4 กล่าวถึง ลักษณะทางสถาปัตยกรรม บทที่ 5 กล่าวถึง ประติมากรรมที่พบในเมืองโบราณบ้านคูบัว บทที่ 6 กล่าวถึง คติความเชื่อ รูปแบบและประโยชน์ใช้สอย บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาถึงคติความเชื่อจากการศึกษาประติมากรรมปูนปั้นที่พบตามโบราณสถานต่าง ๆ ทำให้ทราบได้ว่า คนในเมืองโบราณบ้านคูบัวนับถือพุทธศาสนานิกายหินยาน และได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศอินเดียเหมือนกับแหล่งโบราณคดีสมัยเดียวกับในภาคกลางของไทย ผลการศึกษารูปแบบของประติมากรรม แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มรูปบุคคล เช่น พระพุทธรูป เทวดา ยักษ์ คนแคระ บุคคล 2. กลุ่มรูปสัตว์ 2.1 สัตว์ในนิยาย เช่น สิงห์ ครุฑ หงส์ 2.2 สัตว์จริง เช่น ช้าง งู ล่อหรือลา และห่าน 3. กลุ่มดอกไม้ เช่น ดอกบัว ดอกบานชื่น 4. กลุ่มลวดลายประดับสถาปัตยกรรม เช่น ลายเรขาคณิต ลายประดับหน้าคน ลายประดับมุม ลายพันธุ์พฤกษา ลายเปลว และลายประดับเสา ผลการศึกษาถึงประโยชน์ใช้สอย ทำให้ทราบว่าประติมากรรมปูนปั้นประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมเพื่อแก้ปัญหาบางประการทางรูปแบบภายนอกของสถาปัตยกรรม เช่น แก้ปัญหาความว่างเปล่าของพื้นที่ผนังในกรณีที่มีขนาดของพื้นผิวที่ราบและกว้างใหญ่เกินไป เป็นการสร้างความหมายที่มีความสัมพันธ์กับคติความเชื่อและมีจุดมุ่งหมาย ประติมากรรมที่พบส่วนมากไม่ทราบที่มาแต่จากการสันนิษฐานพบว่าใช้ประดับตกแต่งตามฐานโบราณสถานและบันไดทางขึ้นลง