หน้าแรก วิทยานิพนธ์ การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

ผู้เขียน อนุสรณ์ คุณประกิจ
ชื่อวิทยานิพนธ์ การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
มหาวิทยาลัย ศิลปากร
คณะ โบราณคดี
สาขาวิชา โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาโท
ปี 2529 (1986)
จำนวนหน้า 168
ภาษา ภาษาไทย
ที่มา ลิงก์ที่มา

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 ชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

บทที่ 3 ประวัติความเป็นมาของประติมากรรมดินเผาขนาดเล็ก

บทที่ 4 รูปแบบและเทคนิคของประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดี

บทที่ 5 การศึกษาและตีความเกี่ยวกับคติในการสร้างและบทบาทของประติมากรรมขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

บทที่ 6 บทสรุป

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ทวารวดี ภาคกลาง สุวรรณภูมิ ประติมากรรม เครื่องปั้นดินเผา

ยุคสมัย

ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

6

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

6 ม.ค. 2568

การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

  • การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
  • ผู้เขียน
    อนุสรณ์ คุณประกิจ

    ชื่อวิทยานิพนธ์
    การศึกษาคติและรูปแบบประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

    มหาวิทยาลัย
    ศิลปากร

    คณะ
    โบราณคดี

    สาขาวิชา
    โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

    ระดับการศึกษา
    ปริญญาโท

    ปี
    2529 (1986)

    จำนวนหน้า
    168

    ภาษา
    ภาษาไทย
  • สารบัญ
  • บทที่ 1 บทนำ

    บทที่ 2 ชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

    บทที่ 3 ประวัติความเป็นมาของประติมากรรมดินเผาขนาดเล็ก

    บทที่ 4 รูปแบบและเทคนิคของประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดี

    บทที่ 5 การศึกษาและตีความเกี่ยวกับคติในการสร้างและบทบาทของประติมากรรมขนาดเล็กสมัยทวารวดีที่พบบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

    บทที่ 6 บทสรุป


  • บทคัดย่อ
  • ประวัติของการทำประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กที่พบหลักฐานในไทย มีมานานกว่า 3.000 ปี โดยสร้างขึ้นเนื่องด้วยความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ เมื่อเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ สมัยทวารวดี ได้มีการสร้างประติมากรรมขนาดเล็กขึ้นทั้งในลักษณะที่เป็นประติมากรรมลอยตัวและเป็นประติมากรรมบนแผ่นดินเผา ประติมากรรมดินเผาสมัยทวารดวีแสดงออกถึงความแตกต่างเป็นอย่างมากกับประติมากรรมขนาดเล็กที่พบในสมัยต่าง ๆ ทั้งในด้านรูปแบบทางด้านศิลปกรรม เทคนิคการผลิตและคตินิยม ประติมากรรมเหล่านี้พบแพร่หลายในแหล่งโบราณคดีบริเวณภาคกลางในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และราชบุรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้คงเป็นศูนย์กลางการผลิตประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กในสมัยทวารวดี รูปแบบทางศิลปกรรมของประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กสมัยทวารวดีพบได้ใน 2 ลักษณะคือ 1. รูปแบบที่สร้างขึ้นตามลักษณะสกุลช่างทางศิลปะ ซึ่งเกิดจากการรับหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคืออารยธรรมอินเดีย ซึ่งได้แพร่เข้ามาสู่ภูมิภาคนี้อย่างแท้จริงเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-10 ทำให้อิทธิพลของศิลปกรรมแบบอินเดียได้เกิดขึ้นบนงานประติมากรรมขนาดเล็กนี้ด้วย แต่เป็นลักษณะที่ได้เกิดการคลี่คลายหรือดัดแปลงให้แตกต่างออกไปมากแล้ว คือ จะมีลักษณะคล้ายประติมากรรมขนาดใหญ่และภาพสลักร่วมสมัยทวารวดีเอง ซึ่งอาจเป็นการแสดงให้เห็นว่าประติมากรรมขนาดเล็กน่าที่จะได้รับอิทธิพล หรือเลียนแบบมาจากศิลปกรรมพื้นเมืองของท้องถิ่นเอง มากกว่าที่จะได้รับอิทธิพลจากอินเดียโดยตรง แต่รูปแบบทางศิลปกรรมก็ยังคงไว้ซึ่งแนวความคิดและต้นเค้าที่เป็นแบบอินเดีย 2. รูปแบบที่สร้างขึ้นจากภาพแห่งความรู้สึกเฉพาะตัว (Concept) อาจสร้างขึ้นจากอำนาจการสร้างสรรค์ส่วนบุคคล หรืออาจสร้างขึ้นจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่ตนไม่รู้ โดยจะมีลักษณะคล้ายก้อนดินที่ถูกนำมาทำให้มีรูปร่างต่าง ๆ กัน ซึ่งไม่อาจให้คำจำกัดความเพื่ออธิบายรูปร่างที่แน่นอนได้ ประติมากรรมเหล่านี้มีรูปแบบที่ไม่เป็นไปตามสกุลช่างทางศิลปกรรมและจากรูปแบบทางด้านศิลปกรรมของตัวมันเองแล้ว ไม่สามารถกำหนดอายุได้ (Ageless Type) เทคนิคในการทำมีทั้งการขึ้นรูปแบบอิสระโดยการปั้นด้วยมือและการขึ้นรูปด้วยพิมพ์ ซึ่งเทคนิคนี้คงเข้ามาพร้อมกับการเผยแพร่อารยธรรมอินเดีย ซึ่งประติมากรรมส่วนใหญ่ใช้เทคนิคนี้ สำหรับคติและจุดมุ่งหมายในการสร้างนั้นพบว่า มีทั้งคติที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและไม่เกี่ยวข้องกับคติศาสนา ประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับคติศาสนา ได้แก่ 1. คติความเชื่อในเรื่องโชคลาภ ความมั่งคั่งและความสมบูรณ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมในสมัยนั้นว่า เป็นสังคมแบบเกษตรกรรมและการค้า จะเห็นได้จากการนิยมนับถือเทพีลักษมีและเทพกุเวรรูปแบบต่าง ๆ ที่เชื่อกันว่าสามารถจะบันดาลให้เกิดโชคลาภ ความมั่งมีและความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้คนในชุมชนได้ 2. คติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชน หรืออิงแนวความเชื่อทางไสยศาสตร์ ประติมากรรมที่สร้างขึ้นในคติความมุ่งหมายนี้มักจะอยู่ในลักษณะที่เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นของอุทิศ (Votive offerings) ซึ่งพบในหลายลักษณะ 3. คติความเชื่อที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อแบบดั้งเดิม จะเห็นได้จากประติมากรรมกลุ่มที่มีรูปแบบเป็นนามธรรม ซึ่งโดยรูปแบบของตัวมันเองแล้วไม่มีความหมาย ประติมากรรมกลุ่มนี้จะเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้สร้าง อาจเป็นของเล่นเมื่อเด็กเป็นผู้ใช้ ในขณะเดียวกันอาจเป็นรูปเคารพถ้าผู้ใช้ให้การบูชาหรือนับถือ จากการศึกษาคติเหล่านี้ทำให้ทราบว่าแม้ลักษณะของคติเหล่านี้จะมีความแตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายของคติในการสร้างประติมากรรมดินเผาขนาดเล็กในสมัยทวารวดีเกือบทั้งหมดก็เป็นคติที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเดียวกันคือ เป็นคติที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ในชุมชน คือ ขอให้มีกิน มีใช้ สุขกาย สบายใจ และให้ชีวิตปลอดภัย ซึ่งจะเห็นได้ว่าคติเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมและสภาพสังคมในสมัยนั้น


    ห้องสมุดแนะนำ

    ลิงก์ที่มา

    ประเด็นสำคัญ
    ศาสนา, ศิลปะ,

    ยุคสมัย
    ทวารวดี

    คำสำคัญ
    ทวารวดี ภาคกลาง สุวรรณภูมิ ประติมากรรม เครื่องปั้นดินเผา


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 6 ม.ค. 2568
    จำนวนผู้เข้าชม : 6