หน้าแรก วิทยานิพนธ์ การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย

การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย

การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย

ผู้เขียน สุรสวัสดิ สุขสวัสดิ์, ม.ล.
ชื่อวิทยานิพนธ์ การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย
มหาวิทยาลัย ศิลปากร
คณะ โบราณคดี
สาขาวิชา โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาโท
ปี 2528 (1985)
จำนวนหน้า 403
ภาษา ภาษาไทย
ที่มา ลิงก์ที่มา

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การสร้างพระพิมพ์และพระพิมพ์ในดินแดนต้นกำเนิดพุทธศาสนา

บทที่ 3 พระพิมพ์จากภาคใต้ของประเทศไทยในพิพิธภัณฑ์ฑสถานแห่งชาติ 5 แห่ง

บทที่ 4 พระพิมพ์จากแหล่งโบราณคดีอื่นๆ บางแห่งซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบ

บทที่ 5 วิเคราะห์และเปรียบเทียบ

บทที่ 6 สรุป

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

พระพุทธศาสนา พระพิมพ์ ทวารวดี ศรีวิชัย พระพิมพ์ดินเผา

ยุคสมัย

ศรีวิชัย ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

7

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

6 ม.ค. 2568

การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย

  • การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย
  • ผู้เขียน
    สุรสวัสดิ สุขสวัสดิ์, ม.ล.

    ชื่อวิทยานิพนธ์
    การศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย

    มหาวิทยาลัย
    ศิลปากร

    คณะ
    โบราณคดี

    สาขาวิชา
    โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

    ระดับการศึกษา
    ปริญญาโท

    ปี
    2528 (1985)

    จำนวนหน้า
    403

    ภาษา
    ภาษาไทย
  • สารบัญ
  • บทที่ 1 บทนำ

    บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การสร้างพระพิมพ์และพระพิมพ์ในดินแดนต้นกำเนิดพุทธศาสนา

    บทที่ 3 พระพิมพ์จากภาคใต้ของประเทศไทยในพิพิธภัณฑ์ฑสถานแห่งชาติ 5 แห่ง

    บทที่ 4 พระพิมพ์จากแหล่งโบราณคดีอื่นๆ บางแห่งซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบ

    บทที่ 5 วิเคราะห์และเปรียบเทียบ

    บทที่ 6 สรุป


  • บทคัดย่อ
  • วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาพระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะพระพิมพ์ดินดิบแบบศิลปะทวารวดีและศรีวิขัย ซึ่งได้ค้นพบตามถ้ำเขาหินปูนในคาบสมุทรไทย ทั้งนี้เพื่อต้องการทราบถึงรูปแบบของพระพิมพ์และคตินิกายต่าง ๆ เนื่องในพุทธศาสนาที่นิยมกันในคาบสมุทรไทย ในช่วงเวลาที่ศิลปะทั้งสองสกุลกำลังเจริญอยู่ จากการศึกษาพระพิมพ์ 44 แบบ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 5 แห่ง ปรากฏว่าสามารถจัดกลุ่มพระพิมพ์ภาคใต้ได้ 4 กลุ่มคือ พระพิมพ์ที่มีรูปพระพุทธเจ้า พระพิมพ์ที่มีรูปพระโพธิสัตว์ พระพิมพ์ที่มีรูปเทพชั้นรอง และพระพิมพ์ที่มีรูปสถูป จากการวิเคราะห์เราสามารถกำหนดอายุพระพิมพ์ทั้ง 4 กลุ่มนี้ได้เป็น 2 ยุค โดยทั้งนี้ยังมีหลักฐานพระพิมพ์แบบอิทธิพบศิลปะอินเดียก่อนหน้านี้ราวพุทธศตวรรษที่ 10 หรือ 11 ถึงราวพุทธศตวรรษที่ 12 สำหรับพระพิมพ์ภาคใต้ 2 ยุคนั้น ยุคแรกได้แก่พระพิมพ์สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ทั้งพระพิมพ์สมัยทวารวดีและพระพิมพ์แบบอิทธิพลศิลปะอินเดียก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นถึงพุทธศาสนานิกายเถรวาท พุทธศาสนานิกายสรวาสติวาส และพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแพร่มาจากภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศอินเดีย ส่วนพระพิมพ์ยุคที่ 2 ได้แก่พระพิมพ์สมัยศรีวิชัยอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 ในระยะนี้แม้ว่าพุทธศาสนาทั้งสามนิกายจะยังคงเป็นที่นับถือกันต่อมา แต่อิทธิพลพุทธศาสนานิกายวัชรยานฝ่ายมหายานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและจากชวาภาคกลางก็เริ่มปรากฏเด่นชัดขึ้น พระพิมพ์ภาคใต้ของประเทศไทยทั้งสองยุคนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพิมพ์แบบทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย และพระพิมพ์แบบศรีวิชัยจากประเทศมาเลเซียและหมู่เกาะอินโดนีเซีย ขณะที่พระพิมพ์แบบทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์กับพระพิมพ์แบบทวารวดีในภาคกลางมากกว่าในภาคใต้ของประเทศไทย อย่างไรก็ตามพระพิมพ์ดินดิบจากคาบสมุทรไทย-มลายูก็มีคติการสร้างขึ้นเพื่อเป็นปรมัตถประโยชน์หรือเป็นการอุทิศแก่ผู้ตาย ต่างไปจากคติการสร้างพระพิมพ์เพื่อเป็นการสืบพระพุทธศาสนาของชุมชนทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย หรือคติการสร้างสถูปจำลองและพระพิมพ์ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นเพื่อพิธีทางศาสนาในหมู่เกาะอินโดนีเซีย สิ่งนี้นับเป็นเอกลักษณ์ของพระพิมพ์สมัยทวารวดีและสมัยศรีวิชัยในภาคใต้ ซึ่งอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากถ้ำเจติยสถานในภาคตะวันตกของประเทศอินเดียก็เป็น


    ห้องสมุดแนะนำ

    ลิงก์ที่มา

    ประเด็นสำคัญ
    การค้าทางไกล, ศาสนา, ศิลปะ, เครื่องประดับ,

    ยุคสมัย
    ศรีวิชัย ทวารวดี

    คำสำคัญ
    พระพุทธศาสนา พระพิมพ์ ทวารวดี ศรีวิชัย พระพิมพ์ดินเผา


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 6 ม.ค. 2568
    จำนวนผู้เข้าชม : 7