ผู้เขียน | อุษา โพธิกนิษฐ |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การศึกษารูปแบบและคติการนับถือพระกุเวรในสมัยทวารวดี |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | โบราณคดี |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2527 (1984) |
จำนวนหน้า | 162 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ลัทธิพื้นเมืองในอินเดีย
บทที่ 3 เทพกูเวรศาสนาฮินดู
บทที่ 4 ประติมากรรมเทพกุเวรและเทพชัมภล
บทที่ 5 รูปแบบและคตินับถือเทพกุเวรในประเทศไทย
บทที่ 6 สรุป
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ลัทธิพื้นเมืองในอินเดีย
บทที่ 3 เทพกูเวรศาสนาฮินดู
บทที่ 4 ประติมากรรมเทพกุเวรและเทพชัมภล
บทที่ 5 รูปแบบและคตินับถือเทพกุเวรในประเทศไทย
บทที่ 6 สรุป
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับคตินับถือและรูปแบบของเทพกุเวรในประเทศไทยสมัยทวารวดี โดยการศึกษาประวัติความเป็นมาของการนับถือและรูปแบบของเทพกุเวรในศาสนาฮินดู พุทธและเชนจากข้อมูลในตำราและเอกสารด้านศาสนา ประติมาณวิทยาและศิลปะ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลที่เป็นวัตถุ ซึ่งพบในไทยในระยะเวลาดังกล่าว ผลของการวิจัยพอสรุปได้ว่า เทพกุเวรเป็นเจ้าแห่งยักษ์ในลัทธิบูชายักษ์ ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพแห่งความมั่งคั่งและโลกบาล (เทพรักษาทิศ) ประจำทิศเหนือในศาสนาฮินดู ในพุทธศาสนาจัดให้เป็นเทพกุเวรเป็นบริวารของพระพุทธเจ้าและโลกบาลประจำทิศเหนือเช่นกัน เมื่อมีฐานะเป็นเทพแห่งความมั่งคั่งได้รับพระนามว่า เทพชัมภล ส่วนในศาสนาเชนนับถือเทพกุเวรเป็นบริวารของอรทัตองค์ที่ 19 ซึ่งมีชื่อว่า อวสรปิณิ คติการนับถือเทพกุเวรคงเข้ามาในไทยพร้อมกับอารยธรรมอินเดียที่แพร่หลายเข้าสู่ดินแดนอาเซียอาคเนย์ และผู้ที่นำเข้ามาคงได้แก่ พ่อค้าชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งหลักแหล่งในแถบนื้ ได้พบว่าในไทยรูปเทพกุเวรทำขึ้นตามคตินับถือ 2 แบบคือ แบบเทพแห่งความมั่งคั่งและแบบเทพรักษาทิศ รูปแบบเทพแห่งความมั่งคั่งในภาคกลาง ได้แก่ รูปเพกุเวรและรูปเทพชัมภลในภาคใต้ ในภาคกลางนิยมทำเหรียญดินเผา แสดงรูปเทพกุเวรเพียงองค์เดียวและเหรียญดินเผากับแผ่นดินเผาแบบสองหน้า แสดงรูปเทพกุเวรคู่กับคช-ลักษมี ซึ่งแบบหลังนี้ไม่เคยพบในอินเดียมาก่อนและพบเฉพาะในไทยเท่านั้น แต่ส่วนมากรูปเทพกุเวรและคช-ลักษมีที่ปรากฏอยู่บนเหรียญดินเผาหรือแผ่นดินเผา มีลักษณะแบบเดียวกับที่ปรากฏในศิลปะอินเดียแบบหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 14) นอกจากแผ่นดินเผาบางชิ้นมีรูปเทพกุเวรและคช-ลักษมีต่างออกไป ซึ่งคงเกิดจากการดัดแปลงของช่างพื้นเมือง ในทางใต้พบรูปเทพชัมภลทำเป็นประติมากรรมสำริดและแม่พิมพ์สำริดรูปเทพชัมภล แม่พิมพ์นี้คงใช้สำหรับหล่อรูปเทพชัมภลขนาดเล็กไว้บูชาเช่นเดียวกับพระพิมพ์ ทั้งรูปประติมากรรมสำริดและรูปเทพชัมภลที่หล่อออกจากแม่พิมพ์ มีลักษณะคล้ายรูปเทพชัมภลที่พบในศิลปะแบบชวาภาคกลาง (ราวพุทธศตวรรษที่ 15 ) และแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบปาละ ซึ่งเป็นต้นแบบ รูปเทพกุเวรที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยทำเป็นรูปเทพรักษาทิศเหนือประดับอยู่บนหลังคาปราสาทหินในศิลปะแบบลพบุรีและสลักรวมอยู่ในแท่งหินสลักรูปเทพ 9 องค์ แต่มีรูปแบบต่างจากเทพรักษาทิศในอินเดียอย่างสิ้นเชิง และจัดได้ว่ามีรูปแบบที่ทำตามแบบของศิลปะแบบขอมหรือแบบลพบุรี