ผู้เขียน | ภรดี พันธุภากร |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การศึกษาศิลปะแบบทวาราวดีในจังหวัดลำพูน |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | โบราณคดี |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2529 (1986) |
จำนวนหน้า | 314 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองลำพูน
บทที่ 3 หลักฐานทางด้านประติมากรรม
บทที่ 4 หลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรม
บทที่ 5 สรุป-วิเคราะห์
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองลำพูน
บทที่ 3 หลักฐานทางด้านประติมากรรม
บทที่ 4 หลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรม
บทที่ 5 สรุป-วิเคราะห์
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาศิลปะแบบทวารวดีในจังหวัดลำพูน คือ ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดี โดยนำมาศึกษาเปรียบเทียบกับศิลปะแบบทวารวดีเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจากการศึกษาประติมากรรมสามารถเปรียบเทียบและแสดงให้เห็นอิทธิพลของรูปแบบได้ 2 กลุ่ม คือ 1. ประติมากรรมที่เปรียบเทียบได้กับประติมากรรมแบบทวารวดีที่พบโดยทั่วไปในภาคกลางและกลุ่มที่มีลักษณะเทียบได้กับประติมากรรมสกุลช่างลพบุรี – อู่ทอง 2. กลุ่มประติมากรรมที่เปรียบเทียบได้กับประติมากรรมแบบทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนสถาปัตยกรรมนั้นที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยม (กู่กุด) และเจดีย์แปดเหลี่ยม วัดกู่กุด หรือวัดจามเทวี โดยที่สถาปัตยกรรมทั้ง 2 แห่งมีรูปแบบ แผนผัง เทคนิค การก่อสร้าง องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม พระพุทธรูปและลวดลายการตกแต่งที่ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมทวารวดีและลพบุรี แม้ว่าจะมีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมพุกาม ประเทศพม่าอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงรับอิทธิพลบางส่วนและมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างออกไปอย่างชัดเจน นอกจากนี้หลักฐานที่ช่วยสนับสนุนถึงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนโบราณที่ลำพูนกับชุมชนโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีทางภาคกลาง ได้แก่ หลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีในบริเวณเมืองลำพูน ซึ่งจากการศึกษาทั้งหมดทำให้เราสามารถกำหนดช่วงระยะเวลาของศิลปะที่ลำพูนหรือหริภุญไชยได้ดังนี้ คือ หริภุญไชยช่วงที่ 1 พุทธศตวรรษที่ 16 – 18 โดยมีอิทธิพลของศิลปะแบบทวารวดีผสมผสานกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น หริภุญไชยช่วงที่ 2 พุทธศตวรรษที่ 18 – 19 มีอิทธิพลของศิลปะแบบทวารวดีลพบุรีผสมผสานกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นและอิทธิพลจากแหล่งวัฒนธรรมเมืองพุกาม ประเทศพม่า ฉะนั้นหลักฐานทางด้านประติมากรรม สถาปัตยกรรม และหลักฐานบางส่วนจากการขุดค้นทางโบราณคดี จึงแสดงให้เห็นถึงศิลปกรรมที่ลำพูนว่ามีความสัมพันธ์กับศิลปะในวัฒนธรรมทวารวดีทางภาคกลาง หรือ เรียกได้ว่าศิลปะที่ลำพูนมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทวารวดี ทั้งยังเป็นการสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนจากภาคกลางมายังหริภุญไชยอีกด้วย