ผู้เขียน | ราศี บุรุษรัตนพันธุ์ |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | ความสำคัญของเมืองลพบุรีในฐานะเป็นแหล่งกระจายวัฒนธรรมทวาราวดี บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | โบราณคดี |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2529 (1986) |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การตั้งถิ่นฐานของชุมชนทวารวดีบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
บทที่ 3 พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองลพบุรี
บทที่ 4 วิเคราะห์ความเป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญของลพบุรีสมัยทวาราวดี
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะนำ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การตั้งถิ่นฐานของชุมชนทวารวดีบริเวณภาคกลางของประเทศไทย
บทที่ 3 พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองลพบุรี
บทที่ 4 วิเคราะห์ความเป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญของลพบุรีสมัยทวาราวดี
บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะนำ
ตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ และมานุษยวิทยา ได้เคยศึกษาค้นคว้าและเสนอข้อคิดเห็นไว้ว่าเมืองโบราณลพบุรี เป็นเมืองที่มีความสำคัญเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งในสมัยทวารวดี ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย และน่าจะเป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญทางวัฒนธรรมบริเวณที่ราบระหว่างด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำป่าสัก จากข้อเสนอแนะดังกล่าวผู้ศึกษาจึงได้รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความสำคัญของเมืองโบราณลพบุรีว่าจะมีบทบาทเป็นเมืองสำคัญและเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมทวารวดีของบริเวณนี้หรือไม่ อย่างไร จากการศึกษาในแง่พัฒนาการความเจริญของชุมชน สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและวัฒนธรรมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี พบว่าเมืองโบราณลพบุรีนี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะเป็นอย่างน้อย และมีความเจริญในวัฒนธรรมเป็นอยู่ในระดับสูง เนื่องจากมีสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์ประกอบกับสถานที่ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำสายใหญ่ ๆ และใกล้ทะเล จึงเป็นบริเวณที่ได้ติดต่อกับชุมชนภายนอกและมีโอกาสค้าขาย แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กับเอาวัฒนธรรมที่เจริญ เช่น วัฒนธรรมทางศาสนา ศิลปกรรม จึงสามารถพัฒนาชุมชนขึ้นมาเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ มีระบบสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่เจริญมั่นคงในระดับที่จะเป็นเมืองสำคัญทางวัฒนธรรมเมืองหนึ่งในสมัยทวารวดี และเมืองโบราณลพบุรีในสมัยทวารวดีคงจะมีความสำคัญในฐานะเมืองที่กระจายวัฒนธรรมให้กับเมืองโบราณและชุมชนโบราณเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ชุมชนบ้านท่าแค เมืองดงมะรุม เมืองพรหมทิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเมืองลพบุรีเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความเจริญทางวัฒนธรรมบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก เนื่องจากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักนี้ยังมีเมืองโบราณที่พบวัฒนธรรมสมัยทวารวดีซึ่งมีร่องรอยว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมอย่างยิ่งเช่นกัน เช่น เมืองศรีเทพในจังหวัดเพชรบูรณ์ เมืองซับจำปาในจังหวัดลพบุรี ซึ่งเมืองทั้งสองนี้คงเป็นเมืองสำคัญของวัฒนธรรมทวารวดีและมีความสำคัญในฐานะเมืองศูนย์กลางความเจริญในบริเวณนี้ด้วยเช่นกัน