หน้าแรก วิทยานิพนธ์ คติเรื่องช้างในพุทธศาสนาจากหลักฐานศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดี

คติเรื่องช้างในพุทธศาสนาจากหลักฐานศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดี

คติเรื่องช้างในพุทธศาสนาจากหลักฐานศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดี

ผู้เขียน สมชาติ มณีโชติ
ชื่อวิทยานิพนธ์ คติเรื่องช้างในพุทธศาสนาจากหลักฐานศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดี
มหาวิทยาลัย ศิลปากร
คณะ บัณฑิตวิทยาลัย
สาขาวิชา โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาโท
ปี 2524 (1981)
ภาษา ภาษาไทย
ที่มา ลิงก์ที่มา

สารบัญ

1.บทนำ

2.คติเรื่องช้าง

3.ศิลปกรรมรูปช้างที่เนื่องในศาสนา

4.ศิลปะโบราณวัตถุรูปช้างจากศิลปะแบบทวารวดี

5.บทสรุปและอภิปรายผล

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

ทวารวดี ศิลปกรรม คติความเชื่อ ช้าง

ยุคสมัย

ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

28

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

29 พ.ย. 2567

คติเรื่องช้างในพุทธศาสนาจากหลักฐานศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดี

  • คติเรื่องช้างในพุทธศาสนาจากหลักฐานศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดี
  • ผู้เขียน
    สมชาติ มณีโชติ

    ชื่อวิทยานิพนธ์
    คติเรื่องช้างในพุทธศาสนาจากหลักฐานศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดี

    มหาวิทยาลัย
    ศิลปากร

    คณะ
    บัณฑิตวิทยาลัย

    สาขาวิชา
    โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

    ระดับการศึกษา
    ปริญญาโท

    ปี
    2524 (1981)

    จำนวนหน้า

    ภาษา
    ภาษาไทย
  • สารบัญ
  • 1.บทนำ

    2.คติเรื่องช้าง

    3.ศิลปกรรมรูปช้างที่เนื่องในศาสนา

    4.ศิลปะโบราณวัตถุรูปช้างจากศิลปะแบบทวารวดี

    5.บทสรุปและอภิปรายผล


  • บทคัดย่อ
  • วัตถุประสงค์ของการศึกษา คติเรื่องช้างในพุทธศาสนาจากหลักฐานศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดีที่ได้เก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคบางจังหวัดรวม 6 แห่ง เป็นการค้นคว้าถึงคติเรื่องช้างและบทบาทของช้างที่มีปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งได้นำมาเป็นโครงเรื่องประกอบการสร้างศิลปกรรมที่เกี่ยวกับรูปช้างในศิลปะโบราณวัตถุแบบทวารวดี เนื้อหาของวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 5 บท บทแรก เป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง ตลอดจนวิธีการดำเนินการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงคติความเชื่อที่เกี่ยวกับเรื่องช้างโดยทั่วไป และคติเรื่องช้างในพุทธศาสนา บทที่ 3 เป็นการกล่าวถึงศิลปกรรมรูปช้างที่เนื่องในศาสนาที่ปรากฏในประเทศอินเดียและประเทศใกล้เคียง บทที่ 4 ศิลปะโบราณวัตถุรูปช้างจากศิลปะแบบทวารวดี ซึ่งได้กล่าวถึงทั้งรูปแบบทางศิลปกรรมและคติควบคู่กัน บทสุดท้ายเป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ ผลของการศึกษาทำให้ทราบว่าคติเกี่ยวกับเรื่องช้างในพุทธศาสนาที่ได้นำมาเป็นโครงเรื่องประกอบการสร้างศิลปกรรมรูปช้างจากศิลปะแบบทวารวดีมีแนวโน้มว่า ได้รับอิทธิพลทั้งทางด้านคติและรูปแบบทางศิลปกรรมมาจากประเทศอินเดีย โดยแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ ศิลปกรรมรูปช้างจากคติเรื่องช้างค้ำ ศิลปกรรมรูปช้างจากคติเรื่องช้างประจำทิศ ศิลปกรรมรูปช้างจากคติเรื่องช้างที่เป็นบริวารของเทพและเทพี ศิลปกรรมรูปช้างที่แสดงภาพเล่าเรื่องในพุทธศาสนา และศิลปกรรมรูปช้างแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้แสดงคติอย่างชัดเจน คติเรื่องช้างที่สำคัญและนิยมทำในศิลปะแบบทวารวดี คือ การทำรูปช้างที่แสดงภาพเล่าเรื่องในพุทธศาสนา โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับชาดกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการสร้างศิลปกรรมรูปช้างประจำทิศนั้นมีทั้งการทำตามคติเรื่องสัตว์ประจำทิศโดยมีช้างอยู่ประจำทิศตะวันออก และยังได้ทำตามคติเรื่องช้างประจำทิศทั้ง 8 ทิศ ที่เรียกว่า ช้างโลกบาล นอกจากนี้การทำศิลปกรรมรูปช้างที่เป็นบริวารของเทพและเทพีได้ทำตามคติที่ว่าช้างหมายถึงน้ำ โดยทำในรูปแบบของสัญญลักษณ์คชลักษมี และที่แปลกออกไปคือการทำสัญญลักษณ์คชลักษมีประดับไว้ที่วงธรรมจักร ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่พบในศิลปะแบบทวารวดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามรูปแบบทางศิลปะของรูปช้างจากศิลปะแบบทวารวดีตามที่ได้ทำการศึกษาครั้งนี้ ก็มีลักษณะรายละเอียดที่แตกต่างไปจากศิลปกรรมรูปช้างที่พบในประเทศอินเดียและประเทศใกล้เคียงอยู่บ้าง ทั้งนี้คงเป็นวิธีการถ่ายทอดรูปแบบทางศิลปะตามความเหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น


    ห้องสมุดแนะนำ

    ลิงก์ที่มา

    ประเด็นสำคัญ
    ศาสนา,

    ยุคสมัย
    ทวารวดี

    คำสำคัญ
    ทวารวดี ศิลปกรรม คติความเชื่อ ช้าง


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 29 พ.ย. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 28