ผู้เขียน | วิริยา อุทธิเสน |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | บัณฑิตวิทยาลัย |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
จำนวนหน้า | 247 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
1.บทนำ
2.ประวัติการสร้างพระพิมพ์
3.พระพิมพ์ดินเผาจากลุ่มแม่น้ำชีตอนล่าง
4.วิเคราะห์การตีความคติของการสร้าง
5.การเปรียบเทียบพระพิมพ์ดินเผาในลุ่มแม่น้ำชีกับพระพิมพ์ดินเผาจากโบราณคดีอื่นๆ
6.บทสรุป
1.บทนำ
2.ประวัติการสร้างพระพิมพ์
3.พระพิมพ์ดินเผาจากลุ่มแม่น้ำชีตอนล่าง
4.วิเคราะห์การตีความคติของการสร้าง
5.การเปรียบเทียบพระพิมพ์ดินเผาในลุ่มแม่น้ำชีกับพระพิมพ์ดินเผาจากโบราณคดีอื่นๆ
6.บทสรุป
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง โดยศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่พบในเมืองโบราณทั้ง 4 แหล่ง ในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง คือ เมืองจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้เพื่อต้องการทราบถึงรูปแบบและคติความเชื่อในการสร้างพระพิมพ์สมัยทวารวดีที่พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนกลางว่าได้รับอิทธิพลจากแหลางใดบ้าง ตลอดจนความแพร่หลายของพระพิมพ์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนกลางและชุมชนอื่น จากการศึกษาพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีในเมืองโบราณทั้ง 4 เมือง สามารถจัดกลุ่มพระพิมพ์ได้ 8 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางยมกปาฏิหาริย์ 2. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิ 3. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรก 4. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางประทับยืน 5. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางวิตรรกะมุทรา 6. พระพิมพ์ดินเผาปางอภัยมุทรา 7. พระพิมพ์ดินเผากลุ่มพระแผง 8. กลุ่มพระโพธิสัตว์ พระพิมพ์ดินเผาที่พบในชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลางแห่งนี้ ได้รับรูปแบบศิลปะมาจากศิลปะทวารวดีจากภาคกลางของประเทศไทยที่แผ่เข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ 13 และผสมผสานกับรูปแบบแบบเขมรและแบบท้องถิ่นจนบางพิมพ์เกิดเป็นลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นเอง คติในการสร้างพระพิมพ์เหล่านี้ก็มีเป็นคติจากพุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน แต่มีความนิยมในการนับถือแบบเถรวาทเป็นหลัก ซึ่งคล้ายกับวัฒนธรรมทวารวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พระพิมพ์เหล่านี้มีอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งภายหลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 นี้เอง รูปแบบการทำพระพิมพ์สมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลางก็ได้หายไป เนื่องจากอิทธิพลของวัฒนธรรมแบบเขมรที่เข้ามาอย่างชัดเจนเป็นผลให้วัฒนธรรมทวารวดีเสื่อมลง และพบว่าพระพิมพ์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมานั้น เป็นพระพิมพ์ที่ทำจากสำริด และมีคติการทำที่มาจากพุทธศาสนานิกายมหายานอย่างชัดเจน ส่วนจุดประสงค์ของการทำพระพิมพ์ก็เพื่อ เป็นการทำบุญและอุทิศส่วนกุศลอย่างหนึ่ง การทำพระพิมพ์นั้นก็ใช้เพื่อเป็นสื่อในการอนุโมทนาขอผลบุญและอุทิศส่วนกุศลให้บังเกิดผลไปตามจุดประสงค์ที่ผู้ที่ทำขึ้นนั้นได้หวังไว้ โดยนำไปอุทิศให้กับการสร้างศาสนาสถานคือ เจดีย์ต่าง ๆ คล้ายกับพระพิมพ์ดินเผาแบบทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทยที่มีคติการสร้างเพื่อสืบพระศาสนา