ผู้เขียน | ญาติมา ทองคำ |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การศึกษาเครื่องแก้วจากแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลในภาคใต้ของประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | บัณฑิตวิทยาลัย |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2552 (2009) |
จำนวนหน้า | 461 |
ภาษา | ภาษาไทย |
1.บทนำ
2.ประวัติความเป็นมาของเครื่องแก้ว (ภาชนะแก้ว)
3.เครื่องแก้วที่พบในแหล่งโบราณคดีภาคใต้ในประเทศไทย
4.เครื่องแก้วโบราณและการวิเคราะห์ตัวอย่างที่พบในประเทศไทย
5.วิเคราะห์และเปรียบเทียบ
6.สรุปและข้อเสนอแนะ
1.บทนำ
2.ประวัติความเป็นมาของเครื่องแก้ว (ภาชนะแก้ว)
3.เครื่องแก้วที่พบในแหล่งโบราณคดีภาคใต้ในประเทศไทย
4.เครื่องแก้วโบราณและการวิเคราะห์ตัวอย่างที่พบในประเทศไทย
5.วิเคราะห์และเปรียบเทียบ
6.สรุปและข้อเสนอแนะ
ในการศึกษาเรื่องเครื่องแก้วที่พบในแหล่งโบราณคดีเมืองท่าชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ของคาบสมุทรไทยนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมี แหล่งผลิต บทบาทหน้าที่ การกำหนดอายุของวัตถุที่พบ และสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งเป็นการยืนยันถึงการค้าในยุคอินโด-โรมัน ที่มีการติดต่อระหว่างซีกโลกตะวันตกและซีกโลกตะวันออก ซึ่งเป็นการนำเอากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ร่วมกับงานทางด้านโบราณคดี โดยแหล่งโบราณคดีที่พบเครื่องแก้ว มีทั้งสิ้น 7 แหล่ง ได้แก่ แหล่งโบราณคดี ภูเขาทอง , นางย่อน, ทุ่งตึก, คลองท่อม, เขาศรีวิชัย, ท่าชนะ (วัดอัมพาวาส) และแหลมโพธิ กระบวนการวิจัยนี้ได้ใช้การตรวจสอบโดยเครื่องสแกนนิ่งอิเล็กตรอนไมโครสโคปพร้อมด้วยอุปกรณ์ติดตั้งเอ็กซ์เรย์ (SEM-EDX) ธาตุองค์ประกอบสามารถแบ่งได้เป็นธาตุหลักและธาตุรอง มี 15 องค์ประกอบ ได้แก่ ซิลิกอน (Si), อลูมิเนียม (Al), แคลเซียม (Ca), โซเดียม (Na), โปรแตสเซียม (K), แมกนีเซียม (Mg), ไททาเนียม (Ti), ตะกั่ว (Pb), แมงกานีส (Mn), คอปเปอร์ (Cu), ดีบุก (Sn), โคบอลต์ (Co), โครเมียม (Cr), สังกะสี (Zn) และแบเรียม (Ba) ผลการศึกษาสามารถแบ่งกลุ่มภาชนะแก้วได้ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มแก้วโซดา, กลุ่มแก้วโปแตส, กลุ่มแก้วที่มีแคสเซียมสูง อลูมินาต่ำ และแก้วตะกั่ว ซึ่งสัมพันธ์กับแหล่งที่พบเครื่องแก้วทั้งซีกโลกตะวันออกและตะวันตก ดังนั้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเคมีของเครื่องแก้วทำให้สันนิษฐานได้ว่าแหล่งโบราณคดีเหล่านี้มีบทบาทเป็นเมืองท่าทางการค้ามาตั้งแต่สมัยยุคอินโด-โรมัน (พศต. 5-9) จนกระทั่งถึงสมัยประวัติศาสตร์ (พศต. 12-16) แสดงให้เห็นว่าเป็นเครือข่ายเส้นทางการค้าระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกซึ่งพบว่าสัมพันธ์กับยุโรป ตะวันออกกลาง อินเดียและจีน นอกจากการตรวจสอบระหว่างชิ้นส่วนภาชนะแก้ว เศษแก้ว และก้อนแก้ว พบว่ามีความเป็นไปได้ที่มีการนำชิ้นส่วนภาชนะแก้วกลับมาหลอมใหม่อีกครั้งเพื่อทำลูกปัดแก้ว