ผู้เขียน | กาญจนา การะเกตุ |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | พระโพธิสัตว์ที่พบในเมืองโบราณสมัยทวรวดี ที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | บัณฑิตวิทยาลัย |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2554 (2011) |
จำนวนหน้า | 166 |
ภาษา | ภาษาไทย |
1.บทนำ
2.เมืองโบราณสมัยทวารวดีและคติความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือพระโพธิสัตว์
3.หลักฐานการพบพระโพธิสัตว์ในเมืองโบราณสมัยทวารวดี
4.บทวิเคราะห์และสรุป
1.บทนำ
2.เมืองโบราณสมัยทวารวดีและคติความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือพระโพธิสัตว์
3.หลักฐานการพบพระโพธิสัตว์ในเมืองโบราณสมัยทวารวดี
4.บทวิเคราะห์และสรุป
มีวัตถุประสงค์เพื่อหาลักษณะทางประติมากรรม การกำหนดอายุของพระโพธิสัตว์เพื่อให้ทราบถึงคติความเชื่อตลอดจนการเคารพนับถือและการสร้าง เนื้อหาของสารนิพนธ์ฉบับนี้ แบ่งเป็น 4 บท บทแรกจะกล่าวถึงความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาและวิธีการดำเนินการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึง เมืองโบราณสมัยทวารวดีและคติความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือพระโพธิสัตว์ บทที่ 3 กล่าวถึงหลักฐานการพบพระโพธิสัตว์ในเมืองโบราณสมัยทวารวดี และร่องรอยของศาสนาพุทธมหายานในภูมิภาคตะวันตก บทที่ 4 กล่าวถึงการวิเคราะห์และสรุปผล ผลการวิจัย พบว่า 1. คติความเชื่อศาสนาพุทธมหายานในภาคใต้ ซึ่งเป็นสมัยศรีวิชัย (พุทะศตวรรษที่ 13-18) ได้แพร่หลายเข้ามาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ซึ่งช่วงนี้จัดเป็นศรีวิชัย 2. พระโพธิสัตว์ที่พบในจังหวัดสุพรรณบุรี เช่น พระโพธิสัตว์ปัทมปาณี เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศยามตารา 18 กร พระโพธิสัตว์โลกนาถ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระโพธิสัตว์มหาสถาปราปตะ ซึ่งเป็นสำริดทั้งหมด จังหวัดราชบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์วัชรปาณี พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ครึ่งองค์ ส่วนองค์ของพระโพธิสัตว์ เศียรของพระโพธิสัตว์ และเทวดาหรือพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นดินเผา ปูนปั้นและสำริด จังหวัดนครปฐม เช่น พระโพธิสัตว์เมตไตรย และเศียรพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นสำริดและปูนปั้น และจังหวัดเพชรบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระโพธิสัตว์กษิติครรภ์ ซึ่งเป็นปูนปั้น