ผู้เขียน | ปรานี แจ่มขุนเทียน |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การศึกษาเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | โบราณคดี |
สาขาวิชา | โบราณคดีประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2529 (1986) |
จำนวนหน้า | 198 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract)
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
สารบัญแผนที่ แผนผังและภาพ
สารบัญภาพลายเส้น
สารบัญตาราง
บทที่ 1 : บทนำ
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ขอบเขตของการวิจัย
- ข้อตกลงเบื้องต้น
- วิธีวิจัย
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
- นิยามศัพท์
- เชิงอรรถท้ายบทที่ 1
บทที่ 2 : แหล่งโบราณคดีเมืองนครไทย
- สภาพภูมิศาสตร์
- สภาพธรณีวิทยา
- เมืองนครไทยจากข้อมูลเอกสาร
- เมืองนครไทยจากข้อมูลการบอกเล่า
- เมืองนครไทยจากหลักฐานโบราณวัตถุสถาน
- เชิงอรรถท้ายบทที่ 2
บทที่ 3 : การสำรวจและการขุดค้นทางโบราณคดี
- ระยะเวลาทำกรสำรวจและการขุดค้นทางโบราณคดี
- คณะผู้สำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีเมืองนครไทย
- เทคนิคการขุดค้น
- วิเคราะห์ดินในหลุดขุดค้น PT I
- วิเคราะห์ดินในหลุดขุดค้น PT II
- หลักฐานโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น
- เชิงอรรถท้ายบทที่ 3
บทที่ 4 : การศึกษาเครื่องถ้วย
- การศึกษารูปแบบภาชนะ
- การศึกษารูปแบบส่วนปากภาชนะ
- การศึกษารูปแบบส่วนก้นภาชนะ
- การศึกษาการตกแต่งผิวภาชนะ
- การศึกษาเนื้อภาชนะดินเผา
- การศึกษารูปทรงสันนิษฐาน
- การวิเคราะห์และตีความ
- เชิงอรรถท้ายบทที่ 4
บทที่ 5 : บทสรุป
- ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติการศึกษา
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ (Abstract)
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
สารบัญแผนที่ แผนผังและภาพ
สารบัญภาพลายเส้น
สารบัญตาราง
บทที่ 1 : บทนำ
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ขอบเขตของการวิจัย
- ข้อตกลงเบื้องต้น
- วิธีวิจัย
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
- นิยามศัพท์
- เชิงอรรถท้ายบทที่ 1
บทที่ 2 : แหล่งโบราณคดีเมืองนครไทย
- สภาพภูมิศาสตร์
- สภาพธรณีวิทยา
- เมืองนครไทยจากข้อมูลเอกสาร
- เมืองนครไทยจากข้อมูลการบอกเล่า
- เมืองนครไทยจากหลักฐานโบราณวัตถุสถาน
- เชิงอรรถท้ายบทที่ 2
บทที่ 3 : การสำรวจและการขุดค้นทางโบราณคดี
- ระยะเวลาทำกรสำรวจและการขุดค้นทางโบราณคดี
- คณะผู้สำรวจและขุดค้นแหล่งโบราณคดีเมืองนครไทย
- เทคนิคการขุดค้น
- วิเคราะห์ดินในหลุดขุดค้น PT I
- วิเคราะห์ดินในหลุดขุดค้น PT II
- หลักฐานโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้น
- เชิงอรรถท้ายบทที่ 3
บทที่ 4 : การศึกษาเครื่องถ้วย
- การศึกษารูปแบบภาชนะ
- การศึกษารูปแบบส่วนปากภาชนะ
- การศึกษารูปแบบส่วนก้นภาชนะ
- การศึกษาการตกแต่งผิวภาชนะ
- การศึกษาเนื้อภาชนะดินเผา
- การศึกษารูปทรงสันนิษฐาน
- การวิเคราะห์และตีความ
- เชิงอรรถท้ายบทที่ 4
บทที่ 5 : บทสรุป
- ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติการศึกษา
งานวิจัยนี้จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอายุของเมือนครไทยภายในกำแพงเมืองโบราณ โดยการศึกษาเปรียบเทียบเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครไทยกับเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีอื่น ทางด้านรูปแบบ การตกแต่งผิวภาชนะ เนื้อภาชนะ และรูปทรง ทั้งที่มีสภาพสมบูรณ์และเกือบสมบูรณ์
ผู้วิจัยได้สำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีที่ชุมชนโบราณเมืองนครไทย พบเศษเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาศึกษารูปแบบส่วนต่างๆ และการตกแต่งผิวภาชนะ เช่น การเคลือบผิว การขัดผิว การตกแต่งผิวภาชนะด้วยลวดลายต่างๆ โดยศึกษาเนื้อภาชนะจากการคัดเลือกตัวอย่างเครื่องถ้วยส่งไปวิเคราะห์หาส่วนประกอบทางเคมี และอีกวิธีการหนึ่งทำการศึกษาเนื้อภาชนะรูปทรงภาชนะโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องถ้วยประเภทต่างๆ ทำให้ทราบถึงรูปทรงที่พบในแหล่งโบราณคดีที่เมืองนครไทย ศึกษาวิวัฒนาการของเครื่องถ้วยที่พบในทุกระดับชั้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และศึกษาเปรียบเทียบเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครไทยกับเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีในแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ที่ได้กำหนดอายุเครื่องถ้วยไว้แล้ว
ชั้นดินทางโบราณคดีแบ่งออกได้ 3 ชั้นที่อยู่อาศัย
ชั้นที่อยู่อาศัย 1 ศึกษาเปรียบเทียบเครื่องถ้วยจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองนครไทย กับเครื่องถ้วยศรีสัชนาลัยจากเตาที่ 9 เครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวจีนในสมัยราชวงศ์ซุงและเครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวของจีนในสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งมีอายุอยู่ในคริสตศตวรรษที่ 11 12-13 และ 13-14 ต่อเนื่องกันมาตามลำดับ แต่เครื่องถ้วยที่พบในระยะแรกมีอายุเก่ากว่า จึงจึดได่ว่าในชั้นที่อยู่อาศัยที่ 1 นี้เริ่มต้นเป็นชุมชนราวคริสตศตวรรษที่ 12 เรื่อยมาจนถึงคริสตศตวรรษที่ 13
ชั้นที่อยู่อาศัยที่ 2 เครื่องถ้วยที่ใช้เป็นหลักในการกำหนดอายุในชั้นนี้ คือเครื่องถ้วยเคลือบสีเขียวของจีน ในสมัยราชวงศ์หยวน รวมทั้งเครื่องเคลือบลายครามในสมัยราชวงศ์หมิงตอนต้น ซึ่งมีอายุอยู่ในคริสตศตวรรษที่ 13-15
ชั้นที่อยู่อาศัยที่ 3 ศึกษาเปรียบเทียบกับเครื่องเคลือบลายครามในสมัยราชวงศ์หมิง มีอายุอยู่ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15-17
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บริเวณที่ทำการขุดค้นครั้งนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนโบราณขนาดใหญ่ระดับเมืองที่มีความสัมพันธ์และมีวัฒนธรรมร่วมสมัยกับชุมชนโบราณเมืองศรีสัชนาลัยมาแล้วตั้งแต่ปีพุทธศตวรรษที่ 18 หรือเป็นชุมชนโบราณที่มีอายุตั้งแต่ปีพุทธศักราช 1700 เป็นต้นมา