ผู้เขียน | คงศักดิ์ งังเอี่ยมบุญ |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การศึกษาสภาพแวดล้อมของวัฒนธรรมดองซอนจากลวดลายบนกลองมโหระทึก |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | โบราณคดี |
สาขาวิชา | โบราณคดี |
ระดับการศึกษา | ปริญญาตรี |
ปี | 2540 (1997) |
จำนวนหน้า | 81 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
คำนำ
บทนำ
บทที่ 1 กลองมโหระทึกและวัฒนธรรมดองซอน
ความหมายและความเป็นมาของกลองมโหระทึก
รูปทรงและลักษณะกลองมโหระทึก
ส่วนผสมและเทคโนโลยีการผลิตกลองมโหระทึก
การจัดประเภทกลองมโหระทึก
วัฒนธรรมดองซอน
การแพร่กระจายของวัฒนธรรมดองซอน
กลองมโหระทึกในบริบททางสังคม
บทที่ 2 ภาพของสภาพแวดล้อมที่ปรากฏเป็นลวดลายบนกลองมโหระทึก
ระบบนิเวศธรรมชาติ
ภูมิหลังบางประการของสังคมดองซอน
ลักษณะสังคมบางประการ
ลวดลายต่าง ๆ กับสภาพแวดล้อม
ความสัมพันธ์ระหว่างกิริยาท่าทางของสิ่งมีชีวิตในวิถีธรรมชาติ
กลอง Ngoc Lu และการศึกษารายละเอียดของลวดลายบนกลอง
บทที่ 3 สรุปวิเคราะห์การศึกษาลวดลายกลองกับสภาพแวดล้อม
นิเวศวิทยาวัฒนธรรม
การปรับตัวของมนุษย์กับสภาพแวดล้อม
วิเคราะห์การปรับตัวของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมจากลวดลายบนกลอง
สรุป
บรรณานุกรม
คำนำ
บทนำ
บทที่ 1 กลองมโหระทึกและวัฒนธรรมดองซอน
ความหมายและความเป็นมาของกลองมโหระทึก
รูปทรงและลักษณะกลองมโหระทึก
ส่วนผสมและเทคโนโลยีการผลิตกลองมโหระทึก
การจัดประเภทกลองมโหระทึก
วัฒนธรรมดองซอน
การแพร่กระจายของวัฒนธรรมดองซอน
กลองมโหระทึกในบริบททางสังคม
บทที่ 2 ภาพของสภาพแวดล้อมที่ปรากฏเป็นลวดลายบนกลองมโหระทึก
ระบบนิเวศธรรมชาติ
ภูมิหลังบางประการของสังคมดองซอน
ลักษณะสังคมบางประการ
ลวดลายต่าง ๆ กับสภาพแวดล้อม
ความสัมพันธ์ระหว่างกิริยาท่าทางของสิ่งมีชีวิตในวิถีธรรมชาติ
กลอง Ngoc Lu และการศึกษารายละเอียดของลวดลายบนกลอง
บทที่ 3 สรุปวิเคราะห์การศึกษาลวดลายกลองกับสภาพแวดล้อม
นิเวศวิทยาวัฒนธรรม
การปรับตัวของมนุษย์กับสภาพแวดล้อม
วิเคราะห์การปรับตัวของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมจากลวดลายบนกลอง
สรุป
บรรณานุกรม
การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับกลองมโหระทึกที่แล้วมา ทั้งที่ปรากฏในรูปของบทความ (ชิน อยู่ดี พ.ศ. 2511), งานแปลจากเอกสารจีน (พรพรรณ เลาหศิรินาถ พ.ศ. 2524), รายงานการสำรวจและการศึกษาทางโบราณคดี (เขมชาติ เทพไชย พ.ศ. 2538), หนังสือ (สุจิตต์ วงเทศ พ.ศ. 2537) และ วิทยานิพนธ์ (เพ็ญพิมพ์ แก้วสุริยะ พ.ศ. 2517) เป็นต้น ผู้ศึกษาหลายท่านได้ให้ความสำคัญในเรื่องต่าง ๆ เช่น 1. ปัญหาการแบ่งประเภทและการกำหนดอายุ 2. ปัญหาที่ว่าด้วยแหล่งกำเนิดที่เก่าแก่ที่สุด 3. บทบาทหน้าที่ของกลอง มโหระทึกในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับพิธีกรรมเนื่องในความอุดมสมบูรณ์ของ ชีวิตและพืชผลโดยอาศัยข้อมูล ชาติพันธุ์ กลุ่มชนต่าง ๆ ที่ยังปรากฏหลักฐานการใช้กลอง มโหระทึกอยู่ในปัจจุบัน และ 4. การศึกษาในเรื่องเทคโนโลยี การหล่อ และวัตถุดิบ ฯลฯ การศึกษาข้างต้นนับว่าเป็นข้อมูลสำคัญต่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลองมโหระทึกและกระตุ้นให้เกิดการศึกษากว้างขวางยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีมุมบางประการที่อาจแฝงไว้ด้วยนัยทางสังคมของมนุษย์ในยุคนั้น อีกทั้งยังแสดงถึงภูมิปัญญาของมนุษย์ ผู้สร้างสรรค์วัฒนธรรมกลองสำริดที่เกิดมีขึ้นในชุมชนนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงคิดว่า การศึกษากลองมโหระทึกด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมอาจจะช่วยให้เข้าใจปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ด้านนี้มากยิ่งขึ้น โดยจะศึกษาลวดลายที่ปรากฏบนกลองมโหระทึก Heger 1 ที่พบในประเทศเวียดนาม ซึ่งอาจจะสะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมกับสังคมผู้ผลิตกลองสำริด ทั้งนี้จะให้ความสำคัญในเรื่องลวดลายของสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ด้วยยึดหลักที่ว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะแสดงความรู้สึก ความคิด และจินตนาการกับสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ซึ่งมีทั้งส่วนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรืออย่างที่เรียกว่า “ ระบบนิเวศตามธรรมชาติ” และส่วนที่เกิดขึ้น จากการสร้างสรรค์ของมนุษย์หรืออย่างที่เรียกว่า “ นิเวศวิทยาวัฒนธรรม”
เพื่อให้การทำความเข้าใจ สภาพแวดล้อมของมนุษย์จากเรื่องราวที่สะท้อนจากกลอง มโหระทึกกระจ่าง และมีหลักฐานประกอบน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าจะได้เน้นองค์ประกอบของระบบนิเวศจากศิลปะลวดลายบนกลองมโหระทึก อาทิ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ลายรูป พืชพันธุ์ สัตว์ชนิดต่าง ๆ รูปคน รูปบ้าน รูปเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องนุ่มห่ม และยานพาหนะ เป็นต้น
หลักฐานประเภทกลองมโหระทึกนี้ทำขึ้นจากโลหะสำริด มีความคงทน เสื่อมสลายช้า การแสดงความคิดจากจินตนาการสู่งานศิลปะผ่านลวดลายที่ปรากฏบนกลองมโหระทึกก็ เปรียบเสมือนบันทึกหรือจารึกบางอย่างที่น่าจะเป็นสื่อที่ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ของมนุษย์ในยุคนั้น ๆ ได้ และย่อมจะมีความชัดเจนน่าเชื่อถือพอสมควร แม้ว่ากลองมโหระทึกที่ พบอาจจะไม่ได้ผลิตขึ้นในท้องถิ่นนั้นก็ตาม