ผู้เขียน | นภวรรณ์ มีลักษณะ |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | ทวารวดีในประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย |
มหาวิทยาลัย | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
คณะ | ศิลปศาสตร์ |
สาขาวิชา | ประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2548 (2005) |
จำนวนหน้า | 192 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญตาราง
บทที่ 1 บทนำ
ความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
สมมติฐาน
ขอบเขตของการศึกษา
วิธีการศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 ทวารวดี: สมัยแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทย
2.1 การเปลี่ยนแปลงของการเขียนประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
2.2 "ทวารวดี" ในประวัติศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2467 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
2.2.1 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ให้กำเนิดอาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรแรกของประวัติศาสตร์ไทย
2.2.2 ยอร์ซ เซเดส์ ผู้สร้างองค์ความรู้ "ทวารวดี" ในประวัติศาสตร์ศิลปะ
2.2.3 กรมศิลปากรกับการสืบทอดแนวคิดเรื่องอาณาจักรและศิลปะสมัยทวารวดี
บทที่ 3 ทวารวดี: ข้อขัดแย้งทางประวัติศาสตร์
3.1 แนวทางการเขียนประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2490-ปัจจุบัน
3.1.1 แนวทางการเขียนประวัติศาสตรืแบบมาร์กซิสต์
3.1.2 แนวเศรษฐศาสตร์การเมือง
3.1.3 แนวมนุษยนิยม
3.1.4 แนวรัฐศาสตร์
3.1.5 แนวทฤษฎีความเจริญเติบโต
3.1.6 แนวมานุษยวิทยา
3.1.7 แนวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
3.2 ทวารวดี พัฒนาการของรัฐในสยาม
3.3 ทวารวดี ประวัติศาสตร์ยุคต้นของสยามประเทศ
3.4 บทบาทของเมืองโบราณและศิลปวัฒนธรรมในการเผยแพร่แนวคิดประวัติศาสตร์กระแสรอง
บทที่ 4 ทวารวดี: การเปลี่ยนแปลงด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ
4.1 ทวารวดี ความคลี่คลายจากประวัติศาสตร์ชาติสู่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม จากอาณาจักรทวารวดีสู่วัฒนธรรมทวารวดี พ.ศ. 2500- ปัจจุบัน
4.1.1 หลักฐานใหม่ที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี
4.1.2 ข้อเสนอใหม่เกี่ยวกับทวารวดีของนักวิชาการต่างประเทศ
4.1.3 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรกับการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้เรื่องทวารวดี
4.1.4 จากศิลปกรรมสมัยทวารวดีสู่วาทกรรมวัฒนธรรมทวารวดี
4.1.5 ศิลปะสมัยทวารวดีในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
4.2 ทวารวดีในประวัติศาสตร์ศิลปะกระแสรอง
4.2.1 แนวทางการศึกษาและระเบียบวิธีวิจัยของ พิริยะ ไกรฤกษ์
4.2.2 พัฒนาการของระเบียบวิธีวิจัยและการเรียกชื่อยุคสมัยทางศิลปะ
4.2.3 ศิลปกรรมที่มีอายุเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16
4.2.4 ข้อขัดแย้งในการเสนอเปลี่ยนการเรียกชื่อสมัยทวารวดี
บทที่ 5 บทสรุป
บรรณานุกรม
บทคัดย่อ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญตาราง
บทที่ 1 บทนำ
ความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
สมมติฐาน
ขอบเขตของการศึกษา
วิธีการศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 ทวารวดี: สมัยแรกของประวัติศาสตร์ชาติไทย
2.1 การเปลี่ยนแปลงของการเขียนประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
2.2 "ทวารวดี" ในประวัติศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2467 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
2.2.1 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ให้กำเนิดอาณาจักรทวารวดีเป็นอาณาจักรแรกของประวัติศาสตร์ไทย
2.2.2 ยอร์ซ เซเดส์ ผู้สร้างองค์ความรู้ "ทวารวดี" ในประวัติศาสตร์ศิลปะ
2.2.3 กรมศิลปากรกับการสืบทอดแนวคิดเรื่องอาณาจักรและศิลปะสมัยทวารวดี
บทที่ 3 ทวารวดี: ข้อขัดแย้งทางประวัติศาสตร์
3.1 แนวทางการเขียนประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2490-ปัจจุบัน
3.1.1 แนวทางการเขียนประวัติศาสตรืแบบมาร์กซิสต์
3.1.2 แนวเศรษฐศาสตร์การเมือง
3.1.3 แนวมนุษยนิยม
3.1.4 แนวรัฐศาสตร์
3.1.5 แนวทฤษฎีความเจริญเติบโต
3.1.6 แนวมานุษยวิทยา
3.1.7 แนวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
3.2 ทวารวดี พัฒนาการของรัฐในสยาม
3.3 ทวารวดี ประวัติศาสตร์ยุคต้นของสยามประเทศ
3.4 บทบาทของเมืองโบราณและศิลปวัฒนธรรมในการเผยแพร่แนวคิดประวัติศาสตร์กระแสรอง
บทที่ 4 ทวารวดี: การเปลี่ยนแปลงด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ
4.1 ทวารวดี ความคลี่คลายจากประวัติศาสตร์ชาติสู่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม จากอาณาจักรทวารวดีสู่วัฒนธรรมทวารวดี พ.ศ. 2500- ปัจจุบัน
4.1.1 หลักฐานใหม่ที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี
4.1.2 ข้อเสนอใหม่เกี่ยวกับทวารวดีของนักวิชาการต่างประเทศ
4.1.3 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรกับการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้เรื่องทวารวดี
4.1.4 จากศิลปกรรมสมัยทวารวดีสู่วาทกรรมวัฒนธรรมทวารวดี
4.1.5 ศิลปะสมัยทวารวดีในพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
4.2 ทวารวดีในประวัติศาสตร์ศิลปะกระแสรอง
4.2.1 แนวทางการศึกษาและระเบียบวิธีวิจัยของ พิริยะ ไกรฤกษ์
4.2.2 พัฒนาการของระเบียบวิธีวิจัยและการเรียกชื่อยุคสมัยทางศิลปะ
4.2.3 ศิลปกรรมที่มีอายุเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16
4.2.4 ข้อขัดแย้งในการเสนอเปลี่ยนการเรียกชื่อสมัยทวารวดี
บทที่ 5 บทสรุป
บรรณานุกรม
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้เรื่องทวารวดีผ่านงานเขียนทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ.2467-ปัจจุบัน
จากการศึกษาพบว่า องค์ความรู้เรื่องทวารวดีเกิดขึ้นภายใต้บริบทการเขียนประวัติศาสตร์ชาติอันต้องการค้นหาอดีตในดินแดนประเทศไทยที่มีความเก่าแก่กว่าสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 โดยมีสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้ให้กำเนิดอาณาจักรทวารวดีในฐานะที่เป็นอาณาจักรแรกสุดของดินแดนในประเทศไทย และมีราชธานีอยู่ที่นครปฐม และจากการพบโบราณวัตถุสถานในทางพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากซึ่งมีรูปแบบใกล้เคียงกับนครปฐมซึ่งเป็นราชธานี อันได้แก่ อยุธยา ราชบุรี นครสวรรค์พิษณุโลก ปราจีนบุรี และนครราชสีมา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า อาณาจักรทวารวดีมีอำนาจทางการเมืองครอบคลุมบริเวณจังหวัดต่างๆที่กล่าวข้างต้น นอกจากนี้การค้นพบโบราณวัตถุสถานในลักษณะเดียวกันในจังหวัดต่างๆข้างต้นจึงทำให้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและยอร์ช เซเดส์ เรียกโบราณวัตถุสถานในทางพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทที่อยู่ในบริเวณอาณาจักรทวารวดี ซึ่งมีรูปแบบใกล้เคียงกับที่พบที่นครปฐมซึ่งเชื่อว่าเป็นราชธานีนั้นว่า ศิลปะสมัยทวารวดี ดังนั้นศิลปะทวาราวดีจึงเป็นชื่อเรื่องที่ใช้เรียกโบราณวัตถุสถานที่ทำขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอันมีอายุเวลาเทียบเคียงได้กับศิลปะสมัยคุปตะของประเทศอินเดีย ด้วยเหตุนี้ทวารวดีจึงเป็นชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรหนึ่ง และแบบศิลปะทางพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
องค์ความรู้เรื่องทวารวดีที่กล่าวข้างต้นเป็นที่ยอมรับจากผู้ที่ศึกษาโบราณคดีทั้งไทยและต่างประเทศ และกลายเป็นกรอบโครงสำหรับผู้ที่ศึกษาโบราณคดีในยุคต่อจนถึงปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทยองค์ความรู้เรื่องทวารวดีของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและยอร์ช เซเดส์ ได้ถูกถ่ายทอดให้กับข้าราชการพิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนครอยู่ในสังกัดราชบัณฑิตยสภา โดยมีสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยได้โอนย้ายงานและข้าราชการจากราชบัณฑิตยสภามาอยู่ที่กรมศิลปากร ดังนั้นองค์ความรู้เรื่องทวารวดี ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและยอร์ช เซเดส์ จึงได้รับการสืบทอดต่อมายังกรมศิลปากร ต่อมาเมื่อกรมศิลปากรได้ก่อตั้งคณะโบราณคดีในมหาวิทยาลัยศิลปากรในพ.ศ 2498 เพื่อผลิตนักศึกษาเข้ารับราชการในกองโบราณคดี กรมศิลปากร กรอบความรู้เรื่องทวารวดีของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและยอร์ช เซเดส์ ก็ได้รักการถ่ายทอดจากคณาจารย์ซึ่งเป็นข้าราชการสังกัดกรมศิลปากรสู่นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรสืบมา
ต่อมาการศึกษาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยมีความก้าวหน้ามากขึ้นในช่วงทศวรรษ 2500 ทำให้องค์ความรู้เรื่องทวารวดีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงโดยที่อาณาจักรและศิลปะสมัยทวารวดีกลายเป็นรอยต่อของสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในทางโบราณคดี นอกจากนี้การขุดค้นแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีเช่น คูบัว ราชบุรี อู่ทอง สุพรรณบุรี โคกไม้เดน นครสวรรค์ และจันเสน นครสวรรค์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้เรื่องทวารวดี เช่น นครปฐมอาจไม่ใช่ราชธานีของอาณาจักรทวารวดีตั้งแต่เริ่มแรกเพราะผลการขุดค้นที่อู่ทองพบว่า อู่ทองมีอายุเวลาเก่าแก่กว่านครปฐม เป็นต้น ในช่วงทศวรรษ 2520 เป็นต้นมาที่เริ่มมีนักวิชาการอาชีพสาขาอื่นๆเข้ามาศึกษาเรื่องทวารวดี เช่น มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะ เป็นต้น โดยเฉพาะหลังทศวรรษ 2520 นักวิชาการทางมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์จะอธิบายทวารวดีในเชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ซึ่งทวารวดีจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพัฒนาการของการเกิดนัดในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 ส่วนในทางประวัติศาสตร์ศิลปะตามแนวทางการศึกษาของพิริยะ ไกรฤกษ์ ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะภายใต้แนวคิดการอธิบายภาพและการศึกษาหาเหตุผลในการสร้างภาพ โดยศิลปะในประเทศไทยส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นตามความเชื่อทางศาสนา ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางศาสนารูปแบบของศิลปะย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งทำให้พิริยะ ไกรฤกษ์ เปลี่ยนการเรียกชื่อแบบศิลปะในประเทศไทยที่มีมาแต่เดิมเปลี่ยนเป็นเรียกชื่อแบบศิลปะตามลัทธิ/นิกายที่โบราณวัตถุสถานนั้นสร้างขึ้นเช่น ศิลปะในลัทธิหีนยาน เป็นต้น ซึ่งตามทฤษฎีของพิริยะ ไกรฤกษ์ ศิลปะสมัยทวารวดีจะไม่มีอีกต่อไป
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงการอธิบายเรื่องทวารวดีในเชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ศิลปะในแง่มุมใหม่ก็ตาม ซึ่งกระแสดังกล่าวเป็นเพียงกระแสรอง โดยที่เป็นการรับรู้และถ่ายทอดในวงวิชาการระดับอุดมศึกษาเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบเท่าใดนักต่อคำอธิบายทวารวดีในประวัติศาสตร์กระแสหลักหรือในประวัติศาสตร์ชาติ จึงทำให้องค์ความรู้เรื่องทวารวดีในแนวประวัติศาสตร์ชาติยังคงดำรงอยู่ในสำนึกของประชาชนโดยทั่วไป โดยพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องทวารวดีออกไปสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ดังนั้นทวาราวดียังคงเป็นชื่อของอาณาจักร เป็นสมัยของประวัติศาสตร์และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ศิลปะสืบต่อไป