ผู้เขียน | อิสระ ชิติสรรค์กุล |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี |
มหาวิทยาลัย | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
คณะ | บัณฑิตวิทยาลัย |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2556 (2013) |
จำนวนหน้า | 187 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
สารบัญแผนภูมิ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จุดประสงค์ของการศึกษา
ขอบเขตของการศึกษา
วิธีการและขั้นตอนการศึกษาวิจัย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
แหล่งข้อมูล
พื้นที่ทำการศึกษา
บทที่ 2 ทบทวนวรรณ
ระบบชลประทานในอินเดียสมัยโบราณ
ระบบชลประทานศรีลังกาสมัยโบราณ
ระบบชลประทานประเทศพม่าในสมัยโบราณ
ระบบชลประทานกัมพูชาในสมัยโบราณ
การศึกษาระบบชลประทานบริเวณประเทศไทยในสมัยโบราณ
บทที่ 3 การศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี
เมืองโบราณที่ศึกษา 3 เมืองประกอบด้วย
เมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี
การศึกษาเรื่องการจัดการน้ำและระบบชลประทานในพื้นที่ศึกษาที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว
ทรัพยากรน้ำและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานในเมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
ทรัพยากรน้ำและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานในเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
ทรัพยากรน้ำและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานในเมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี
ข้อมูลและการศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี
เมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
ลักษณะทางกายภาพของเมืองดงละคร
การใช้สว่านเจาะดิน (Soil Auger) ในการศึกษา
เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
การศึกษาสิ่งก่อสร้างทางชลประทานที่พบในเมืองศรีมโหสถ
การศึกษาสระน้ำและบ่อน้ำ
สิ่งก่อสร้างภายในคูเมืองด้านทิศใต้
สิ่งก่อสร้างภายในคูเมืองด้านทิศเหนือ
การศึกษาคันดินโบราณหรือที่เรียกว่าถนนพระรถและถนนนางอมรเทวี
การใช้สว่านเจาะดิน (Soil Auger) ในการศึกษา
เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี
การวิเคราะห์พื้นที่และการสำรวจในปัจจุบัน
การใช้สว่านเจาะดิน (Soil Auger) ในการศึกษา
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี เมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี
การวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการจัดการน้ำในพื้นที่ศึกษากับการจัดการน้ำในพื้นที่อื่น ๆ
ลักษณะทางภูมิอากาศในอดีตและปัจจุบัน
ทักษะและความรู้ในเรื่องการจัดการน้ำ
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
รายการอ้งอิง
เอกสารภาษาไทย
เอกสารภาษาต่างประเทศ
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก GPS บนเครื่องมือแสดงผล Apple iPad 2
ภาคผนวก ข การวัดความสูงด้วยโปรแกรม Elevation Chart
ภาคผนวก ค การวัดสีของดิน
ภาคผนวก ง การวัดความเค็มในดิน
ภาคผนวก จ การวัดความเป็นกรด-ด่าง ของดิน
ภาคผนวก ฉ วิศวกรรมชลประทนที่เกี่ยวข้อง
ภาคผนวก ช ระบบน้ำใต้ดิน
ภาคผนวก ซ การศึกษาทางโบราณคดีโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ
ภาคผนวก ฌ ภาพถ่ายดาวเทียมจำลองลักษณะภูมิประเทศเชิงตัวเลข DEM (Digital elevation model)
ประวัติผู้วิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
สารบัญแผนภูมิ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จุดประสงค์ของการศึกษา
ขอบเขตของการศึกษา
วิธีการและขั้นตอนการศึกษาวิจัย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
แหล่งข้อมูล
พื้นที่ทำการศึกษา
บทที่ 2 ทบทวนวรรณ
ระบบชลประทานในอินเดียสมัยโบราณ
ระบบชลประทานศรีลังกาสมัยโบราณ
ระบบชลประทานประเทศพม่าในสมัยโบราณ
ระบบชลประทานกัมพูชาในสมัยโบราณ
การศึกษาระบบชลประทานบริเวณประเทศไทยในสมัยโบราณ
บทที่ 3 การศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี
เมืองโบราณที่ศึกษา 3 เมืองประกอบด้วย
เมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี
การศึกษาเรื่องการจัดการน้ำและระบบชลประทานในพื้นที่ศึกษาที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว
ทรัพยากรน้ำและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานในเมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
ทรัพยากรน้ำและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานในเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
ทรัพยากรน้ำและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทานในเมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี
ข้อมูลและการศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี
เมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
ลักษณะทางกายภาพของเมืองดงละคร
การใช้สว่านเจาะดิน (Soil Auger) ในการศึกษา
เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
การศึกษาสิ่งก่อสร้างทางชลประทานที่พบในเมืองศรีมโหสถ
การศึกษาสระน้ำและบ่อน้ำ
สิ่งก่อสร้างภายในคูเมืองด้านทิศใต้
สิ่งก่อสร้างภายในคูเมืองด้านทิศเหนือ
การศึกษาคันดินโบราณหรือที่เรียกว่าถนนพระรถและถนนนางอมรเทวี
การใช้สว่านเจาะดิน (Soil Auger) ในการศึกษา
เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี
การวิเคราะห์พื้นที่และการสำรวจในปัจจุบัน
การใช้สว่านเจาะดิน (Soil Auger) ในการศึกษา
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี เมืองดงละคร จังหวัดนครนายก
การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
การวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาการจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี
การวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบการจัดการน้ำในพื้นที่ศึกษากับการจัดการน้ำในพื้นที่อื่น ๆ
ลักษณะทางภูมิอากาศในอดีตและปัจจุบัน
ทักษะและความรู้ในเรื่องการจัดการน้ำ
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
รายการอ้งอิง
เอกสารภาษาไทย
เอกสารภาษาต่างประเทศ
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก GPS บนเครื่องมือแสดงผล Apple iPad 2
ภาคผนวก ข การวัดความสูงด้วยโปรแกรม Elevation Chart
ภาคผนวก ค การวัดสีของดิน
ภาคผนวก ง การวัดความเค็มในดิน
ภาคผนวก จ การวัดความเป็นกรด-ด่าง ของดิน
ภาคผนวก ฉ วิศวกรรมชลประทนที่เกี่ยวข้อง
ภาคผนวก ช ระบบน้ำใต้ดิน
ภาคผนวก ซ การศึกษาทางโบราณคดีโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ
ภาคผนวก ฌ ภาพถ่ายดาวเทียมจำลองลักษณะภูมิประเทศเชิงตัวเลข DEM (Digital elevation model)
ประวัติผู้วิจัย
การศึกษาเรื่อง “การจัดการน้ำในภาคตะวันออกของประเทศไทยในสมัยทวารวดี” ได้เลือกพื้นที่ศึกษาเมืองโบราณในสมัยทวารวดี จำนวน 3 เมือง คือ เมืองดงละครจังหวัดนครนายก เมืองศรีมโหสถจังหวัดปราจีนบุรี และเมืองพระรถจังหวัดชลบุรี โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะภูมิประเทศของเมืองโบราณในสมัยทวารวดีว่ามีความสอดคล้องกับการจัดการน้ำในสมัยโบราณอย่างไร และศึกษารูปแบบหรือระบบที่ใช้ในการจัดการน้ำในสมัยโบราณว่าจะทำงานอย่างไรโดยได้ใช้ข้อมูลด้านต่าง ๆ มาประกอบการศึกษา เช่น ข้อมูลความสูงและลักษณะพื้นที่จากภาพถ่ายดาวเทียม แผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ และการตรวจวัดภาคสนาม นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่อันเกิดจากการกระทำของน้ำ เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์และประมวลผลจึงได้ข้อสรุปที่ว่า เมืองโบราณในแต่ละแห่งนั้นได้มีการสร้างระบบการจัดการน้ำหรือการลงประทานของแต่ละเมืองที่แตกต่างกันไปตามลักษณะทางภูมิประเทศและขนาดของแต่ละเมือง โดยลักษณะภูมิประเทศของเมืองในพื้นที่ศึกษานี้จะมีลักษณะร่วมที่คล้ายกันคือ มีที่ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าพื้นที่ราบโดยรอบที่เป็นพื้นที่ราบที่มีน้ำท่วมตามฤดูกาล และการอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำท่วมถึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ผู้คนในสมัยทวารวดีจึงได้สร้างสิ่งก่อสร้างทางชลประทานเพื่อใช้ในการจัดการน้ำให้ไหลไปในทิศทางที่ต้องการในขณะที่ปริมาณน้ำมีมาก และสร้างสิ่งก่อสร้างเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในยามขาดแคลน นอกจากนี้ยังพบข้อมูลเพิ่มเติมจากการศึกษาในเรื่องระดับน้ำใต้ดินนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อสิ่งก่อสร้างเพื่อการชลประทานในสมัยก่อน โดยน้ำใต้ดินในบริเวณพื้นที่ราบด้านล่างใกล้กับเมืองโบราณต่าง ๆ นั้นจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำในบ่อน้ำหรือสิ่งก่อสร้างทางชลประทานอื่น ๆ บริเวณเมืองโบราณ การศึกษาในเรื่องวิศวกรรมอุทกวิทยานั้นได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ของน้ำผิวดินที่ไหลลงสู่ใต้ดินในบริเวณพื้นที่สูงจะเคลื่อนตัวลงสู่พื้นที่ต่ำกว่าเสมอ แต่จะช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับระดับน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินในพื้นที่ราบที่จะผลักดันระดับน้ำในพื้นที่สูงให้คงตัวอยู่ได้ ดังนั้นเมื่อข้อมูลความสูงและลาดเทของเมืองโบราณที่ศึกษา ข้อมูลด้านวิศวกรรมอุทกวิทยาและการศึกษาถึงระดับน้ำทะเลสมัยโบราณมาพิจารณาเปรียบเทียบกับ สภาวะความแห้งแล้งบริเวณเมืองโบราณที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จึงได้ข้อสันนิษฐานว่าสิ่งก่อสร้างทางชลประทานเพื่อใช้ในการจัดการน้ำที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดีนั้นจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับสภาวะปริมาณน้ำที่เหมาะสมในอดีต เพราะระดับน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินในอดีตนั้นมีปริมาณที่สูงกว่าในปัจจุบันตามระดับน้ำทะเลในสมัยโบราณ ผลการศึกษาที่ได้จากการเปรียบเทียบรูปแบบและองค์ความรู้ที่นำมาใช้ในการก่อสร้างระบบการจัดการน้ำในเมืองโบราณภาคตะวันออกของประเทศไทยสมัยทวารวดี มีความสอดคล้องกับผลการศึกษาในด้านอื่น ๆ ของสมัยทวารวดีที่บ่งชี้ว่าวัฒนธรรมในสมัยทวารวดีนั้นได้รับอิทธิพลด้านรูปแบบและแนวคิดมาจากกลุ่มคนที่เคยอาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำ กฤษณา-โคทาวรี นำมาถ่ายทอดให้ผู้คนในสมัยทวารวดีและชาวทวารวดีได้นำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศของตน