หน้าแรก วิทยานิพนธ์ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก

ผู้เขียน สัมฤทธิ์ สุขเมือง
ชื่อวิทยานิพนธ์ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะ บัณฑิตวิทยาลัย
สาขาวิชา โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
ระดับการศึกษา ปริญญาโท
ปี 2531 (1988)
จำนวนหน้า 120
ภาษา ภาษาไทย
ที่มา ลิงก์ที่มา

สารบัญ

บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
สารบัญภาพ
สารบัญแผนผัง
สารบัญตาราง

บทที่ 1 บทนำ
     ความสำคัญของปัญหา
     วัตถุประสงค์ของการวิจัย
     ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
     ขอบเขตการวิจัย
     รูปแบบการวิจัย
     วิธีการดำเนินงาน
     
บทที่ 2 การตรวจเอกสาร
     องค์ประกอบการตั้งถิ่นฐาน
     มนุษย์และหลักเกณฑ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง
        รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน
        ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
     มนุษย์กับแหล่งทำกินและสิ่งแวดล้อม
     ปัจจัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน
        แหล่งน้ำ
        พื้นดิน
        ภูมิประเทศ
        ทรัพยากรธรรมชาติ
     มนุษย์และพฤติกรรมของมนุษย์
     ประวัติการสำรวจและการขุดค้นเมืองดงละคร เมืองศรีมโหสถ และเมืองพระรถโดยย่อ
        ประวัติการขุดค้นเมืองดงละครและโบราณวัตถุที่พบ 
        ประวัติการสำรวจและการขุดค้นเมืองพระรถและโบราณวัตถุที่พบ
        ประวัติการสำรวจ การขุดแต่ง และการขุดค้นเมืองศรีมโหสถและโบราณวัตถุที่พบ

บทที่ 3 ผลวิจัยและข้อวิจารณ์
     ปัจจัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน 
        สภาพภูมิประเทศบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง 
           ตำแหน่งที่ตั้งเมืองโบราณ
           ความสัมพันธ์กับชายฝั่งทะเลเดิม
           สภาพภูมิประเทศเมืองดงละคร
           สภาพภูมิประเทศเมืองศรีมโหสถ
           สภาพภูมิประเทศเมืองพระรถ
           ปัจจัยด้านภูมิประเทศที่มีผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน
           ปัจจัยด้านภูมิประเทศที่มีผลเสียต่อการตั้งถิ่นฐาน
        สภาพภูมิอากาศ
           ปัจจัยด้านภูมิอากาศที่มีผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน
        สภาพธรณีวิทยา
           ปัจจัยด้านธรณีที่มีผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน
        สภาพปฐพีวิทยา
           สภาพดินเมืองพระรถ
           ชั้นดินเมืองพระรถ
           การเปรียบเทียบชั้นดินเมืองพระรถกับเมืองคูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 
           ชั้นดินเมืองคูบัว
           การเปรียบเทียบชั้นดินเมืองพระรถกับเมืองคูเมือง อ.อินทร์บุรี จ.สิงหืบุรี
           ชั้นดินเมืองคูเมือง
        สภาพอุทกวิทยา
           คลองโบราณบริเวณชุมชนโบราณลุ่มแม่น้ำบางปะกง
           คลองโบราณบริเวณเมืองศรีมโหสถ
           คลองโบราณบริเวณเมืองพระรถ 
           ปัจจัยด้านอุทกวิทยาที่มีผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน
        พืชและสัตว์ธรรมชาติ
           ชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบในเมืองพระรถโบราณ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
           เปรียบเทียบชนิดและประเภทของสัตว์ของเมืองพระรถกับเมืองคูเมืองและเมืองคูบัว
           ชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบที่เมืองคูบัว อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
           ชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบที่เมืองคูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี
           สภาพพืชพรรณธรรมชาติ

บทที่ 4 สรุปและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ประวัติการศึกษา
   

ห้องสมุดแนะนำ

หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร และฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ของไทย (Thai Digital Collection)

คำสำคัญ/ป้ายกำกับ

การตั้งถิ่นฐาน ทวารวดี เมืองดงละคร เมืองมโหสด เมืองพระรถ ลุ่มแม่น้ำบางปะกง นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ชายฝั่งทะเลตะวันออก

ยุคสมัย

ทวารวดี

จำนวนผู้เข้าชม

156

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

4 ม.ค. 2567

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก

  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก
  • ผู้เขียน
    สัมฤทธิ์ สุขเมือง

    ชื่อวิทยานิพนธ์
    ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก

    มหาวิทยาลัย
    มหาวิทยาลัยศิลปากร

    คณะ
    บัณฑิตวิทยาลัย

    สาขาวิชา
    โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์

    ระดับการศึกษา
    ปริญญาโท

    ปี
    2531 (1988)

    จำนวนหน้า
    120

    ภาษา
    ภาษาไทย
  • สารบัญ
  • บทคัดย่อภาษาไทย
    บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
    กิตติกรรมประกาศ
    สารบัญ
    สารบัญภาพ
    สารบัญแผนผัง
    สารบัญตาราง

    บทที่ 1 บทนำ
         ความสำคัญของปัญหา
         วัตถุประสงค์ของการวิจัย
         ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
         ขอบเขตการวิจัย
         รูปแบบการวิจัย
         วิธีการดำเนินงาน
         
    บทที่ 2 การตรวจเอกสาร
         องค์ประกอบการตั้งถิ่นฐาน
         มนุษย์และหลักเกณฑ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง
            รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน
            ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
         มนุษย์กับแหล่งทำกินและสิ่งแวดล้อม
         ปัจจัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน
            แหล่งน้ำ
            พื้นดิน
            ภูมิประเทศ
            ทรัพยากรธรรมชาติ
         มนุษย์และพฤติกรรมของมนุษย์
         ประวัติการสำรวจและการขุดค้นเมืองดงละคร เมืองศรีมโหสถ และเมืองพระรถโดยย่อ
            ประวัติการขุดค้นเมืองดงละครและโบราณวัตถุที่พบ 
            ประวัติการสำรวจและการขุดค้นเมืองพระรถและโบราณวัตถุที่พบ
            ประวัติการสำรวจ การขุดแต่ง และการขุดค้นเมืองศรีมโหสถและโบราณวัตถุที่พบ

    บทที่ 3 ผลวิจัยและข้อวิจารณ์
         ปัจจัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน 
            สภาพภูมิประเทศบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง 
               ตำแหน่งที่ตั้งเมืองโบราณ
               ความสัมพันธ์กับชายฝั่งทะเลเดิม
               สภาพภูมิประเทศเมืองดงละคร
               สภาพภูมิประเทศเมืองศรีมโหสถ
               สภาพภูมิประเทศเมืองพระรถ
               ปัจจัยด้านภูมิประเทศที่มีผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน
               ปัจจัยด้านภูมิประเทศที่มีผลเสียต่อการตั้งถิ่นฐาน
            สภาพภูมิอากาศ
               ปัจจัยด้านภูมิอากาศที่มีผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน
            สภาพธรณีวิทยา
               ปัจจัยด้านธรณีที่มีผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน
            สภาพปฐพีวิทยา
               สภาพดินเมืองพระรถ
               ชั้นดินเมืองพระรถ
               การเปรียบเทียบชั้นดินเมืองพระรถกับเมืองคูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี 
               ชั้นดินเมืองคูบัว
               การเปรียบเทียบชั้นดินเมืองพระรถกับเมืองคูเมือง อ.อินทร์บุรี จ.สิงหืบุรี
               ชั้นดินเมืองคูเมือง
            สภาพอุทกวิทยา
               คลองโบราณบริเวณชุมชนโบราณลุ่มแม่น้ำบางปะกง
               คลองโบราณบริเวณเมืองศรีมโหสถ
               คลองโบราณบริเวณเมืองพระรถ 
               ปัจจัยด้านอุทกวิทยาที่มีผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน
            พืชและสัตว์ธรรมชาติ
               ชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบในเมืองพระรถโบราณ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี
               เปรียบเทียบชนิดและประเภทของสัตว์ของเมืองพระรถกับเมืองคูเมืองและเมืองคูบัว
               ชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบที่เมืองคูบัว อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
               ชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบที่เมืองคูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี
               สภาพพืชพรรณธรรมชาติ

    บทที่ 4 สรุปและข้อเสนอแนะ

    บรรณานุกรม
    ภาคผนวก
    ประวัติการศึกษา
       


  • บทคัดย่อ
  • วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยทวารวดี บริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก หรือในบริเวณที่ปัจจุบันคือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง ซึ่งประกอบด้วย เมืองโบราณสมัยทวารวดี ที่สำคัญสามเมืองคือ เมืองดงละคร (จังหวัดนครนายก) เมืองมโหสด (จังหวัดปราจีนบุรี) และเมืองพระรถ (จังหวัดชลบุรี) โดยการศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลทางด้านโบราณคดี ภูมิศาสตร์ สถิติภูมิอากาศ ข้อมูลทางธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา อุทกวิทยา โบราณวัตถุ กระดูกสัตว์ที่ได้จากการขุดค้น และข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์ มาอธิบายตีความร่วมกัน การวิจัยพบว่า ปัจจัยสิ่งแวดล้อมธรรมชาติทุกชนิดอำนวยผลดีต่อการตั้งถิ่นฐาน เช่น มีสภาพภูมิประเทศเหมาะต่อการปลูกข้าว อยู่ใกล้ลุ่มแม่น้ำใหญ่ถึงสามสายและยังอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ตลอดจนมีลำน้ำสามารถติดต่อระหว่างที่ตั้งของเมืองกับทะเลได้ มีสภาพภูมิอากาศเฉลี่ยทั้งด้านประมาณน้ำฝน อุณหภูมิ อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม มีสภาพอุทกวิทยาเพียงพอต่อการเพาะปลูก อุปโภคบริโภค รวมทั้งใช้เป็นเส้นทางคมนาคม และเป็นแหล่งอาหารของชุมชนได้เป็นอย่างดี สำหรับสภาพดิน ดินบริเวณที่อยู่อาศัยเหมาะต่อการเพาะปลูกพืชผลและการปลูกข้าว นอกจากการทำเกษตรกรรมแล้ว ได้พบเศษกระดูกสัตว์เป็นจำนวนมากที่เมืองพระรถ มีทั้งกระดูกสัตว์เลี้ยง เช่น หมู สุนัข วัว ควาย และกระดูกสัตว์ป่า เช่น ละองละมั่ง กวาง เก้ง เนื้อทราย ควายป่า หมูป่า วัวป่า รวมทั้งสัตว์น้ำจำพวกปลาน้ำจืดและหอยแครง ซึ่งสัตว์เหล่านี้คงเป็นสัตว์ที่ถูกมนุษย์ล่ามากินเป็นอาหาร โดยล่ามาจากบริเวณใกล้ชุมชนซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า บริเวณที่เป็นที่ลุ่ม มี คู คลอง หนอง บึงอยู่ทั่วไป รวมทั้งบริเวณป่าชายเลน บริเวณสภาพแวดล้อมดังกล่าวเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่คนในชุมชนสามารถเลือกหามาอุปโภคบริโภคได้ง่าย เมื่อนำชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบในเมืองพระรถไปเปรียบเทียบกับชนิดของสัตว์ที่พบในเมืองคูเมืองอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และเมืองคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า ชนิดและประเภทของสัตว์ที่พบคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการพบเปลือกหอยแครงที่มีพระรถและเมืองคูบัว แต่ไม่พบเปลือกหอยแครงที่เมืองคูเมืองแสดงให้เห็นว่า เมืองคูบัวกับเมืองพระรถ เป็นเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเล จึงมีโอกาสจับสัตว์จากบริเวณชายฝั่งทะเลมาบริโภคได้ นอกจากนี้ จากการขุดค้นที่เมืองดงละคร เมืองศรีมโหสถ และเมืองพระรถ ได้พบโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นของต่างประเทศ เช่น เศษเครื่องเคลือบเปอร์เซีย เศษเครื่องเคลือบจีน จึงสันนิษฐานได้ว่า เมืองโบราณแถบนี้คงเป็นเมืองท่าติดต่อกับชาวต่างประเทศที่มาทางทะเล โดยสรุปแล้ว ชุมชนโบราณบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก เป็นชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการตั้งถิ่นฐานเป็นอย่างมาก ซึ่งเมืองเหล่านี้ที่ได้อาศัยสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่อำนวยต่อการทำเกษตรกรรมตลอดจนการล่าสัตว์ และยังเป็นชุมชนที่มีทำเลที่ตั้งเหมาะต่อการเป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ดังนั้น เศรษฐกิจของชุมชนแถบนี้จึงสามารถทำการค้าเป็นอาชีพเสริมผสมผสานกับการเพาะปลูก ส่งผลให้ชุมชนโบราณทั้งสามสามารถตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรได้เป็นระยะเวลานาน


    ห้องสมุดแนะนำ
    หอสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร และฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ของไทย (Thai Digital Collection)

    ลิงก์ที่มา

    ประเด็นสำคัญ
    การค้าทางไกล, การตั้งถิ่นฐาน, การเกษตรกรรม, การเลี้ยงสัตว์, ประวัติศาสตร์สังคม,

    ยุคสมัย
    ทวารวดี

    คำสำคัญ
    การตั้งถิ่นฐาน ทวารวดี เมืองดงละคร เมืองมโหสด เมืองพระรถ ลุ่มแม่น้ำบางปะกง นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ชายฝั่งทะเลตะวันออก


    วันที่เผยแพร่ข้อมูล : 4 ม.ค. 2567
    จำนวนผู้เข้าชม : 156