ผู้เขียน | อนุชาต ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของ เมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี |
มหาวิทยาลัย | เกษตรศาสตร์ |
คณะ | บัณฑิตวิทยาลัย |
สาขาวิชา | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2524 (1981) |
จำนวนหน้า | 123 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
สารบาญตาราง
สารบาญภาพ
บทที่ 1 บทนำ
ความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัย
นิยามศัพท์
บทที่ 2 การตรวจเอกสาร
บทที่ 3 วิธีวิจัย
รูปแบบของการวิจัย
วิธีการดำเนินงาน
การวางฝังหลุมขุดค้น
บทที่ 4 ผลวิจัยและข้อวิจารณ์
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมกายภาพที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน
ลักษณะภูมิประเทศ
ดิน
แหล่งน้ำ
สัตว์และพืชพรรณธรรมชาติ
แหล่งแร่
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน
การวางผังเมือง
สถาปัตยกรรม
เศรษฐกิจและสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอารยธรรมอินเดีย
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก
สารบาญตาราง
สารบาญภาพ
บทที่ 1 บทนำ
ความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัย
นิยามศัพท์
บทที่ 2 การตรวจเอกสาร
บทที่ 3 วิธีวิจัย
รูปแบบของการวิจัย
วิธีการดำเนินงาน
การวางฝังหลุมขุดค้น
บทที่ 4 ผลวิจัยและข้อวิจารณ์
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมกายภาพที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน
ลักษณะภูมิประเทศ
ดิน
แหล่งน้ำ
สัตว์และพืชพรรณธรรมชาติ
แหล่งแร่
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน
การวางผังเมือง
สถาปัตยกรรม
เศรษฐกิจและสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอารยธรรมอินเดีย
บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก
การศึกษาปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณสมัยทวารวดี บริเวณตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเมืองโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นเมืองที่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 (พ.ศ. 1001-1600) ดังนั้นวิธีการศึกษาจึงใช้การขุดค้นทางโบราณคดี จำนวน 9 หลุมขุดค้น ซึ่งเป็นโครงการของภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเก็บข้อมูลโดยเลือกบริเวณที่ได้หลักฐานจากการสำรวจพบว่า เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของชุมชนในสมัยโบราณ สำหรับวัตุประสงค์ของการวิจัยนั้น เป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพและทางด้านวัฒนธรรมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณบริเวณตำบลคูบัวนี้ อีกทั้งเป็นการหารูปแบบในการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของเมืองโบราณในสถานที่อื่น ๆ
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณบริเวณตำบลคูบัว ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ ความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง เพราะเป็นดินตะกอนน้ำพัดพามาทับถม มีลำห้วยชินสีห์ และลำห้วยคูบัว เป็นลำน้ำสำคัญที่ไหลผ่านตัวเมือง โดยมีเส้นทางไหลลงสู่แม่น้ำอ้อมและแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งอำนวยประโยชน์ในด้านการคมนาคมติดต่อกับดินแดนภายในและต่างประเทศ เพราะที่ตั้งของเมืองอยู่ใกล้กับแนวชายฝั่งทะเลเดิม นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งอาหารตามธรรมชาติ และแหล่งแร่ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตที่สำคัญ สำหรับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของเมืองโบราณบริเวณตำบลคูบัว ได้แก่ การวางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน โดยอาศัยความสูงต่ำของพื้นที่และลำน้ำ 2 สาย ขุดเชื่อมต่อและวางแนวเป็นคูเมือง ลักษณะสถาปัตยกรรมนั้นได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนาในประเทศอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะและหลังคุปตะ ส่วนวัสดุที่ใช้และรูปแบบก็มีลักษณะเช่นเดียวกับโบราณสถานสมัยทวารวดี ซึ่งพบ ณ เมืองโบราณอื่น ๆ ลักษณะเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตภาชนะดิยเผา การทอผ้า การเกษตรกรรม การผลิตเครื่องใช้โลหะ และการผลิตลูกปัด ตลอดจนมีการติดต่อค้าขายกับเมืองต่าง ๆ ส่วนลักษณะทางสังคมนั้น เป็นลักษณะของสังคมเมืองที่มีความสลับซับซ้อน และมีการแบ่งงานกันทำในสังคม เกิดสถาบันสำคัญ ๆ ได้แก่ สถาบันการปกครอง และสถาบันศาสนา นอกจากนี้หลักฐานจากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบแสดงถึงการติดต่อกับประเทศอินเดีย โดยรับเอาวัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่สูงกว่ามาใช้พัฒนาเมือง