ผู้เขียน | สิริประภา เทพวิมลเพชรกุล |
ชื่อวิทยานิพนธ์ | การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิสัณฐานและพืชพรรณในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างที่เกิดจากการถอยร่นของน้ำทะเลในช่วงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย |
มหาวิทยาลัย | ศิลปากร |
คณะ | โบราณคดี |
สาขาวิชา | โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ |
ระดับการศึกษา | ปริญญาโท |
ปี | 2555 (2012) |
จำนวนหน้า | 390 |
ภาษา | ภาษาไทย |
ที่มา | ลิงก์ที่มา |
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
สารบัญแผนภาพ
บทที่ 1 บทนำ
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
- ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ขอบเขตการศึกษา
- กรอบแนวคิดการศึกษา
- เวลาที่ใช้ในการศึกษา
- คำจำกัดความที่ใช้ในการศึกษา
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
- ภูมิศาสตร์ประเทศไทยในคาบสมุทรอินโดจีน
- การกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน
- ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่มีต่อการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณที่มีอายุตั้งแต่ 2,500 ปีถึงอายุสมัยทวารวดี ที่ตั้งอยู่รอบและใกล้แนวชายฝั่งทะเลโบราณบริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่าง
- พรรณไม้และป่าไม้ของประเทศไทย
- การศึกษาเรณูวิทยาในประเทศไทย
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา
- การเลือกพื้นที่ที่ใช้เก็บตัวอย่าง
- การเก็บและเตรียมตัวอย่างตะกอน
- ลำดับชั้นตะกอนและสมบัติของดิน
- การกำหนดค่าอายุตะกอนด้วยวิธีการเรืองความร้อน (TL)
- การสกัดแยกละอองเรณูและสปอร์
- การวิเคราะห์และระบุชนิดหรือสกุล หรือวงศ์
บทที่ 4 ผลการศึกษา
- การลำดับชั้นตะกอน
- ธรณีกาลวิทยา
- บรรพชีวินวิทยา
บทที่ 5 อภิปรายและสรุปผล
- อภิปรายผล
- การลำดับชั้นตะกอน
- ธรณีกาลวิทยา
- บรรพชีวินวิทยา
- นัยสำคัญของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในห้วงอายุ 2,500 ปี
- สมัยทวารวดี บริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่าง
- บทสรุป
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์ช่วงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบัน 2-4 เมตร ของที่ราบภาคกลางตอนล่าง
- ความสัมพันธ์กับการเลือกตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณห้วงอายุสมัย 2,500 ปี จนสมัยทวารวดี ของที่ราบภาคกลางตอนล่าง
- ข้อเสนอแนะ
รายการอ้างอิง
ภาคผนวก
- ภาคผนวก ก
- สภาพที่ตั้งและการสำรวจ 8 พื้นที่
- การกำหนดค่าอายุด้วย C-14 ของพื้นที่สำรวจ 8 พื้นที่
- พื้นที่ตัวอย่าง การศึกษาลำดับชั้นตะกอนกำหนดอายุด้วย C-14 ช่วง 1971 ถึง 2009 รวบรวมโดย Hutangkura T. (2012)
- การกำหนดค่าอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อนของ 10 พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา
- ภาคผนวก ข
- การบรรยายลักษณะสัณฐานของเรณู สปอร์ และสิ่งมีชีวิตอื่นที่พบ (เรวดี แก้วขาว, 2500)
- ภาพแสดงสัณฐานเรณู สปอร์ และสิ่งมีชีวิตอื่นที่พบในชั้นตะกอนตัวอย่าง
- ภาคผนวก ค
- ภาพแสดงสัณฐานของเรณู สปอร์ และสิ่งมีชีวิตอื่นที่พบในแต่ละชั้นตะกอน และที่ใช้สำหรับอ้างอิงและเปรียบเทียบ
ประวัติผู้วิจัย
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
สารบัญแผนภาพ
บทที่ 1 บทนำ
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
- ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ขอบเขตการศึกษา
- กรอบแนวคิดการศึกษา
- เวลาที่ใช้ในการศึกษา
- คำจำกัดความที่ใช้ในการศึกษา
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
- ภูมิศาสตร์ประเทศไทยในคาบสมุทรอินโดจีน
- การกำหนดค่าอายุทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเรืองแสงความร้อน
- ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่มีต่อการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณที่มีอายุตั้งแต่ 2,500 ปีถึงอายุสมัยทวารวดี ที่ตั้งอยู่รอบและใกล้แนวชายฝั่งทะเลโบราณบริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่าง
- พรรณไม้และป่าไม้ของประเทศไทย
- การศึกษาเรณูวิทยาในประเทศไทย
บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษา
- การเลือกพื้นที่ที่ใช้เก็บตัวอย่าง
- การเก็บและเตรียมตัวอย่างตะกอน
- ลำดับชั้นตะกอนและสมบัติของดิน
- การกำหนดค่าอายุตะกอนด้วยวิธีการเรืองความร้อน (TL)
- การสกัดแยกละอองเรณูและสปอร์
- การวิเคราะห์และระบุชนิดหรือสกุล หรือวงศ์
บทที่ 4 ผลการศึกษา
- การลำดับชั้นตะกอน
- ธรณีกาลวิทยา
- บรรพชีวินวิทยา
บทที่ 5 อภิปรายและสรุปผล
- อภิปรายผล
- การลำดับชั้นตะกอน
- ธรณีกาลวิทยา
- บรรพชีวินวิทยา
- นัยสำคัญของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในห้วงอายุ 2,500 ปี
- สมัยทวารวดี บริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่าง
- บทสรุป
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์ช่วงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบัน 2-4 เมตร ของที่ราบภาคกลางตอนล่าง
- ความสัมพันธ์กับการเลือกตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณห้วงอายุสมัย 2,500 ปี จนสมัยทวารวดี ของที่ราบภาคกลางตอนล่าง
- ข้อเสนอแนะ
รายการอ้างอิง
ภาคผนวก
- ภาคผนวก ก
- สภาพที่ตั้งและการสำรวจ 8 พื้นที่
- การกำหนดค่าอายุด้วย C-14 ของพื้นที่สำรวจ 8 พื้นที่
- พื้นที่ตัวอย่าง การศึกษาลำดับชั้นตะกอนกำหนดอายุด้วย C-14 ช่วง 1971 ถึง 2009 รวบรวมโดย Hutangkura T. (2012)
- การกำหนดค่าอายุด้วยวิธีเรืองแสงความร้อนของ 10 พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา
- ภาคผนวก ข
- การบรรยายลักษณะสัณฐานของเรณู สปอร์ และสิ่งมีชีวิตอื่นที่พบ (เรวดี แก้วขาว, 2500)
- ภาพแสดงสัณฐานเรณู สปอร์ และสิ่งมีชีวิตอื่นที่พบในชั้นตะกอนตัวอย่าง
- ภาคผนวก ค
- ภาพแสดงสัณฐานของเรณู สปอร์ และสิ่งมีชีวิตอื่นที่พบในแต่ละชั้นตะกอน และที่ใช้สำหรับอ้างอิงและเปรียบเทียบ
ประวัติผู้วิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมโบราณในห้วงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบัน 2 - 4 เมตร ของที่ราบภาคกลางตอนล่าง โดยทำการศึกษาลำดับ และสมบัติของชั้นตะกอน นำไปกำหนดอายุด้วยวิธีการเรืองแสงความร้อน ผ่านการวิเคราะห์ด้วยหลักฐานทางเรณูวิทยาและหลักฐานทางโบราณคดี จากแหล่งโบราณคดีใกล้เคียงกับ 10 พื้นที่ที่ศึกษา แยกลำดับชั้นตะกอนหลักได้ 2 ลำดับชั้นตะกอนประกอบด้วย ลำดับชั้นตะกอนที่อยู่ชั้นล่าง จัดเป็นตะกอนที่อยู่ชั้นล่าง จัดเป็นตะกอนดินเหนียวที่ราบน้ำขึ้นถึงและลำดับชั้นตะกอนชั้นบนจัดเป็นตะกอนดินเหนียวที่ราบน้ำท่วมถึง กำหนดอายุได้ประมาณ 2,200 - 1,200 ปีมาแล้ว ผลของการเปลี่ยนแปลงภูมิสัณฐานและร่องรอยการพบพืชพรรณและสิ่งมีชีวิต กับช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในขณะนั้นทำให้ได้ข้อสรุปว่า เมื่ออายุ 1,800 - 1,500 ปีมาแล้วทางฝั่งตะวันตก ระดับน้ำทะเลยังคงขึ้นไปถึงพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบัน 2-4 เมตร และฝั่งตะวันออกครอบคลุมพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบัน 2-2.5 เมตร สภาพแวดล้อมเป็นทะเลตื้นแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นที่ราบน้ำขึ้นถึงมีพืชพรรณป่าชายเลนปกคลุมหนาแน่นหลังจากนั้นเมื่ออายุ 1,600 - 1,200 ปีมาแล้ว ทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบัน 2-4 เมตร ทั้งหมดถูกปิดทับด้วยตะกอนดินเหนียวที่ราบน้ำท่วมถึงมีสภาพแวดล้อมเป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ความลึกไม่เกิน 2 เมตร มีพันธุ์ไม้น้ำจืดเจริญเติบโตปกคลุมหนาแน่นและนอกจากนี้พื้นที่ฝั่งตะวันออกที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางปัจจุบัน 3-4 เมตร ถูกปิดทับด้วยตะกอนดินเหนียวที่ราบน้ำท่วมถึงสลับแล้งยาวนานต่อเนื่องมาตั้งแต่ 2,200 ปีมาแล้ว จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นห้วงเวลาเดียวกันกับการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรและหนาแน่นของชุมชนโบราณสมัยยุคเหล็กบริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่างที่กำหนดอายุราว 2,500 ปีมาแล้ว และอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงสมัยทวารวดีอายุราว 1,500 - 1,000 ปีมาแล้ว
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาดังกล่าว จึงไม่ใ่ช่ปัจจัยสำคัญโดยตรงต่อการเลือกตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ แต่การถอยร่นของระดับน้ำทะเลแบบค่อยเป็นค่อยไปและการทับถมของตะกอนแม่น้ำที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดเป็นที่ราบลุ่มต่ำน้ำท่วมขังและน้ำท่วมสูงในฤดูน้ำหลาก พื้นดินยังอ่อนนุ่มจึงไม่เมหาะต่อการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร