ผู้ผลิต | Thai PBS |
วิทยากร/ผู้แสดง | กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์, เมธินี จิระวัฒนา, เกรียงไกร เกิดศิริ, ปรีดี พิศภูมิวิถี, อิสราวรรณ อยู่ป้อม, สุนิติ จุฑามาศ, ภัทรวดี ดีอนันตโชค, ชัยยศ เจริญสันติพงศ์, ปองพล ยาศรี, ชาตรี ประกิตนนทการ, พิเชฐ ธิถา |
เรื่องย่อ |
แผ่นดิน “บางกอก” ปรากฏพ้นน้ำทะเลเมื่อราว 800 ปีก่อน เรื่องราวนับแต่ยุคเก่าของกรุงเทพมหานครและกรุงธนบุรี เล่าผ่านการศึกษาโบราณคดี หลังผืนแผ่นดินปรากฏจนมีมนุษย์เข้ามาอาศัยกลายเป็นชุมชน ในช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นของกรุงสุโขทัยในฐานะราชธานี ต่อเนื่องถึงกรุงศรีอยุธยา ก่อนเป็นราชธานี ผืนแผ่นดินมีเรื่องราวใดเกิดขึ้น การขุดค้นทางโบราณคดีพบป้อมบางกอก 2 แห่ง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เรื่องราวของชุมชนบางกอก เริ่มชัดเจนในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองสำคัญที่เป็นประตูทั้งป้องกันและต้อนรับกลุ่มคนตลอดจนถึงขบวนเรือของผู้มาเยือนจากกรุงศรีอยุธยา และจากการศึกษาวิถีชีวิตของคนบางกอก สู่การขุดค้นทางโบราณคดีในยุครุ่งเรืองของกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ การขุดค้นศึกษาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใต้ดิน บริเวณกระทรวงพาณิชย์เดิม ที่ปัจจุบันคือมิวเซียมสยาม พบทั้งเปลือกหอยมุกและเกือกม้าจำนวนมาก รวมทั้งฐานรากของวังหลายแห่ง นอกจากนี้ การขุดค้นที่โรงพยาบาลศิริราชซึ่งพบซากเรือโบราณที่ทำให้รู้ว่า สถานที่ตั้งของสถานีรถไฟธนบุรีและโรงพยาบาลศิริราช เคยมีอู่ซ่อมเรือตั้งอยู่ และเรายังพบหลักฐานที่เชื่อมโยงกับฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องคู่กรรม ที่ทหารญี่ปุ่นโกโบริเสียชีวิต ณ สถานีรถไฟธนบุรี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการถูกประเทศสัมพันธมิตรระดมทิ้งระเบิดไม่น่าเชื่อว่า การขุดค้นทางโบราณคดีที่สถานีรถไฟธนบุรี จะสอดคล้องกับบทละคร หรือบทภาพยนตร์ดังกล่าว |
ความยาว | 44:48 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | บางกอก |
แผ่นดิน “บางกอก” ปรากฏพ้นน้ำทะเลเมื่อราว 800 ปีก่อน เรื่องราวนับแต่ยุคเก่าของกรุงเทพมหานครและกรุงธนบุรี เล่าผ่านการศึกษาโบราณคดี หลังผืนแผ่นดินปรากฏจนมีมนุษย์เข้ามาอาศัยกลายเป็นชุมชน ในช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นของกรุงสุโขทัยในฐานะราชธานี ต่อเนื่องถึงกรุงศรีอยุธยา ก่อนเป็นราชธานี ผืนแผ่นดินมีเรื่องราวใดเกิดขึ้น การขุดค้นทางโบราณคดีพบป้อมบางกอก 2 แห่ง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เรื่องราวของชุมชนบางกอก เริ่มชัดเจนในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองสำคัญที่เป็นประตูทั้งป้องกันและต้อนรับกลุ่มคนตลอดจนถึงขบวนเรือของผู้มาเยือนจากกรุงศรีอยุธยา และจากการศึกษาวิถีชีวิตของคนบางกอก สู่การขุดค้นทางโบราณคดีในยุครุ่งเรืองของกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ การขุดค้นศึกษาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใต้ดิน บริเวณกระทรวงพาณิชย์เดิม ที่ปัจจุบันคือมิวเซียมสยาม พบทั้งเปลือกหอยมุกและเกือกม้าจำนวนมาก รวมทั้งฐานรากของวังหลายแห่ง นอกจากนี้ การขุดค้นที่โรงพยาบาลศิริราชซึ่งพบซากเรือโบราณที่ทำให้รู้ว่า สถานที่ตั้งของสถานีรถไฟธนบุรีและโรงพยาบาลศิริราช เคยมีอู่ซ่อมเรือตั้งอยู่ และเรายังพบหลักฐานที่เชื่อมโยงกับฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องคู่กรรม ที่ทหารญี่ปุ่นโกโบริเสียชีวิต ณ สถานีรถไฟธนบุรี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการถูกประเทศสัมพันธมิตรระดมทิ้งระเบิดไม่น่าเชื่อว่า การขุดค้นทางโบราณคดีที่สถานีรถไฟธนบุรี จะสอดคล้องกับบทละคร หรือบทภาพยนตร์ดังกล่าว