ผู้ผลิต | ประวัติศาสตร์นอกตำรา |
วิทยากร/ผู้แสดง | สมฤทธิ์ ลือชัย |
เรื่องย่อ |
[จากช่องประวัติศาสตร์นอกตำรา] ในทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ทั้งไทยและพม่าต่างผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทวาย นั่นเพราะทวายอยู่เหนือเมืองมะริดและตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญของอ่าวเบงกอล พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นชนวนสงครามระหว่าง 2ราชอาณาจักรเรื่อยมา ในคราวสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าบุเรงนองทรงได้เมืองทวาย มะริดและตะนาวศรีไปครอบครองได้สำเร็จ แต่ทว่าอีกกว่า 20 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงให้ยกทัพไปตีเมืองเหล่านี้กลับคืนมาได้ใน ปี พ.ศ. 2135 อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อเนื่องถึงการเสียกรุงครั้งที่ 2 อาณาจักรพม่าราชวงศ์คองบองก็สามารถยึดเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรีและชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดได้สำเร็จ ความพยายามเอาทวายมาเป็นของสยาม เริ่มต้นอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ยกทัพใหญ่ไปตีเมืองทวาย ในปี พ.ศ. 2330 เมื่อกองทัพกรุงเทพ ฯ มาถึงแม่น้ำแควน้อย และขึ้นบกที่เมืองท่าตะกั่ว เขต อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรีในปัจจุบัน ร.1ทรงยกทัพขึ้นไปด้านเหนือที่เรียกว่า “ช่องเขาสูง” ด้วยการตัดข้ามเขาบรรทัด แล้วตรงเข้าสู่เมืองทวาย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่กองทัพหลวงเลือกใช้ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความยากลำบาก เมื่อกองทัพกรุงเทพ ฯ ไปถึงเมืองทวาย กลับไม่เห็นกองทัพพม่าออกรักษาเชิงเทิน มีเพียงประตูเมืองที่ปิดอยู่ เกรงว่าหากจะยกเข้าไปในเมืองอาจเป็นกลลวงของพม่าได้ จึงตั้งค่ายรายล้อมเมืองไว้ การล้อมเมืองผ่านไปราวครึ่งเดือนโดยไม่มีการบุกโจมตีเมืองทวาย ขณะที่เสบียงอาหารเริ่มขัดสนมากขึ้น นี่เองคือสาเหตุของการเลิกทัพกลับกรุงเทพ ฯ ความพยายามที่ต้องการได้เมืองทวาย และหัวเมืองแถบทะเลอันดามันยังคงดำเนินต่อไป เมื่อไม่สามารถตีเมืองทวายได้ ร.1 จึงทรงมีพระราชสาส์นส่งไปยังจักรพรรดิ์จีน เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ....แต่กลับไม่เป็นผล ทวายยังคงขึ้นกับราชสำนักอังวะ ภายใต้การปกครองของมังจันจา ผู้ที่พระเจ้าปดุงทรงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองทวายก่อนหน้านี้ เมื่ออะแซหวุ่นกี้ อุปราชผู้ควบคุมหัวเมืองทางใต้ที่เมาะตะมะถึงแก่สัญกรรมลงในปี พ.ศ. ๒๓๓๓ มังจันจา เจ้าเมืองทวายก็ต้องผิดหวังที่ไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนี้แทน เพราะพระเจ้าปดุงทรงตั้งมังจะเลสู ลงมาเป็นอุปราชแทน นี่เองคือจุดเริ่มต้นทำให้มังจันจากระด้างกระเดื่องต่อราชสำนักอังวะ และชักชวนเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดให้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อ ร. 1 ใน ปี พ.ศ. ๒๓๓๔ แม้ราชสำนักกรุงเทพจะส่งกองทหารมารักษาเมืองทวายไว้ แต่ในที่สุดแล้ว อีกราวปีเศษ พ.ศ. ๒๓๓๖ พระเจ้าปดุงโปรดให้พระมหาอุปราชายกกองทัพใหญ่จำนวน ๕๐,๐๐๐ ลงมาตีเมืองทวาย จนกองทัพกรุงเทพ ฯ ต้องแตกพ่ายไป ทวายยังคงขึ้นอยู่กับพม่าจนกระทั่ง อังกฤษเข้ายึดดินแดนพม่าบางส่วนได้ในสงครามครั้งที่ 1 (First Anglo-Burmese War) ราชวงศ์คองบอง ยอมทำสนธิสัญญากับอังกฤษเพื่อมอบอำนาจเหนือดินแดนอัสสัม, มณีปุระ, ยะไข่ และตะนาวศรีให้แก่อังกฤษในปี 2369 อีก 42 ปีต่อมา ในปี 2411 ร. 4 ทรงทำข้อตกลงแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างอังกฤษกับสยาม ทำให้ทวาย มะริด และตะนาวศรีตกเป็นของอังกฤษอย่างสมบูรณ์ |
ความยาว | 29:51 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | ทวาย ต้นรัตนโกสินทร์ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
[จากช่องประวัติศาสตร์นอกตำรา] ในทางประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ทั้งไทยและพม่าต่างผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทวาย นั่นเพราะทวายอยู่เหนือเมืองมะริดและตะนาวศรี ซึ่งเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญของอ่าวเบงกอล พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นชนวนสงครามระหว่าง 2ราชอาณาจักรเรื่อยมา ในคราวสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าบุเรงนองทรงได้เมืองทวาย มะริดและตะนาวศรีไปครอบครองได้สำเร็จ แต่ทว่าอีกกว่า 20 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวร ฯ ทรงให้ยกทัพไปตีเมืองเหล่านี้กลับคืนมาได้ใน ปี พ.ศ. 2135 อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อเนื่องถึงการเสียกรุงครั้งที่ 2 อาณาจักรพม่าราชวงศ์คองบองก็สามารถยึดเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรีและชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดได้สำเร็จ ความพยายามเอาทวายมาเป็นของสยาม เริ่มต้นอีกครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ยกทัพใหญ่ไปตีเมืองทวาย ในปี พ.ศ. 2330 เมื่อกองทัพกรุงเทพ ฯ มาถึงแม่น้ำแควน้อย และขึ้นบกที่เมืองท่าตะกั่ว เขต อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรีในปัจจุบัน ร.1ทรงยกทัพขึ้นไปด้านเหนือที่เรียกว่า “ช่องเขาสูง” ด้วยการตัดข้ามเขาบรรทัด แล้วตรงเข้าสู่เมืองทวาย เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่กองทัพหลวงเลือกใช้ เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความยากลำบาก เมื่อกองทัพกรุงเทพ ฯ ไปถึงเมืองทวาย กลับไม่เห็นกองทัพพม่าออกรักษาเชิงเทิน มีเพียงประตูเมืองที่ปิดอยู่ เกรงว่าหากจะยกเข้าไปในเมืองอาจเป็นกลลวงของพม่าได้ จึงตั้งค่ายรายล้อมเมืองไว้ การล้อมเมืองผ่านไปราวครึ่งเดือนโดยไม่มีการบุกโจมตีเมืองทวาย ขณะที่เสบียงอาหารเริ่มขัดสนมากขึ้น นี่เองคือสาเหตุของการเลิกทัพกลับกรุงเทพ ฯ ความพยายามที่ต้องการได้เมืองทวาย และหัวเมืองแถบทะเลอันดามันยังคงดำเนินต่อไป เมื่อไม่สามารถตีเมืองทวายได้ ร.1 จึงทรงมีพระราชสาส์นส่งไปยังจักรพรรดิ์จีน เพื่อขอความช่วยเหลือในเรื่องนี้ ....แต่กลับไม่เป็นผล ทวายยังคงขึ้นกับราชสำนักอังวะ ภายใต้การปกครองของมังจันจา ผู้ที่พระเจ้าปดุงทรงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองทวายก่อนหน้านี้ เมื่ออะแซหวุ่นกี้ อุปราชผู้ควบคุมหัวเมืองทางใต้ที่เมาะตะมะถึงแก่สัญกรรมลงในปี พ.ศ. ๒๓๓๓ มังจันจา เจ้าเมืองทวายก็ต้องผิดหวังที่ไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งนี้แทน เพราะพระเจ้าปดุงทรงตั้งมังจะเลสู ลงมาเป็นอุปราชแทน นี่เองคือจุดเริ่มต้นทำให้มังจันจากระด้างกระเดื่องต่อราชสำนักอังวะ และชักชวนเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดให้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อ ร. 1 ใน ปี พ.ศ. ๒๓๓๔ แม้ราชสำนักกรุงเทพจะส่งกองทหารมารักษาเมืองทวายไว้ แต่ในที่สุดแล้ว อีกราวปีเศษ พ.ศ. ๒๓๓๖ พระเจ้าปดุงโปรดให้พระมหาอุปราชายกกองทัพใหญ่จำนวน ๕๐,๐๐๐ ลงมาตีเมืองทวาย จนกองทัพกรุงเทพ ฯ ต้องแตกพ่ายไป ทวายยังคงขึ้นอยู่กับพม่าจนกระทั่ง อังกฤษเข้ายึดดินแดนพม่าบางส่วนได้ในสงครามครั้งที่ 1 (First Anglo-Burmese War) ราชวงศ์คองบอง ยอมทำสนธิสัญญากับอังกฤษเพื่อมอบอำนาจเหนือดินแดนอัสสัม, มณีปุระ, ยะไข่ และตะนาวศรีให้แก่อังกฤษในปี 2369 อีก 42 ปีต่อมา ในปี 2411 ร. 4 ทรงทำข้อตกลงแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างอังกฤษกับสยาม ทำให้ทวาย มะริด และตะนาวศรีตกเป็นของอังกฤษอย่างสมบูรณ์