ผู้ผลิต | Suvarnabhumi Studies Center |
วิทยากร/ผู้แสดง | บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ |
เรื่องย่อ |
โหมโรงหรทึก (Grand Resonance Prelude) เป็นบทเพลงประพันธ์ขึ้นใหม่ ของผศ. บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ ที่ทดลองนำเอาเสียงมโหระทึกเป็นแรงบันดาลใจ สร้างเรื่องราวการย้อนเวลาจากปัจจุบัน ไปยังเสียงแห่งบรรพชน จากนั้นค่อย ๆ เสนอเรื่องราวการเปลี่ยนแปลง "จากมโหระทึกถึงฆ้อง" และเลยไปจากนั้น โดยผสมผสานกันระหว่างเครื่องเป่าจากจีนตอนใต้? เสียงกลองจากอินเดียหรือเปอร์เซีย? เสียงซอเชลโลจากยุโรปที่มีรากจากเปอร์เซียและร่วมรากกันซอสามสาย คลาริเน็ทจากยุโรปที่วิวัฒน์มาจาก Chalumeau เปียโนที่เริ่มรากจาก Zither หรือ Psalter ซึ่งร่วมรากกับขิม กลองทิมปานีและกลองใหญ่ซึ่งรากของทั้งสองก็อยู่วน ๆ แถวเมดิเตอเรเนียน มาริมบาที่แม้ว่าจะมาจากแอฟริกา แต่ก็อาจร่วมรากกับระนาดที่เรามีอยู่แถบสุวรรณภูมิ จนมาถึงเครื่องดนตรีไฟฟ้าอย่างซินธิไซเซอร์กับคอมพิวเตอร์นี่แหละที่มีรากฐานใหม่หน่อย แต่ก็ยังเกิดจากภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาของมนุษยชาติเช่นกัน |
ความยาว | 12:54 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | สุวรรณภูมิ กลองมโหระทึก |
โหมโรงหรทึก (Grand Resonance Prelude) เป็นบทเพลงประพันธ์ขึ้นใหม่ ของผศ. บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ ที่ทดลองนำเอาเสียงมโหระทึกเป็นแรงบันดาลใจ สร้างเรื่องราวการย้อนเวลาจากปัจจุบัน ไปยังเสียงแห่งบรรพชน จากนั้นค่อย ๆ เสนอเรื่องราวการเปลี่ยนแปลง "จากมโหระทึกถึงฆ้อง" และเลยไปจากนั้น โดยผสมผสานกันระหว่างเครื่องเป่าจากจีนตอนใต้? เสียงกลองจากอินเดียหรือเปอร์เซีย? เสียงซอเชลโลจากยุโรปที่มีรากจากเปอร์เซียและร่วมรากกันซอสามสาย คลาริเน็ทจากยุโรปที่วิวัฒน์มาจาก Chalumeau เปียโนที่เริ่มรากจาก Zither หรือ Psalter ซึ่งร่วมรากกับขิม กลองทิมปานีและกลองใหญ่ซึ่งรากของทั้งสองก็อยู่วน ๆ แถวเมดิเตอเรเนียน มาริมบาที่แม้ว่าจะมาจากแอฟริกา แต่ก็อาจร่วมรากกับระนาดที่เรามีอยู่แถบสุวรรณภูมิ จนมาถึงเครื่องดนตรีไฟฟ้าอย่างซินธิไซเซอร์กับคอมพิวเตอร์นี่แหละที่มีรากฐานใหม่หน่อย แต่ก็ยังเกิดจากภูมิปัญญาที่สั่งสมกันมาของมนุษยชาติเช่นกัน