หน้าแรก วิดีโอ "ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route | รากสุวรรณภูมิ

"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route | รากสุวรรณภูมิ

ผู้ผลิต Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง ธนิก เลิศชาญฤทธิ์, ผุสดี รอดเจริญ, ชาตรี ไสยสมบัติ และคนอื่น ๆ
เรื่องย่อ

เรื่องราวของการพบร่องรอยชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 2,500 ปี ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การขุดค้นครั้งนั้นทำให้รู้เส้นทางการเชื่อมต่อของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันแบบชุมชน และช่วงนี้มีการติดต่อกันของผู้คน มีการสัญจรแลกเปลี่ยนสินค้ากันทางน้ำ จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า อดีตลพบุรีเคยเป็นเมืองชายทะเล หลักฐานที่พบจากการขุดค้นใน 2 แหล่งโบราณคดีคือ "แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้" บริเวณที่ขุดพบ ปัจจุบันคือที่ตั้งของวัดพรหมทินใต้ ที่นี่เราพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีพัฒนาการการอยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยเหล็กในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ในสมัยทวารวดี เข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนจะกลับมาเป็นสมัยปัจจุบัน เมื่อราว 100 กว่าปีมานี้ การขุดค้นครั้งนี้พบตราประทับรูปวัว ที่ทำจากดินเผา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอินเดีย แล้ววัฒธรรมต่างถิ่นที่มีอายุนับพัน ๆ ปี นอกจากนี้ยังพบ พระพุทธรูปแกะสลักจากหินสีดำ ประทับยืน พร้อมพระบริวาร บนหลังสัตว์ประหลาดนั้นรูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แต่มีเขา บิดเป็นเกลียว งอเข้าหากันคล้ายเขาโค มีชื่อเรียกว่า "พระพนัสบดี" มีอายุประมาณ 1,300 - 1,200 ปี และอีกหนึ่งแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบหลักฐานไม่ห่างกันมากนัก คือ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับคนในยุคนั้น ทั้งวิถีชีวิตว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมสำหรับคนตาย, เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดจากแก้ว, จากหิน หรือที่ทำขึ้นจากส่วนหน้าอกของเต่าและเปลือกหอย

 

ความพิเศษของแหล่งโบราณบ้านพรหมทินใต้ในแง่เศรษฐกิจ นักโบราณคดีมองว่ามีการติดต่อกับต่างประเทศทั้งในภาคของการนำเข้า เช่น เครื่องประดับและของใช้ ส่วนในภาคการส่งออก จะเป็นพวกแร่และพืชทางการเกษตรในทุกชั้นวัฒนธรรม ที่แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และที่บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี มักพบโลหะที่ถูกแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่ได้เน้นทำเป็นอาวุธ ส่วนใหญ่ทำเครื่องประดับและเสื้อผ้า จึงบ่งบอกถึงสภาพสังคม ที่รักสวยรักงามและวัฒนธรรมในการแต่งกาย ที่สำคัญในเกือบทุกชั้นดิน หรือชั้นวัฒนธรรม มักพบเมล็ดข้าว, เปลือกข้าว และต้นข้าว ซึ่งหมายความว่า ในการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละยุค "ข้าว" คืออาวุธสำคัญในการปฏิวัติสังคมนั่นเอง

ความยาว 46:30 นาที
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ ลพบุรี แหล่งโบราณคดีพรหมทินใต้ เส้นทางการค้า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว

จำนวนผู้เข้าชม

383

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

4 ก.ค. 2565

วิดีโอแนะนำ

Crafting History: Reviving the Ninth Century Ancient Sewn-Ship with a Replica

ผู้ผลิต กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
70

Phanom-Surin: A Replica of a 9th-Century Sewn Ship

ผู้ผลิต กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
80

"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route | รากสุวรรณภูมิ
ผู้ผลิต :
Thai PBS
วิทยากร/ผู้แสดง :
ธนิก เลิศชาญฤทธิ์, ผุสดี รอดเจริญ, ชาตรี ไสยสมบัติ และคนอื่น ๆ
เรื่องย่อ :

เรื่องราวของการพบร่องรอยชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 2,500 ปี ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การขุดค้นครั้งนั้นทำให้รู้เส้นทางการเชื่อมต่อของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันแบบชุมชน และช่วงนี้มีการติดต่อกันของผู้คน มีการสัญจรแลกเปลี่ยนสินค้ากันทางน้ำ จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า อดีตลพบุรีเคยเป็นเมืองชายทะเล หลักฐานที่พบจากการขุดค้นใน 2 แหล่งโบราณคดีคือ "แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้" บริเวณที่ขุดพบ ปัจจุบันคือที่ตั้งของวัดพรหมทินใต้ ที่นี่เราพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีพัฒนาการการอยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยเหล็กในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ในสมัยทวารวดี เข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนจะกลับมาเป็นสมัยปัจจุบัน เมื่อราว 100 กว่าปีมานี้ การขุดค้นครั้งนี้พบตราประทับรูปวัว ที่ทำจากดินเผา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอินเดีย แล้ววัฒธรรมต่างถิ่นที่มีอายุนับพัน ๆ ปี นอกจากนี้ยังพบ พระพุทธรูปแกะสลักจากหินสีดำ ประทับยืน พร้อมพระบริวาร บนหลังสัตว์ประหลาดนั้นรูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แต่มีเขา บิดเป็นเกลียว งอเข้าหากันคล้ายเขาโค มีชื่อเรียกว่า "พระพนัสบดี" มีอายุประมาณ 1,300 - 1,200 ปี และอีกหนึ่งแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบหลักฐานไม่ห่างกันมากนัก คือ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับคนในยุคนั้น ทั้งวิถีชีวิตว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมสำหรับคนตาย, เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดจากแก้ว, จากหิน หรือที่ทำขึ้นจากส่วนหน้าอกของเต่าและเปลือกหอย

 

ความพิเศษของแหล่งโบราณบ้านพรหมทินใต้ในแง่เศรษฐกิจ นักโบราณคดีมองว่ามีการติดต่อกับต่างประเทศทั้งในภาคของการนำเข้า เช่น เครื่องประดับและของใช้ ส่วนในภาคการส่งออก จะเป็นพวกแร่และพืชทางการเกษตรในทุกชั้นวัฒนธรรม ที่แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และที่บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี มักพบโลหะที่ถูกแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่ได้เน้นทำเป็นอาวุธ ส่วนใหญ่ทำเครื่องประดับและเสื้อผ้า จึงบ่งบอกถึงสภาพสังคม ที่รักสวยรักงามและวัฒนธรรมในการแต่งกาย ที่สำคัญในเกือบทุกชั้นดิน หรือชั้นวัฒนธรรม มักพบเมล็ดข้าว, เปลือกข้าว และต้นข้าว ซึ่งหมายความว่า ในการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละยุค "ข้าว" คืออาวุธสำคัญในการปฏิวัติสังคมนั่นเอง



ความยาว (นาที:วินาที) :
46:30
เผยแพร่เมื่อ :
3 กรกฎาคม 2565
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
ลพบุรี แหล่งโบราณคดีพรหมทินใต้ เส้นทางการค้า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว
จำนวนผู้เข้าชม :
383
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
4 ก.ค. 2565


Videos Playlist
image
"โฉกครรคยาร์" ราชธานีแห่งอาณาจักรพระนครที่ถูกลืม I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.261
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : มนตรี ชมชิดนุด
15 มี.ค. 2025
28:53 (นาที:วินาที)
image
จารึกพระเจ้าอโศก ไม่เคยส่งพระโสณะ พระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.257
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตํารา
วิทยากร/ผู้แสดง : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, วรณัย พงศาชลากร
25 ม.ค. 2568
33:54 (นาที:วินาที)
image
Crafting History: Reviving the Ninth Century Ancient Sewn-Ship with a Replica
ผู้ผลิต : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
วิทยากร/ผู้แสดง : วสันต์ เทพสุริยานนท์, วงศกร ระโหฐาน, พรนัชชา สังขืประสิทธิ์, สมเกียรติ คุ้มรักษา,
6 ต.ค. 2023
10:11 (นาที:วินาที)
image
Phanom-Surin: A Replica of a 9th-Century Sewn Ship
ผู้ผลิต : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
วิทยากร/ผู้แสดง :
3 เม.ย. 2024
10:12 (นาที:วินาที)
image
The Siam Society Lecture: ภาพสันนิษฐานโบราณสถานเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ผลิต : The Siam Society Under Royal Patronage
วิทยากร/ผู้แสดง : เชษฐ์ ติงสัญชลี, ปติสร เพ็ญสุต
7 ก.พ. 2024
1:48:27 (นาที:วินาที)