ผู้ผลิต | ประวัติศาสตร์นอกตำรา |
วิทยากร/ผู้แสดง | ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี, วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, สิงห์คำ ดวงดอก, ภูเดช แสนสา, อุบลรัตน์ ใจใหญ่, ยอดดนัย สุขเกษม |
เรื่องย่อ |
ผีในวัฒนธรรมความเชื่อของชาวล้านนา แตกต่างจากผีในจินตนาการของคนทั่วไป เพราะผีล้านนามีลักษณะเป็นดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่คอยคุ้มครองดูแลผู้คน ตลอดจนปกปักษ์รักษาสังคมชุมชนให้อยู่รอดปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย ประเพณีเลี้ยงผีของชาวล้านนา นิยมจัดขึ้นในเดือน 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติ ปัจจุบันมักตรงกับเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นห้วงเวลาก่อนเข้าฤดูกาลเพาะปลูก เพื่อให้เราเข้าใจถึงประเพณีเลี้ยงผีของชาวล้านนาให้ดียิ่งขึ้น วันนี้ประวัติศาสตร์นอกตำราออกเดินทางไปยัง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ที่ยังคงสืบสานประเพณีเลี้ยงผีเอาไว้อย่างเหนียวแน่น อันได้แก่ พิธีการเลี้ยงผีบ้านผีเมืองบูชาบรรพกษัตริย์ของเมืองเชียงใหม่ พิธีเลี้ยงดง ปู่แสะย่าแสะที่เชิงดอยคำ นอกเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ไปราว 10 กม. หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าการเลี้ยงผีเป็นเรื่องลี้ลับไร้เหตุผล เป็นดั่งโรงละครฉากใหญ่ แต่หากเราเปิดใจเพื่อรับฟัง พิธีกรรมเลี้ยงผีได้สร้างสามัญสำนึกให้ผู้คนเกรงกลัวในการทำบาป พิธีกรรมเลี้ยงผียังเปรียบเสมือนเอกสารประวัติศาสตร์ฉบับมีชีวิต ที่สะท้อนความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างผู้คนกับทรัพยากรธรรมชาติ และระหว่างชุมชนกับบรรพบุรุษ อีกทั้งยังเป็นการเปิดพื้นที่ด้วยความเคารพให้วัฒนธรรมพื้นถิ่นได้อธิบายเหตุผลด้วยตัวของมันเอง |
ความยาว | 49:51 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | เชียงใหม่ ล้านนา ปูแสะย่าแสะ พิธีเลี้ยงดง |
ผีในวัฒนธรรมความเชื่อของชาวล้านนา แตกต่างจากผีในจินตนาการของคนทั่วไป เพราะผีล้านนามีลักษณะเป็นดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่คอยคุ้มครองดูแลผู้คน ตลอดจนปกปักษ์รักษาสังคมชุมชนให้อยู่รอดปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้าย ประเพณีเลี้ยงผีของชาวล้านนา นิยมจัดขึ้นในเดือน 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติ ปัจจุบันมักตรงกับเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นห้วงเวลาก่อนเข้าฤดูกาลเพาะปลูก เพื่อให้เราเข้าใจถึงประเพณีเลี้ยงผีของชาวล้านนาให้ดียิ่งขึ้น วันนี้ประวัติศาสตร์นอกตำราออกเดินทางไปยัง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สถานที่ที่ยังคงสืบสานประเพณีเลี้ยงผีเอาไว้อย่างเหนียวแน่น อันได้แก่ พิธีการเลี้ยงผีบ้านผีเมืองบูชาบรรพกษัตริย์ของเมืองเชียงใหม่ พิธีเลี้ยงดง ปู่แสะย่าแสะที่เชิงดอยคำ นอกเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ไปราว 10 กม. หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าการเลี้ยงผีเป็นเรื่องลี้ลับไร้เหตุผล เป็นดั่งโรงละครฉากใหญ่ แต่หากเราเปิดใจเพื่อรับฟัง พิธีกรรมเลี้ยงผีได้สร้างสามัญสำนึกให้ผู้คนเกรงกลัวในการทำบาป พิธีกรรมเลี้ยงผียังเปรียบเสมือนเอกสารประวัติศาสตร์ฉบับมีชีวิต ที่สะท้อนความสัมพันธ์ลึกซึ้งระหว่างผู้คนกับทรัพยากรธรรมชาติ และระหว่างชุมชนกับบรรพบุรุษ อีกทั้งยังเป็นการเปิดพื้นที่ด้วยความเคารพให้วัฒนธรรมพื้นถิ่นได้อธิบายเหตุผลด้วยตัวของมันเอง