ผู้ผลิต :
ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง :
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, นฤพล หวังธงชัยเจริญ, สมจิตร จันเสน
เรื่องย่อ :
ลูกปัดและเครื่องประดับที่ผลิตในสุวรรณภูมินั้นส่งไปขายที่ใดบ้าง เป็นเรื่องที่ชวนตั้งคำถาม อีกทั้งขอบเขตของสุวรรณภูมินั้นไม่ใช่เฉพาะในเขตคาบสมุทรไทย-มาเลย์เท่านั้น แต่ยังกินความถึงดินแดนอื่นๆ อีกด้วย ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาหรือภาคกลางได้เป็นส่วนหนึ่งของการค้าบนเส้นทางสายไหมเช่นกัน ทำให้เกิดชุมชนโบราณต่างๆ นานามากมาย ซึ่งชุมชนเหล่านี้คงรับสินค้าจากภาคใต้มาใช้ด้วย ในขณะเดียวกันก็นำเข้าสินค้าจากอินเดีย จีน และยังผลิตลูกปัดเอง ความมั่งคั่งจากการค้าและการผลิตเครื่องประดับนี้เอง ทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนขึ้นเป็นบ้านเมืองในยุคเริ่มแรก ซึ่งนักประวัติศาสตร์ในอดีตเรียกว่า “ฟูนัน” เช่น จันเสนที่พบร่องรอย คล้ายกันกับที่เมืองออกแก้ว ประเทศเวียดนาม ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 บ้านเมืองในยุคสุวรรณภูมิก็เกิดการรวมกลุ่มพัฒนาขึ้นเป็นรัฐแรกเริ่มที่เรียกกันว่า “ทวารวดี” ในบรรดาบ้านเมืองทวารวดีทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นนครปฐม ลพบุรี เป็นต้น นครสวรรค์เป็นพื้นที่มีความน่าสนใจ เพราะพบหลักฐานร่วมกันกับภาคใต้และภาคอื่นๆ หลายอย่าง พื้นที่ จ. นครสวรรค์ในอดีต เปรียบได้กับชุมทางการค้าตอนในของแผ่นดินที่เชื่อมโยงภาคกลางตอนล่างและภาคเหนือเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้ดูจะไม่ต่างจากในปัจจุบันสักเท่าใดนัก
ความยาว (นาที:วินาที) :
42:44
เผยแพร่เมื่อ :
14 มิถุนายน 2568
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
สุวรรณภูมิ
ลพบุรี
ทวารวดี
จันเสน
นครสวรรค์
นครปฐม
จำนวนผู้เข้าชม :
8
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
19 ก.ค. 2568