ผู้ผลิต | ประวัติศาสตร์นอกตำรา |
วิทยากร/ผู้แสดง | พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, ชวลิต ขาวเขียว, เอกณัฐ รุ่งศิลป์อัญญาภรณ์, บุญฤทธิ์ ฉายสุวรรณ |
เรื่องย่อ |
การเดินทางในยุคแรกเริ่มบนเส้นทางการค้าสายไหม ไม่ได้ใช้วิธีการอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา แต่ใช้วิธีการเดินทางข้ามคาบสมุทรไทย-มาเลย์ เนื่องจากใช้ระยะเวลาสั้นกว่าและปลอดภัยจากโจรสลัด เชื่อได้ว่าเหล่าพ่อค้าจากต่างแดนต้องอาศัยทักษะการนำทางจากคนพื้นเมือง ส่งผลให้เส้นทางข้ามคาบสมุทรในภาคใต้มีบทบาทอย่างสูงในการกระจายสินค้าระหว่างคาบสมุทรจนก่อเกิดชุมชนบ้านเมืองขึ้นตลอดทั้งสองชายฝั่งทะเล แม้ว่าในบางจุดจะยังคงเป็นปริศนาถึงระยะเวลาการกำเนิดของบ้านเมืองอยู่ก็ตาม เส้นทางยุคแรกเริ่มเมื่อ 2,500 ปีก่อนจะใช้บริเวณคอคอดกระหลัก จากนั้นลงมาในแนวคลองท่อม จ.กระบี่ ถึงระโนด จ.สุราษฎร์ธานี ต่อมาเมื่อเกิดรัฐศรีวิชัยขึ้น เส้นทางคอคอดกระได้ค่อยๆ หมดความสำคัญลง ทำให้เส้นทางในแนวตั้งแต่เกาะคอเขา จ.พังงา และเขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี และทางใต้ต่ำลงไปอีกหลายแห่งเจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ สารคดีตอนนี้นำเสนอข้อมูลในเชิงสำรวจและให้ข้อมูลหลักฐานบนเส้นทางหลักที่ใช้เดินทางข้ามคาบสมุทรจำนวน 10 เส้นทางที่ใช้กันในยุคแรกเริ่มก่อนสมัยรัฐศรีวิชัย ประกอบด้วย เส้นทางที่ 1 ข้ามคอคอดกระ (ขะเมายี-ระนอง-ชุมพร) เส้นทางที่ 2 กะเปอร์ จ.ระนอง-หลังสวน จ.ชุมพร เส้นทางที่ 3 ภูเขาทอง/บางกล้วยนอก จ.ระนอง-แหล่งโบราณคดีท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เส้นทางที่ 4 คุระบุรี จ.พังงา-เขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี เส้นทางที่ 5 เกาะคอเขา จ.พังงา-เขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี เส้นทางที่ 6 คลองท่อม จ.กระบี่-เขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี เส้นทางที่ 7 คลองท่อม จ.กระบี่-ระโนด จ.สงขลา เส้นทางที่ 8 สตูล-ทะเลสาบสงขลา เส้นทางที่ 9 เปอร์ลิส-เจดีย์น้อย จ.สงขลา เส้นทางที่ 10 เคดะห์ มาเลเซีย-ยะรัง (ปัตตานี) |
ความยาว | 59:42 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | สุวรรณภูมิ เขาศรีวิชัย คอคอดกระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เคดะห์ คลองท่อม ภูเขาทอง เกาะคอเขา จังหวัดระนอง สงขลา กระบี พังงา ภูเก็ต ปัตตานี ขะเมายี เปอร์ลิส ยะรัง ท่าชนะ สตูล |
การเดินทางในยุคแรกเริ่มบนเส้นทางการค้าสายไหม ไม่ได้ใช้วิธีการอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา แต่ใช้วิธีการเดินทางข้ามคาบสมุทรไทย-มาเลย์ เนื่องจากใช้ระยะเวลาสั้นกว่าและปลอดภัยจากโจรสลัด เชื่อได้ว่าเหล่าพ่อค้าจากต่างแดนต้องอาศัยทักษะการนำทางจากคนพื้นเมือง ส่งผลให้เส้นทางข้ามคาบสมุทรในภาคใต้มีบทบาทอย่างสูงในการกระจายสินค้าระหว่างคาบสมุทรจนก่อเกิดชุมชนบ้านเมืองขึ้นตลอดทั้งสองชายฝั่งทะเล แม้ว่าในบางจุดจะยังคงเป็นปริศนาถึงระยะเวลาการกำเนิดของบ้านเมืองอยู่ก็ตาม เส้นทางยุคแรกเริ่มเมื่อ 2,500 ปีก่อนจะใช้บริเวณคอคอดกระหลัก จากนั้นลงมาในแนวคลองท่อม จ.กระบี่ ถึงระโนด จ.สุราษฎร์ธานี ต่อมาเมื่อเกิดรัฐศรีวิชัยขึ้น เส้นทางคอคอดกระได้ค่อยๆ หมดความสำคัญลง ทำให้เส้นทางในแนวตั้งแต่เกาะคอเขา จ.พังงา และเขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี และทางใต้ต่ำลงไปอีกหลายแห่งเจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ สารคดีตอนนี้นำเสนอข้อมูลในเชิงสำรวจและให้ข้อมูลหลักฐานบนเส้นทางหลักที่ใช้เดินทางข้ามคาบสมุทรจำนวน 10 เส้นทางที่ใช้กันในยุคแรกเริ่มก่อนสมัยรัฐศรีวิชัย ประกอบด้วย
เส้นทางที่ 1 ข้ามคอคอดกระ (ขะเมายี-ระนอง-ชุมพร)
เส้นทางที่ 2 กะเปอร์ จ.ระนอง-หลังสวน จ.ชุมพร
เส้นทางที่ 3 ภูเขาทอง/บางกล้วยนอก จ.ระนอง-แหล่งโบราณคดีท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
เส้นทางที่ 4 คุระบุรี จ.พังงา-เขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี
เส้นทางที่ 5 เกาะคอเขา จ.พังงา-เขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี
เส้นทางที่ 6 คลองท่อม จ.กระบี่-เขาศรีวิชัย จ.สุราษฎร์ธานี
เส้นทางที่ 7 คลองท่อม จ.กระบี่-ระโนด จ.สงขลา
เส้นทางที่ 8 สตูล-ทะเลสาบสงขลา
เส้นทางที่ 9 เปอร์ลิส-เจดีย์น้อย จ.สงขลา
เส้นทางที่ 10 เคดะห์ มาเลเซีย-ยะรัง (ปัตตานี)