ผู้ผลิต | ประวัติศาสตร์นอกตำรา |
วิทยากร/ผู้แสดง | เอิบเปรม วัชรางกูร, อภิรดา โกมุท, อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล |
เรื่องย่อ |
ผู้คนต่างถิ่นเดินทางมาสุวรรณภูมิได้อย่างไร มีเส้นทางการเดินเรืออย่างไร ยังเป็นคำถามสำคัญในหมู่นักโบราณคดี นับตั้งแต่ 2,500 ปีมาแล้ว เส้นทางการค้าสายไหมทางทะเลได้เจริญเติบโตขึ้น ส่งผลทำให้ผู้คนจากดินแดนต่างๆ เดินทางมาเทียบท่าในดินแดนที่ถูกขนานนามว่า “สุวรรณภูมิ” เพื่อแสวงหาสินค้าและทรัพยากรสุวรรณภูมิจึงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมเส้นทางการค้าระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นโรมัน อินเดีย และจีน จนก่อให้เกิดบ้านเมืองขึ้น การเดินเรือข้ามภูมิภาคนี้ต้องอาศัยความรู้ที่สั่งสมมานานหลายร้อยหลายพันปีจนเข้าใจกระแสของลมมรสุมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้ ร่องรอยหลักฐานการเดินเรือนี้ได้ถูกทิ้งไว้ผ่านซากเรือโบราณและโบราณวัตถุต่างถิ่นที่เผยให้เห็นเครือข่ายของเส้นทางการค้า และการเคลื่อนย้ายของผู้คน นักเดินเรือชาวเล หรือ “ออสโตรนีเชียน” สมัยโบราณได้เข้ามามีบทบาทการค้าในยุคแรกเริ่มนี้ ดังปรากฏหลักฐานเป็นกลองมโหระทึก และตุ้มหูแบบลิงลิงโอ พวกเขาทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียและจีนเข้าไว้ด้วยกัน พ่อค้าชาวอินเดียเหล่านี้ได้นำสินค้ามีค่ามาแลกเปลี่ยน ใช้เรือขนาดใหญ่ที่ต่อด้วยเทคนิคแบบเข้าเดือยแล่นข้ามมหาสมุทรหรือเลาะชายฝั่ง ดังปรากฏหลักฐานที่ชายหาดปากคลองบางกล้วย จ.ระนอง ในขณะเดียวกันไม่นานนักคนในภูมิภาคนี้ก็พัฒนาเรือต่อขนาดใหญ่ขึ้นมาที่เรียกกันว่า “เรือเครื่องผูก” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการค้าระดับโลกต่อมาอีกนับพันปี ซึ่งนับเป็นภูมิภาคการสร้างเรือของคนในภูมิภาคนี้อย่างแท้จริง |
ความยาว | 28:51 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | สุวรรณภูมิ กลองมโหระทึก เรือเครื่องผูก ตุ้มหูลิงลิงโอ ออสโตรนีเซียน |
ผู้คนต่างถิ่นเดินทางมาสุวรรณภูมิได้อย่างไร มีเส้นทางการเดินเรืออย่างไร ยังเป็นคำถามสำคัญในหมู่นักโบราณคดี นับตั้งแต่ 2,500 ปีมาแล้ว เส้นทางการค้าสายไหมทางทะเลได้เจริญเติบโตขึ้น ส่งผลทำให้ผู้คนจากดินแดนต่างๆ เดินทางมาเทียบท่าในดินแดนที่ถูกขนานนามว่า “สุวรรณภูมิ” เพื่อแสวงหาสินค้าและทรัพยากรสุวรรณภูมิจึงมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมเส้นทางการค้าระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นโรมัน อินเดีย และจีน จนก่อให้เกิดบ้านเมืองขึ้น การเดินเรือข้ามภูมิภาคนี้ต้องอาศัยความรู้ที่สั่งสมมานานหลายร้อยหลายพันปีจนเข้าใจกระแสของลมมรสุมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาสมุทรอินเดีย และทะเลจีนใต้ ร่องรอยหลักฐานการเดินเรือนี้ได้ถูกทิ้งไว้ผ่านซากเรือโบราณและโบราณวัตถุต่างถิ่นที่เผยให้เห็นเครือข่ายของเส้นทางการค้า และการเคลื่อนย้ายของผู้คน นักเดินเรือชาวเล หรือ “ออสโตรนีเชียน” สมัยโบราณได้เข้ามามีบทบาทการค้าในยุคแรกเริ่มนี้ ดังปรากฏหลักฐานเป็นกลองมโหระทึก และตุ้มหูแบบลิงลิงโอ พวกเขาทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียและจีนเข้าไว้ด้วยกัน พ่อค้าชาวอินเดียเหล่านี้ได้นำสินค้ามีค่ามาแลกเปลี่ยน ใช้เรือขนาดใหญ่ที่ต่อด้วยเทคนิคแบบเข้าเดือยแล่นข้ามมหาสมุทรหรือเลาะชายฝั่ง ดังปรากฏหลักฐานที่ชายหาดปากคลองบางกล้วย จ.ระนอง ในขณะเดียวกันไม่นานนักคนในภูมิภาคนี้ก็พัฒนาเรือต่อขนาดใหญ่ขึ้นมาที่เรียกกันว่า “เรือเครื่องผูก” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการค้าระดับโลกต่อมาอีกนับพันปี ซึ่งนับเป็นภูมิภาคการสร้างเรือของคนในภูมิภาคนี้อย่างแท้จริง