หน้าแรก วิดีโอ มหาวิหารถ้ำอชันตา พลังศรัทธาแห่งพุทธศาสนา I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.262

มหาวิหารถ้ำอชันตา พลังศรัทธาแห่งพุทธศาสนา I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.262

ผู้ผลิต ประวัติศาสตร์นอกตำรา
เรื่องย่อ

นานกว่า 2 ศตวรรษแล้วที่ จอห์น สมิธ นายทหารชาวอังกฤษ ได้เข้ามาล่าเสือที่เทือกเขาอชันตา แห่งรัฐมหาราษฎร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียในปี พ.ศ. 2362 ตรงกับช่วงปลายสมัย ร. 2 ของไทย เหตุการณ์คราวนั้นนำมาสู่เหตุการณ์ครั้งสำคัญโดยบังเอิญ นั่นคือการค้นพบกลุ่มคูหาถ้ำจำนวนมาก ทั้งเถรวาท และมหายานที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลกมีอายุกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว แต่ละคูหาถ้ำล้วนเต็มไปด้วยความงดงามอลังการทั้งสถาปัตยกรรม และจิตรกรรม แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือการช่วยเติมเต็มเรื่องราวทางพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เทือกเขาหินบะซอลต์ที่เกิดจากภูเขาไฟทั้งลูกถูกเจาะสกัดให้กลายเป็นวัด วิหาร กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ ด้วยเครื่องมือง่าย ๆ เท่าที่มนุษย์ในโลกยุคโบราณจะหาได้ ทั้งหมดสะท้อนถึงความวิริยะอุตสาหะ และพลังบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในตัวผู้รังสรรค์สิ่งมหัศจรรย์เหล่านี้ขึ้น คูหาถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดเริ่มสร้างครั้งแรกบริเวณตอนกลางหน้าผา ก่อนจะค่อย ๆ สร้างต่อขยายออกไปทางทิศตะวันตก และตะวันออก รวมทั้งสิ้น 30 คูหา คูหาถ้ำเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นใน 2 ช่วงเวลา ระยะแรกสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 350–550 หรือราวพุทธศตวรรษที่ 4-6 ในยุคที่พุทธศาสนานิกายหินยาน หรือเถรวาทรุ่งเรือง ภายใต้การอุปถัมภ์โดยกษัตริย์ และคหบดีในช่วงราชวงศ์สาตวาหนะที่ปกครองพื้นที่บริเวณรัฐมหาราษฏร์ ก่อนที่พุทธแบบเถรวาทจะเริ่มเสื่อมความนิยมลง คูหาถ้ำได้รับการฟื้นฟู และก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีกในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 10-13 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์วกาฏกะ พร้อมการเข้ามาของศาสนาพุทธนิกายมหายานซึ่งกำลังรุ่งเรือง ดังนั้นคูหาถ้ำทั้ง 30 แห่ง ในอชันตาจึงแบ่งเป็นถ้ำพุทธเถรวาทที่สร้างขึ้นในยุคแรกอายุราว 2,200 ปี จำนวน 6 แห่ง และถ้ำยุคที่ 2 ที่เป็นพุทธแบบมหายาน อายุราว 1,600 ปีลงมาอีกจำนวน 24 แห่ง ในราว พ.ศ. 1400 ลงมา เมื่อพุทธศาสนาในอินเดียเริ่มเสื่อมลง หมู่ถ้ำอชันตาก็ถูกทิ้งร้างให้กลืนหายไปท่ามกลางป่าเขา และสาบสูญไปจากความจดจำของโลก กระทั่งเมื่อ 200 ปีที่แล้ว อชันตาได้ถูกค้นพบอีกครั้ง พร้อมกับการเผยให้เห็นถึงพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ทั้งหมดไม่เพียงทำให้ต่อมา อชันตาจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การ UNESCO แต่ที่มากกว่านั้น..อชันตาคือจุดเชื่อมโยงอันทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และปรัชญาอันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

ความยาว 18:35 นาที
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ พุทธศาสนา อินเดีย ถ้ำอชันตา มหายาน เถรวาท

จำนวนผู้เข้าชม

91

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

26 มี.ค. 2568

วิดีโอแนะนำ


มหาวิหารถ้ำอชันตา พลังศรัทธาแห่งพุทธศาสนา I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.262
ผู้ผลิต :
ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง :
เรื่องย่อ :

นานกว่า 2 ศตวรรษแล้วที่ จอห์น สมิธ นายทหารชาวอังกฤษ ได้เข้ามาล่าเสือที่เทือกเขาอชันตา แห่งรัฐมหาราษฎร์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดียในปี พ.ศ. 2362 ตรงกับช่วงปลายสมัย ร. 2 ของไทย เหตุการณ์คราวนั้นนำมาสู่เหตุการณ์ครั้งสำคัญโดยบังเอิญ นั่นคือการค้นพบกลุ่มคูหาถ้ำจำนวนมาก ทั้งเถรวาท และมหายานที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลกมีอายุกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว แต่ละคูหาถ้ำล้วนเต็มไปด้วยความงดงามอลังการทั้งสถาปัตยกรรม และจิตรกรรม แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือการช่วยเติมเต็มเรื่องราวทางพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เทือกเขาหินบะซอลต์ที่เกิดจากภูเขาไฟทั้งลูกถูกเจาะสกัดให้กลายเป็นวัด วิหาร กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ ด้วยเครื่องมือง่าย ๆ เท่าที่มนุษย์ในโลกยุคโบราณจะหาได้ ทั้งหมดสะท้อนถึงความวิริยะอุตสาหะ และพลังบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในตัวผู้รังสรรค์สิ่งมหัศจรรย์เหล่านี้ขึ้น คูหาถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดเริ่มสร้างครั้งแรกบริเวณตอนกลางหน้าผา ก่อนจะค่อย ๆ สร้างต่อขยายออกไปทางทิศตะวันตก และตะวันออก รวมทั้งสิ้น 30 คูหา คูหาถ้ำเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นใน 2 ช่วงเวลา ระยะแรกสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 350–550 หรือราวพุทธศตวรรษที่ 4-6 ในยุคที่พุทธศาสนานิกายหินยาน หรือเถรวาทรุ่งเรือง ภายใต้การอุปถัมภ์โดยกษัตริย์ และคหบดีในช่วงราชวงศ์สาตวาหนะที่ปกครองพื้นที่บริเวณรัฐมหาราษฏร์ ก่อนที่พุทธแบบเถรวาทจะเริ่มเสื่อมความนิยมลง คูหาถ้ำได้รับการฟื้นฟู และก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นอีกในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 10-13 ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์วกาฏกะ พร้อมการเข้ามาของศาสนาพุทธนิกายมหายานซึ่งกำลังรุ่งเรือง ดังนั้นคูหาถ้ำทั้ง 30 แห่ง ในอชันตาจึงแบ่งเป็นถ้ำพุทธเถรวาทที่สร้างขึ้นในยุคแรกอายุราว 2,200 ปี จำนวน 6 แห่ง และถ้ำยุคที่ 2 ที่เป็นพุทธแบบมหายาน อายุราว 1,600 ปีลงมาอีกจำนวน 24 แห่ง ในราว พ.ศ. 1400 ลงมา เมื่อพุทธศาสนาในอินเดียเริ่มเสื่อมลง หมู่ถ้ำอชันตาก็ถูกทิ้งร้างให้กลืนหายไปท่ามกลางป่าเขา และสาบสูญไปจากความจดจำของโลก กระทั่งเมื่อ 200 ปีที่แล้ว อชันตาได้ถูกค้นพบอีกครั้ง พร้อมกับการเผยให้เห็นถึงพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ทั้งหมดไม่เพียงทำให้ต่อมา อชันตาจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การ UNESCO แต่ที่มากกว่านั้น..อชันตาคือจุดเชื่อมโยงอันทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และปรัชญาอันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง



ความยาว (นาที:วินาที) :
18:35
เผยแพร่เมื่อ :
26 มี.ค. 2025
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
พุทธศาสนา อินเดีย ถ้ำอชันตา มหายาน เถรวาท
จำนวนผู้เข้าชม :
91
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
15 เม.ย. 2568


Videos Playlist
image
ปราสาทตาเมือนธม รอยเท้าแห่งพระศิวะ ระเบิดเวลาบนเส้นพรมแดน I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.279
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : กังวล คัชชิมา, ทนงศักดิ์ หาญวงษ์
18 กรกฎาคม 2568
41:31 (นาที:วินาที)
image
เลี้ยงผี กับวิถีล้านนา I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.277
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี, วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์, สิงห์คำ ดวงดอก, ภูเดช แสนสา, อุบลรัตน์ ใจใหญ่, ยอดดนัย สุขเกษม
28 มิถุนายน 2568
49:51 (นาที:วินาที)
image
สด๊กก๊อกธม ปราสาทหินแห่งปลายเเดนบูรพา ไทย- กัมพูชา I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.278
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง :
5 กรกฎาคม 2568
20:55 (นาที:วินาที)
image
สิ้นสุดสุวรรณภูมิ สู่การเริ่มต้นรัฐใหม่ Iสารคดีชุด "ตามรอยสุวรรณภูมิ" 6/6ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.276
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, คุณากร วาณิชย์วิรุฬห์, นงคราญ สุขสม, ชวลิต ขาวเขียว, ตรงใจ หุตางกูร
21 มิถุนายน 2568
24:59 (นาที:วินาที)
image
เปิดเมืองโบราณ เครือขายการค้าตอนใน I สารคดีชุด "ตามรอยสุวรรณภูมิ" 5/6ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.274
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : พิพัฒน์ กระแจะจันทร์, นฤพล หวังธงชัยเจริญ, สมจิตร จันเสน
14 มิถุนายน 2568
42:44 (นาที:วินาที)