หน้าแรก วิดีโอ "โฉกครรคยาร์" ราชธานีแห่งอาณาจักรพระนครที่ถูกลืม I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.261

"โฉกครรคยาร์" ราชธานีแห่งอาณาจักรพระนครที่ถูกลืม I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.261

ผู้ผลิต ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง มนตรี ชมชิดนุด
เรื่องย่อ

[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] เรื่องราวของมหาปีระมิด และปราสาทหินมากมายที่ซ่อนตัวอยู่กลางพงไพรของกัมพูชามายาวนานหลายร้อยปี “นครโฉกครรคยาร์” เมืองโบราณในพุทธศตวรรษที่ 15 หรือเมื่อกว่าพันปีที่แล้ว ถูกค้นพบในช่วงทศวรรษที่ 2400 โดย หลุยส์ เดอลาปอร์ต นักเดินทางชาวฝรั่งเศส นับเป็นครั้งแรกของการเปิดเผยนครที่เคยสาบสูญออกสู่โลกตะวันตก ซึ่งครั้งหนึ่งที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางในฐานะราชธานีแห่งอาณาจักรพระนครอันยิ่งใหญ่ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 กษัตริย์ผู้สร้าง “ศรียโศธรปุระ” พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ยุวกษัตริย์ผู้อ่อนแอขึ้นสืบต่อราชบัลลังก์ ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับขั้วอำนาจใหม่ของชาวจาม ที่ตั้งชุมชนอยู่ใกล้ปากแม่น้ำโขง ชัยสิงหวรมัน ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 แม่ทัพคนสำคัญที่มีบทบาทมาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 และยังเป็นพระญาติสนิทที่ไว้วางพระทัยมากที่สุดในอาณาจักร ได้เริ่มนำผู้คนและไพร่พลจำนวนมาก อพยพออกจากยโศธรปุระ กลับสู่บ้านเกิดที่โฉกครรคยาร์ในเขตป่าทางตอนเหนือ การตัดสินพระทัยตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เกาะแกร์อาจเป็นเพราะพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ทรงต้องการหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกับราชวงศ์เดิม แต่ที่สำคัญกว่านั้นการอพยพเข้าสู่ดินแดนตอนในของอาณาจักรยังสามารถสร้างแนวป้องกันการรุกรานจากพวกจามได้ดีกว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 โปรดให้ก่อสร้างเมืองขนาดใหญ่ขึ้น ประกอบไปด้วย บาราย และศาสนสถานพราหมณ์ฮินดูราว 40 แห่งในรัชสมัยของพระองค์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่รูปแบบสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมยุคใหม่ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เรียกว่า “ศิลปะเกาะแกร์” ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่โต และเต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวอันทรงพลังอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์กัมพูชาโบราณ ท่ามกลางหมู่มวลปราสาทที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 “ปราสาทธม” ก่อสร้างด้วยหินทรายขนาดใหญ่รูปทรงปีรามิดจำนวน 7 ชั้น มีความสูงทั้งสิ้น 38 เมตร ด้านบนของปราสาทธมเคยเป็นที่ประดิษฐานของมหาศิวลึงค์ ตามจารึกที่ระบุพระนามว่า “ตรีภูวเนศวร” ปราสาทธมนับเป็นปราสาทที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นสถานที่สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรพระนคร และสุดท้ายพระองค์จะต้องเสด็จกลับมาที่นี่อีกครั้งหลังสวรรคต โดยพราหมณ์จะเชิญพระบรมอัฐิมาประกอบพิธีกรรม เพื่อให้พระองค์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้า เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระราชโอรสได้เสด็จขึ้นสืบต่อราชสมบัติอีกเพียง 3 ปี ก็ถูกเจ้าชายราเชนทรช่วงชิงอำนาจ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็น “พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2” หลังจากนั้นทรงย้ายราชธานีจากเมืองโฉกครรคยาร์หรือเกาะแกร์ กลับไปยัง “ศรียโสธรปุระ” ดังเดิม ปิดฉากราชธานีที่เคยยิ่งใหญ่ช่วงหนึ่งของอาณาจักรพระนครลงด้วยระยะเวลาเพียง 23 ปี การตัดสินพระทัยย้ายราชธานีกลับไปยังศรียโศธรปุระของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ส่วนหนึ่งอาจมาจากเกาะแกร์ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูงอันแห้งแล้ง บารายที่เริ่มตื้นเขิน การเพาะปลูกไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนเคย เมื่อชุมชนขาดกำลังคนหลังการย้ายเมือง ศาสนสถานต่าง ๆ จึงเริ่มถูกทิ้งร้างไป นครโฉกครรคยาร์หรือเกาะแกร์ไม่ได้ร้างผู้คนไปโดยสิ้นเชิงอย่างที่เคยเข้าใจกัน หากแต่ถูกลดบทบาทลงเป็นเมืองที่ทำหน้าที่ควบคุมเส้นทางหลักของพระราชอาณาจักร อย่างน้อยก็จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 หรืออีกกว่า 200 ปีต่อมา ดังปรากฏหลักฐานคือ ปราสาทอันดงกุก (Prasat Andong Kuk) ทำหน้าที่เป็นอโรคยศาลาบนเส้นทางราชมรรคา เส้นทางถนนโบราณ 1 ใน 5 สาย ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากเมืองพระนครไปยังวัดภู ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเขตตอนใต้ของ สปป.ลาว เกาะแกร์ยังมีผู้คนอยู่อาศัยอยู่สืบเนื่องต่อมาอีกหลายร้อยปี ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไปจริง ๆ ราวหลังพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่ออาณาจักรพระนครค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง ป่าดงพงไพรได้เริ่มเข้าครอบครองโฉกครรคยาร์จนกลายเป็นราชธานีที่ถูกหลงลืม กระทั่งเมื่อราวร้อยกว่าปีที่ผ่านมา นักโบราณคดีฝรั่งเศสได้ค้นพบบรรดาซากปราสาทหินมหึมากลางดงป่า มนต์ตราแห่งราชธานีเกาะแกร์จึงได้ถูกเปิดเผยขึ้นอีกครั้ง เมื่อสงครามกลางเมืองกัมพูชาจบสิ้นลง การฟื้นฟูบูรณะเกาะแกร์จึงได้เริ่มต้นขึ้น กระทั่งวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2566 การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 45 ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย องค์กรยูเนสโกได้ประกาศให้เมืองเกาะแกร์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมลำดับที่ 4 ของราชอาณาจักรกัมพูชาพร้อม ๆ กับเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ของประเทศไทย ถึงแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2 ทศวรรษที่เกาะแกร์ได้ทำหน้าที่ราชธานีของอาณาจักรพระนครอันยิ่งใหญ่ แต่ทุกสิ่งที่อุบัติขึ้นที่นี่ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจที่ส่งอิทธิพลต่อการแสดงออกทางศิลปะของทั้งอาณาจักรเมืองนครในช่วงเวลาต่อมา รวมถึงอาณาจักรใกล้เคียงในภูมิภาคอุษาคเนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างที่ไม่อาจปฏิเสธได้

ความยาว 28:53 นาที
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ เขมรสมัยพระนคร โฉกครรคยาร์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ปราสาทธม เกาะแกร์

จำนวนผู้เข้าชม

40

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

17 มี.ค. 2568

วิดีโอแนะนำ

Crafting History: Reviving the Ninth Century Ancient Sewn-Ship with a Replica

ผู้ผลิต กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
66

Phanom-Surin: A Replica of a 9th-Century Sewn Ship

ผู้ผลิต กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
74

"โฉกครรคยาร์" ราชธานีแห่งอาณาจักรพระนครที่ถูกลืม I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.261
ผู้ผลิต :
ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง :
มนตรี ชมชิดนุด
เรื่องย่อ :

[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] เรื่องราวของมหาปีระมิด และปราสาทหินมากมายที่ซ่อนตัวอยู่กลางพงไพรของกัมพูชามายาวนานหลายร้อยปี “นครโฉกครรคยาร์” เมืองโบราณในพุทธศตวรรษที่ 15 หรือเมื่อกว่าพันปีที่แล้ว ถูกค้นพบในช่วงทศวรรษที่ 2400 โดย หลุยส์ เดอลาปอร์ต นักเดินทางชาวฝรั่งเศส นับเป็นครั้งแรกของการเปิดเผยนครที่เคยสาบสูญออกสู่โลกตะวันตก ซึ่งครั้งหนึ่งที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางในฐานะราชธานีแห่งอาณาจักรพระนครอันยิ่งใหญ่ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 กษัตริย์ผู้สร้าง “ศรียโศธรปุระ” พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ยุวกษัตริย์ผู้อ่อนแอขึ้นสืบต่อราชบัลลังก์ ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับขั้วอำนาจใหม่ของชาวจาม ที่ตั้งชุมชนอยู่ใกล้ปากแม่น้ำโขง ชัยสิงหวรมัน ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 แม่ทัพคนสำคัญที่มีบทบาทมาตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 และยังเป็นพระญาติสนิทที่ไว้วางพระทัยมากที่สุดในอาณาจักร ได้เริ่มนำผู้คนและไพร่พลจำนวนมาก อพยพออกจากยโศธรปุระ กลับสู่บ้านเกิดที่โฉกครรคยาร์ในเขตป่าทางตอนเหนือ การตัดสินพระทัยตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เกาะแกร์อาจเป็นเพราะพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ทรงต้องการหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งกับราชวงศ์เดิม แต่ที่สำคัญกว่านั้นการอพยพเข้าสู่ดินแดนตอนในของอาณาจักรยังสามารถสร้างแนวป้องกันการรุกรานจากพวกจามได้ดีกว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 โปรดให้ก่อสร้างเมืองขนาดใหญ่ขึ้น ประกอบไปด้วย บาราย และศาสนสถานพราหมณ์ฮินดูราว 40 แห่งในรัชสมัยของพระองค์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่รูปแบบสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมยุคใหม่ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เรียกว่า “ศิลปะเกาะแกร์” ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่โต และเต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวอันทรงพลังอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์กัมพูชาโบราณ ท่ามกลางหมู่มวลปราสาทที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 “ปราสาทธม” ก่อสร้างด้วยหินทรายขนาดใหญ่รูปทรงปีรามิดจำนวน 7 ชั้น มีความสูงทั้งสิ้น 38 เมตร ด้านบนของปราสาทธมเคยเป็นที่ประดิษฐานของมหาศิวลึงค์ ตามจารึกที่ระบุพระนามว่า “ตรีภูวเนศวร” ปราสาทธมนับเป็นปราสาทที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นสถานที่สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรพระนคร และสุดท้ายพระองค์จะต้องเสด็จกลับมาที่นี่อีกครั้งหลังสวรรคต โดยพราหมณ์จะเชิญพระบรมอัฐิมาประกอบพิธีกรรม เพื่อให้พระองค์รวมเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้า เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 พระราชโอรสได้เสด็จขึ้นสืบต่อราชสมบัติอีกเพียง 3 ปี ก็ถูกเจ้าชายราเชนทรช่วงชิงอำนาจ และสถาปนาตนเองขึ้นเป็น “พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2” หลังจากนั้นทรงย้ายราชธานีจากเมืองโฉกครรคยาร์หรือเกาะแกร์ กลับไปยัง “ศรียโสธรปุระ” ดังเดิม ปิดฉากราชธานีที่เคยยิ่งใหญ่ช่วงหนึ่งของอาณาจักรพระนครลงด้วยระยะเวลาเพียง 23 ปี การตัดสินพระทัยย้ายราชธานีกลับไปยังศรียโศธรปุระของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ส่วนหนึ่งอาจมาจากเกาะแกร์ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูงอันแห้งแล้ง บารายที่เริ่มตื้นเขิน การเพาะปลูกไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนเคย เมื่อชุมชนขาดกำลังคนหลังการย้ายเมือง ศาสนสถานต่าง ๆ จึงเริ่มถูกทิ้งร้างไป นครโฉกครรคยาร์หรือเกาะแกร์ไม่ได้ร้างผู้คนไปโดยสิ้นเชิงอย่างที่เคยเข้าใจกัน หากแต่ถูกลดบทบาทลงเป็นเมืองที่ทำหน้าที่ควบคุมเส้นทางหลักของพระราชอาณาจักร อย่างน้อยก็จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 หรืออีกกว่า 200 ปีต่อมา ดังปรากฏหลักฐานคือ ปราสาทอันดงกุก (Prasat Andong Kuk) ทำหน้าที่เป็นอโรคยศาลาบนเส้นทางราชมรรคา เส้นทางถนนโบราณ 1 ใน 5 สาย ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จากเมืองพระนครไปยังวัดภู ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในเขตตอนใต้ของ สปป.ลาว เกาะแกร์ยังมีผู้คนอยู่อาศัยอยู่สืบเนื่องต่อมาอีกหลายร้อยปี ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไปจริง ๆ ราวหลังพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่ออาณาจักรพระนครค่อย ๆ เสื่อมอำนาจลง ป่าดงพงไพรได้เริ่มเข้าครอบครองโฉกครรคยาร์จนกลายเป็นราชธานีที่ถูกหลงลืม กระทั่งเมื่อราวร้อยกว่าปีที่ผ่านมา นักโบราณคดีฝรั่งเศสได้ค้นพบบรรดาซากปราสาทหินมหึมากลางดงป่า มนต์ตราแห่งราชธานีเกาะแกร์จึงได้ถูกเปิดเผยขึ้นอีกครั้ง เมื่อสงครามกลางเมืองกัมพูชาจบสิ้นลง การฟื้นฟูบูรณะเกาะแกร์จึงได้เริ่มต้นขึ้น กระทั่งวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2566 การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 45 ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย องค์กรยูเนสโกได้ประกาศให้เมืองเกาะแกร์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมลำดับที่ 4 ของราชอาณาจักรกัมพูชาพร้อม ๆ กับเมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ของประเทศไทย ถึงแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2 ทศวรรษที่เกาะแกร์ได้ทำหน้าที่ราชธานีของอาณาจักรพระนครอันยิ่งใหญ่ แต่ทุกสิ่งที่อุบัติขึ้นที่นี่ ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจที่ส่งอิทธิพลต่อการแสดงออกทางศิลปะของทั้งอาณาจักรเมืองนครในช่วงเวลาต่อมา รวมถึงอาณาจักรใกล้เคียงในภูมิภาคอุษาคเนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างที่ไม่อาจปฏิเสธได้



ความยาว (นาที:วินาที) :
28:53
เผยแพร่เมื่อ :
15 มี.ค. 2025
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
เขมรสมัยพระนคร โฉกครรคยาร์ พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ปราสาทธม เกาะแกร์
จำนวนผู้เข้าชม :
40
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
17 มี.ค. 2568


Videos Playlist
image
"โฉกครรคยาร์" ราชธานีแห่งอาณาจักรพระนครที่ถูกลืม I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.261
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง : มนตรี ชมชิดนุด
15 มี.ค. 2025
28:53 (นาที:วินาที)
image
จารึกพระเจ้าอโศก ไม่เคยส่งพระโสณะ พระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.257
ผู้ผลิต : ประวัติศาสตร์นอกตํารา
วิทยากร/ผู้แสดง : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, วรณัย พงศาชลากร
25 ม.ค. 2568
33:54 (นาที:วินาที)
image
Crafting History: Reviving the Ninth Century Ancient Sewn-Ship with a Replica
ผู้ผลิต : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
วิทยากร/ผู้แสดง : วสันต์ เทพสุริยานนท์, วงศกร ระโหฐาน, พรนัชชา สังขืประสิทธิ์, สมเกียรติ คุ้มรักษา,
6 ต.ค. 2023
10:11 (นาที:วินาที)
image
Phanom-Surin: A Replica of a 9th-Century Sewn Ship
ผู้ผลิต : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
วิทยากร/ผู้แสดง :
3 เม.ย. 2024
10:12 (นาที:วินาที)
image
The Siam Society Lecture: ภาพสันนิษฐานโบราณสถานเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ผลิต : The Siam Society Under Royal Patronage
วิทยากร/ผู้แสดง : เชษฐ์ ติงสัญชลี, ปติสร เพ็ญสุต
7 ก.พ. 2024
1:48:27 (นาที:วินาที)