ผู้ผลิต | ประวัติศาสตร์นอกตํารา |
วิทยากร/ผู้แสดง | ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ, วรณัย พงศาชลากร |
เรื่องย่อ |
[ประวัติศาสตร์นอกตํารา] การรับรู้เรื่องราวของพระเจ้าอโศกในหมู่ชาวพุทธเถรวาท ส่วนใหญ่เป็นการรับอิทธิพลจากคัมภีร์พุทธศาสนาของลังกาที่แต่งขึ้นห่างจากเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกถึงราว 700 ปี เช่น "คัมภีร์ทีปวงศ์" คัมภีร์อรรถกถา “สมันตปาสาทิกา” และ "คัมภีร์มหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีป"
ข้อความในคัมภีร์เถรวาทจากลังกาทั้งหลายล้วนไม่สอดคล้องกับหลักฐานจารึกของพระเจ้าอโศกเอง ที่ปัจจุบันค้นพบแล้วทั้งในและนอกอินเดียราว 30 จารึก ซึ่งในทางประวัติศาสตร์ถือว่า จารึกเหล่านี้คือหลักฐานสำคัญ เนื่องจากมีอายุร่วมสมัยเดียวกับพระเจ้าอโศก
จากหลักฐานที่พระเจ้าอโศกที่ได้ทรงให้จารึกขึ้นเองนี้ มีเพียงการส่งคณะทูตออกไปเพื่อแจ้งหลัก "ธรรมวิชัย" ให้แก่บรรดาบ้านเมืองต่าง ๆ ได้รับรู้ หลังพระองค์ทรงเศร้าสลดจากเหตุการณ์สงครามกับแคว้นกลิงคะ ทำให้มีผู้ล้มตายนับแสนคน และพระองค์ได้หันมายึดหลัก "ธรรมวิชัย" ในการปกครอง
ในทางกลับกัน ไม่มีข้อความในจารึกใด ๆ เลยที่ระบุถึงการส่งพระสมณทูต 9 สาย ไปเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้ายังดินแดนต่าง ๆ อย่างที่คัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้แต่งไว้ เหตุใดเรื่องราวการส่งสมณทูต 9 สายไปเผยแผ่พุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่ง "พระโสณะ" และ "พระอุตตระ" มายังดินแดนสุวรรณภูมิ จึงปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของลังกาที่ถูกแต่งขึ้นในราว พ.ศ. 900 หลังยุคพระเจ้าอโศกนานนถึง 700 ปี
ที่สำคัญ...พุทธศาสนาน่าจะเข้ามาประดิษฐานในดินแดนสุวรรณภูมิ และประเทศไทยเมื่อใดกันแน่จากหลักฐานโบราณคดีและเอกสารต่าง ๆ ติดตามได้ในประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน "ไม่มีพระโสณะ-อุตตระ ในจารึกอโศก" |
ความยาว | 33:54 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | สุวรรณภูมิ จารึกพระเจ้าอโศก พระโสณะ พระอุตตระ คัมภีร์ทีปวงศ์ คัมภีร์อรรถกถา สมันตปาสาทิกา คัมภีร์มหาวงศ์ |
[ประวัติศาสตร์นอกตํารา] การรับรู้เรื่องราวของพระเจ้าอโศกในหมู่ชาวพุทธเถรวาท ส่วนใหญ่เป็นการรับอิทธิพลจากคัมภีร์พุทธศาสนาของลังกาที่แต่งขึ้นห่างจากเหตุการณ์ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกถึงราว 700 ปี เช่น "คัมภีร์ทีปวงศ์" คัมภีร์อรรถกถา “สมันตปาสาทิกา” และ "คัมภีร์มหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีป"
ข้อความในคัมภีร์เถรวาทจากลังกาทั้งหลายล้วนไม่สอดคล้องกับหลักฐานจารึกของพระเจ้าอโศกเอง ที่ปัจจุบันค้นพบแล้วทั้งในและนอกอินเดียราว 30 จารึก ซึ่งในทางประวัติศาสตร์ถือว่า จารึกเหล่านี้คือหลักฐานสำคัญ เนื่องจากมีอายุร่วมสมัยเดียวกับพระเจ้าอโศก
จากหลักฐานที่พระเจ้าอโศกที่ได้ทรงให้จารึกขึ้นเองนี้ มีเพียงการส่งคณะทูตออกไปเพื่อแจ้งหลัก "ธรรมวิชัย" ให้แก่บรรดาบ้านเมืองต่าง ๆ ได้รับรู้ หลังพระองค์ทรงเศร้าสลดจากเหตุการณ์สงครามกับแคว้นกลิงคะ ทำให้มีผู้ล้มตายนับแสนคน และพระองค์ได้หันมายึดหลัก "ธรรมวิชัย" ในการปกครอง
ในทางกลับกัน ไม่มีข้อความในจารึกใด ๆ เลยที่ระบุถึงการส่งพระสมณทูต 9 สาย ไปเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้ายังดินแดนต่าง ๆ อย่างที่คัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้แต่งไว้ เหตุใดเรื่องราวการส่งสมณทูต 9 สายไปเผยแผ่พุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่ง "พระโสณะ" และ "พระอุตตระ" มายังดินแดนสุวรรณภูมิ จึงปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของลังกาที่ถูกแต่งขึ้นในราว พ.ศ. 900 หลังยุคพระเจ้าอโศกนานนถึง 700 ปี
ที่สำคัญ...พุทธศาสนาน่าจะเข้ามาประดิษฐานในดินแดนสุวรรณภูมิ และประเทศไทยเมื่อใดกันแน่จากหลักฐานโบราณคดีและเอกสารต่าง ๆ ติดตามได้ในประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน "ไม่มีพระโสณะ-อุตตระ ในจารึกอโศก"