หน้าแรก วิดีโอ ลังกา สยาม ร่วมวงศ์พระพุทธศาสนาเดียวกัน I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.249

ลังกา สยาม ร่วมวงศ์พระพุทธศาสนาเดียวกัน I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.249

ผู้ผลิต ประวัติศาสตร์นอกตำรา
เรื่องย่อ

[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] อนุราธปุระ เมืองหลวงเก่าทางตอนเหนือของศรีลังกา ที่นี่ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในลังกาทวีปที่แท้จริงได้เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 236-276

 

มหินตเล หรือมิสสกบรรพต เป็นสถานที่ในคัมภีร์บาลีระบุว่า คณะสมณทูตที่นำโดยพระมหินทเถระ พระโอรสของพระเจ้าอโศก พร้อมด้วยพระเถระอีก 4 รูป เดินทางจากอินเดียเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในศรีลังกาเป็นครั้งแรก

 

เมื่อพระพุทธศาสนาประดิษฐานลงในลังกาแล้ว พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะได้ทรงสร้าง “อารามมหาวิหาร” ขึ้นกลางกรุงอนุราธปุระ กลายเป็นชื่อเรียกของกลุ่มสงฆ์ที่เรียกว่า “คณะมหาวิหาร” โดยมีพระเจดีย์ถูปาราม เป็นพระเจดีย์องค์แรกที่เกิดขึ้นในลังกา

 

ลังกาเข้าสู่ยุคสําคัญอีกยุคในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หลังพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 439 ไม่นานพวกทมิฬก็ชิงอํานาจได้ และเข้าครอบครองอนุราธปุระอยู่นานถึง 14 ปี ระหว่างนี้ประเทศเกิดยุคเข็ญถึงกับต้องกินเนื้อมนุษย์ พระมหาเถระทั้งหลายเกรงศาสนาจะสูญไปจึงตกลงประชุมกันเพื่อทำการสังคายนาพระธรรมวินัยขึ้นที่ถ้ำอาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท โดยมีพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเป็นองค์อุปถัมป์ โดยมีการจดจารจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานเป็นครั้งแรก หลังที่ก่อนหน้านี้ใช้วิธีสืบต่อกันด้วยวิธีท่องจำมาเป็นเวลานานกว่า 400 ปี นับแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

 

ในรัชสมัยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย พระองค์ทรงสร้างวัดถวายแด่พระมหาติสสเถระผู้ช่วยเหลือพระองค์ในคราวรบกับทมิฬ ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของคณะสงฆ์ใหม่ที่เรียกว่า “อภัยคีรีวิหาร” นอกเหนือจากฝ่ายมหาวิหารเดิม และคือจุดเริ่มต้นของความแตกแยกกับฝ่ายมหาวิหาร เพราะฝ่ายมหาวิหารเป็นผู้ยึดมั่นในคําสอนและแบบแผนประเพณี รวมทั้งตั้งข้อรังเกียจภิกษุต่างนิกายว่าเป็น อลัชชี

 

ขณะที่ฝ่ายอภัยคีรีวิหาร ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีความคิดเห็นเป็นอิสระ ต้อนรับทัศนะใหม่ ๆ ศึกษาทั้งเรื่องฝ่ายเถรวาทและมหายาน คณะอภัยคิรีวิหารจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางสําคัญแห่งหนึ่งของมหายานในศรีลังกา

 

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 17 เป็นยุคที่ลังกาตกอยู่ในความวุ่นวาย เพราะการรุกรานจากทิมฬในอินเดียบ้าง และความไม่สงบภายในบ้าง ในระหว่างยุคนี้เองที่ภิกษุณีสงฆ์สูญสิ้น รวมทั้งคณะพระภิกษุสงฆ์เองก็เริ่มเสื่อมลง แต่พุทธศาสนาในลังกายังคงเดินต่อไปได้

 

ความเสื่อมของพุทธศาสนาครั้งใหญ่ได้อุบัติขึ้นเมื่อโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2048 กระทั่งที่สุดสามารถยึดครองศรีลังกาได้ ส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบอย่างหนัก

 

ในสมัยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 1 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2137 – 2147 ซึ่งขณะนั้นศูนย์กลางอำนาจของลังกาได้มาอยู่ที่ “กรุงศิริวัฒนบุรี” หรือเมืองแคนดีในปัจจุบัน พระองค์ทรงมีพระราชดําริที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้น เนื่องจากเวลานั้นทั่วทั้งเกาะลังกาไม่มีพระภิกษุหลงเหลืออยู่เลย พระองค์ทรงส่งราชทูตไปยังพม่า เพื่อขอคณะสงฆ์จํานวน 10 รูป มาประกอบพิธีอุปสมบทที่ศรีลังกาในปีพ.ศ.2140 แต่เมื่อโปรตุเกสได้ยกทัพเข้าบุกแคนดี พระองค์ต้องเสด็จลี้ภัยไปอยู่ในป่า ทําให้แคนดีตกเป็นของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2154 และเป็นเหตุให้พุทธศาสนาต้องเสื่อมโทรมลงอีกครั้ง

 

กระทั่งถึงสมัยพระราชสิงห์ที่ 2 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2178 – 2230 พระองค์ทรงขอความช่วยเหลือจากฮอลันดาให้ช่วยขับไล่โปรตุเกสออกจากเกาะลังกา จนในที่สุดฐานทัพของโปรตุเกสที่โคลัมโบก็ถูกตีแตกใน พ.ศ. 2199 ในสมัยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 2 (พ.ศ. 2230 – 2250) พระองค์ทรงมีพระประสงค์ จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอีกครั้ง แต่ขณะนั้นในศรีลังกามีพระภิกษุสงฆ์ที่จะประกอบพิธีอุปสมบทไม่ถึง 5 รูป พระองค์จึงได้ส่งราชทูตคณะที่ 2 ไปนิมนต์คณะสงฆ์พม่ามาช่วยอุปสมบทอีกครั้งใน พ.ศ. 2240 แต่ หลังจากคณะสงฆ์พม่าได้ก่อตั้งศาสนวงศ์ได้ไม่นาน พระพุทธศาสนาในศรีลังกาก็เริ่มเสื่อมลงอีก กระทั่งคณะสงฆ์เกือบสิ้นสมณวงศ์ เหลือแต่สามเณรเพียงรูปเดียว นามว่า “สรณังกร”

 

พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2290 – 2325 พระองค์ทรงตระหนักถึงความเสื่อมของพระพุทธศาสนา จึงส่งราชทูตไปยังกรุงศรีอยุธยา เพื่อขอพระภิกษุสงฆ์มาช่วยอุปสมบทฟื้นฟูศาสนาให้แก่กุลบุตรชาวสิงหล ในปี พ.ศ. 2293

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเลือกพระอุบาลีมหาเถระ พร้อมด้วยพระสงฆ์รวมทั้งหมด 24 รูป ออกเดินทางด้วยเรือกำปั่นจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปยังลังกา โดยคณะสมณฑูตจากกรุงศรีอยุธยาจำพรรษาที่วัดบุปผาราม หรือวัดมัลวัตตะ พิธีการอุปสมบทคราวนั้นมีพระอุบาลีมหาเถระเป็นประธานในการอุปสมบทสามเณรจำนวน 6 รูป รวมถึงสามเณรสรณังกรณัง ที่มีอายุประมาณ 40 พรรษาได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ซึ่งต่อมาภิกษุสรณังกรณังยังได้รับตําแหน่งเป็นพระสังฆราช ในนิกายสยามวงศ์เป็นองค์แรกลังกา

 

ในช่วงเวลาราว 3 ปี ในศรีลังกา พระอุบาลีเถระ และคณะได้บรรพชา และอุปสมบทให้แก่ชาวศรีลังกา เป็นพระภิกษุกว่า 700 รูป และสามเณรอีกกว่า 3,000 รูป ต่อมาในปี พ.ศ. 2298 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ยังทรงโปรดเกล้า ฯ ส่งคณะสมณทูตชุดที่ 2 จำนวน 60 รูป เดินทางไปยังลังกาเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาสยามวงศ์ให้มั่นคงขึ้นอีก พระอุบาลีมหาเถระ อาพาธและมรณภาพลงในปีพุทธศักราช 2299 เพียง 4 ปี หลังจากเดินทางมายังลังกา จบสิ้นภาระกิจในการช่วยสืบพระพุทธศาสนาระหว่างสองแผ่นดินลง

 

แม้ในอดีตแผ่นดินสยามจะรับเอาพระพุทธศาสนาจากลังกาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จนกลายเป็น “ลังกาวงศ์” แต่ท้ายที่สุดแล้ว เมล็ดพันธุ์แห่งธรรมะจากสยามก็ได้ถูกนำกลับคืนไปเพาะปลูกให้เป็นต้นกล้าใหม่ที่เฟื่องฟูในลังกาเรียกว่า “สยามวงศ์” น่าดีใจที่ชาวศรีลังกาในวันนี้ยังคงช่วยกันรดน้ำพรวนดิน และค้ำจุนให้ต้นกล้าทางพุทธศาสนาเติบโตหยั่งรากลึกจนมั่นคงแข็งแรงมาได้ จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ความยาว 31:23 นาที
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ พระพุทธศาสนา ศรีลังกา ลังกาวงศ์ สยามวงศ์ อนุราธปุระ

จำนวนผู้เข้าชม

34

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

20 พ.ย. 2567

วิดีโอแนะนำ

Crafting History: Reviving the Ninth Century Ancient Sewn-Ship with a Replica

ผู้ผลิต กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
25

Phanom-Surin: A Replica of a 9th-Century Sewn Ship

ผู้ผลิต กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
29

The Siam Society Lecture: Viṣṇuvarman in the Golden Peninsula

ผู้ผลิต The Siam Society Under Royal Patronage
26

The Siam Society Lecture: Was Si Thep Dvāravatī?

ผู้ผลิต The Siam Society Under Royal Patronage
25

ลังกา สยาม ร่วมวงศ์พระพุทธศาสนาเดียวกัน I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.249
ผู้ผลิต :
ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง :
เรื่องย่อ :

[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] อนุราธปุระ เมืองหลวงเก่าทางตอนเหนือของศรีลังกา ที่นี่ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในลังกาทวีปที่แท้จริงได้เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 236-276

 

มหินตเล หรือมิสสกบรรพต เป็นสถานที่ในคัมภีร์บาลีระบุว่า คณะสมณทูตที่นำโดยพระมหินทเถระ พระโอรสของพระเจ้าอโศก พร้อมด้วยพระเถระอีก 4 รูป เดินทางจากอินเดียเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในศรีลังกาเป็นครั้งแรก

 

เมื่อพระพุทธศาสนาประดิษฐานลงในลังกาแล้ว พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะได้ทรงสร้าง “อารามมหาวิหาร” ขึ้นกลางกรุงอนุราธปุระ กลายเป็นชื่อเรียกของกลุ่มสงฆ์ที่เรียกว่า “คณะมหาวิหาร” โดยมีพระเจดีย์ถูปาราม เป็นพระเจดีย์องค์แรกที่เกิดขึ้นในลังกา

 

ลังกาเข้าสู่ยุคสําคัญอีกยุคในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หลังพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 439 ไม่นานพวกทมิฬก็ชิงอํานาจได้ และเข้าครอบครองอนุราธปุระอยู่นานถึง 14 ปี ระหว่างนี้ประเทศเกิดยุคเข็ญถึงกับต้องกินเนื้อมนุษย์ พระมหาเถระทั้งหลายเกรงศาสนาจะสูญไปจึงตกลงประชุมกันเพื่อทำการสังคายนาพระธรรมวินัยขึ้นที่ถ้ำอาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท โดยมีพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเป็นองค์อุปถัมป์ โดยมีการจดจารจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนใบลานเป็นครั้งแรก หลังที่ก่อนหน้านี้ใช้วิธีสืบต่อกันด้วยวิธีท่องจำมาเป็นเวลานานกว่า 400 ปี นับแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน

 

ในรัชสมัยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย พระองค์ทรงสร้างวัดถวายแด่พระมหาติสสเถระผู้ช่วยเหลือพระองค์ในคราวรบกับทมิฬ ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของคณะสงฆ์ใหม่ที่เรียกว่า “อภัยคีรีวิหาร” นอกเหนือจากฝ่ายมหาวิหารเดิม และคือจุดเริ่มต้นของความแตกแยกกับฝ่ายมหาวิหาร เพราะฝ่ายมหาวิหารเป็นผู้ยึดมั่นในคําสอนและแบบแผนประเพณี รวมทั้งตั้งข้อรังเกียจภิกษุต่างนิกายว่าเป็น อลัชชี

 

ขณะที่ฝ่ายอภัยคีรีวิหาร ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีความคิดเห็นเป็นอิสระ ต้อนรับทัศนะใหม่ ๆ ศึกษาทั้งเรื่องฝ่ายเถรวาทและมหายาน คณะอภัยคิรีวิหารจึงได้กลายเป็นศูนย์กลางสําคัญแห่งหนึ่งของมหายานในศรีลังกา

 

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 17 เป็นยุคที่ลังกาตกอยู่ในความวุ่นวาย เพราะการรุกรานจากทิมฬในอินเดียบ้าง และความไม่สงบภายในบ้าง ในระหว่างยุคนี้เองที่ภิกษุณีสงฆ์สูญสิ้น รวมทั้งคณะพระภิกษุสงฆ์เองก็เริ่มเสื่อมลง แต่พุทธศาสนาในลังกายังคงเดินต่อไปได้

 

ความเสื่อมของพุทธศาสนาครั้งใหญ่ได้อุบัติขึ้นเมื่อโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งในศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2048 กระทั่งที่สุดสามารถยึดครองศรีลังกาได้ ส่งผลให้พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบอย่างหนัก

 

ในสมัยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 1 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2137 – 2147 ซึ่งขณะนั้นศูนย์กลางอำนาจของลังกาได้มาอยู่ที่ “กรุงศิริวัฒนบุรี” หรือเมืองแคนดีในปัจจุบัน พระองค์ทรงมีพระราชดําริที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้น เนื่องจากเวลานั้นทั่วทั้งเกาะลังกาไม่มีพระภิกษุหลงเหลืออยู่เลย พระองค์ทรงส่งราชทูตไปยังพม่า เพื่อขอคณะสงฆ์จํานวน 10 รูป มาประกอบพิธีอุปสมบทที่ศรีลังกาในปีพ.ศ.2140 แต่เมื่อโปรตุเกสได้ยกทัพเข้าบุกแคนดี พระองค์ต้องเสด็จลี้ภัยไปอยู่ในป่า ทําให้แคนดีตกเป็นของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2154 และเป็นเหตุให้พุทธศาสนาต้องเสื่อมโทรมลงอีกครั้ง

 

กระทั่งถึงสมัยพระราชสิงห์ที่ 2 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2178 – 2230 พระองค์ทรงขอความช่วยเหลือจากฮอลันดาให้ช่วยขับไล่โปรตุเกสออกจากเกาะลังกา จนในที่สุดฐานทัพของโปรตุเกสที่โคลัมโบก็ถูกตีแตกใน พ.ศ. 2199 ในสมัยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ 2 (พ.ศ. 2230 – 2250) พระองค์ทรงมีพระประสงค์ จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอีกครั้ง แต่ขณะนั้นในศรีลังกามีพระภิกษุสงฆ์ที่จะประกอบพิธีอุปสมบทไม่ถึง 5 รูป พระองค์จึงได้ส่งราชทูตคณะที่ 2 ไปนิมนต์คณะสงฆ์พม่ามาช่วยอุปสมบทอีกครั้งใน พ.ศ. 2240 แต่ หลังจากคณะสงฆ์พม่าได้ก่อตั้งศาสนวงศ์ได้ไม่นาน พระพุทธศาสนาในศรีลังกาก็เริ่มเสื่อมลงอีก กระทั่งคณะสงฆ์เกือบสิ้นสมณวงศ์ เหลือแต่สามเณรเพียงรูปเดียว นามว่า “สรณังกร”

 

พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2290 – 2325 พระองค์ทรงตระหนักถึงความเสื่อมของพระพุทธศาสนา จึงส่งราชทูตไปยังกรุงศรีอยุธยา เพื่อขอพระภิกษุสงฆ์มาช่วยอุปสมบทฟื้นฟูศาสนาให้แก่กุลบุตรชาวสิงหล ในปี พ.ศ. 2293

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเลือกพระอุบาลีมหาเถระ พร้อมด้วยพระสงฆ์รวมทั้งหมด 24 รูป ออกเดินทางด้วยเรือกำปั่นจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปยังลังกา โดยคณะสมณฑูตจากกรุงศรีอยุธยาจำพรรษาที่วัดบุปผาราม หรือวัดมัลวัตตะ พิธีการอุปสมบทคราวนั้นมีพระอุบาลีมหาเถระเป็นประธานในการอุปสมบทสามเณรจำนวน 6 รูป รวมถึงสามเณรสรณังกรณัง ที่มีอายุประมาณ 40 พรรษาได้ขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ซึ่งต่อมาภิกษุสรณังกรณังยังได้รับตําแหน่งเป็นพระสังฆราช ในนิกายสยามวงศ์เป็นองค์แรกลังกา

 

ในช่วงเวลาราว 3 ปี ในศรีลังกา พระอุบาลีเถระ และคณะได้บรรพชา และอุปสมบทให้แก่ชาวศรีลังกา เป็นพระภิกษุกว่า 700 รูป และสามเณรอีกกว่า 3,000 รูป ต่อมาในปี พ.ศ. 2298 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ยังทรงโปรดเกล้า ฯ ส่งคณะสมณทูตชุดที่ 2 จำนวน 60 รูป เดินทางไปยังลังกาเพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาสยามวงศ์ให้มั่นคงขึ้นอีก พระอุบาลีมหาเถระ อาพาธและมรณภาพลงในปีพุทธศักราช 2299 เพียง 4 ปี หลังจากเดินทางมายังลังกา จบสิ้นภาระกิจในการช่วยสืบพระพุทธศาสนาระหว่างสองแผ่นดินลง

 

แม้ในอดีตแผ่นดินสยามจะรับเอาพระพุทธศาสนาจากลังกาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จนกลายเป็น “ลังกาวงศ์” แต่ท้ายที่สุดแล้ว เมล็ดพันธุ์แห่งธรรมะจากสยามก็ได้ถูกนำกลับคืนไปเพาะปลูกให้เป็นต้นกล้าใหม่ที่เฟื่องฟูในลังกาเรียกว่า “สยามวงศ์” น่าดีใจที่ชาวศรีลังกาในวันนี้ยังคงช่วยกันรดน้ำพรวนดิน และค้ำจุนให้ต้นกล้าทางพุทธศาสนาเติบโตหยั่งรากลึกจนมั่นคงแข็งแรงมาได้ จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน



ความยาว (นาที:วินาที) :
31:23
เผยแพร่เมื่อ :
14 พ.ย. 2024
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
พระพุทธศาสนา ศรีลังกา ลังกาวงศ์ สยามวงศ์ อนุราธปุระ
จำนวนผู้เข้าชม :
34
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
11 ธ.ค. 2567


Videos Playlist
image
Crafting History: Reviving the Ninth Century Ancient Sewn-Ship with a Replica
ผู้ผลิต : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
วิทยากร/ผู้แสดง : วสันต์ เทพสุริยานนท์, วงศกร ระโหฐาน, พรนัชชา สังขืประสิทธิ์, สมเกียรติ คุ้มรักษา,
6 ต.ค. 2023
10:11 (นาที:วินาที)
image
Phanom-Surin: A Replica of a 9th-Century Sewn Ship
ผู้ผลิต : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
วิทยากร/ผู้แสดง :
3 เม.ย. 2024
10:12 (นาที:วินาที)
image
The Siam Society Lecture: ภาพสันนิษฐานโบราณสถานเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ผลิต : The Siam Society Under Royal Patronage
วิทยากร/ผู้แสดง : เชษฐ์ ติงสัญชลี, ปติสร เพ็ญสุต
7 ก.พ. 2024
1:48:27 (นาที:วินาที)
image
The Siam Society Lecture: Viṣṇuvarman in the Golden Peninsula
ผู้ผลิต : The Siam Society Under Royal Patronage
วิทยากร/ผู้แสดง : Nicolas Revire
7 ก.พ. 2024
1:08:25 (นาที:วินาที)
image
The Siam Society Lecture: Was Si Thep Dvāravatī?
ผู้ผลิต : The Siam Society Under Royal Patronage
วิทยากร/ผู้แสดง : Piriya Krairiksh
16 ก.ค. 2024
1:15:34 (นาที:วินาที)