หน้าแรก วิดีโอ อีศานปุระ ราชธานีแห่งอาณาจักรเจนละ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.250

อีศานปุระ ราชธานีแห่งอาณาจักรเจนละ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.250

ผู้ผลิต ประวัติศาสตร์นอกตำรา
เรื่องย่อ

[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] “อีศานปุระ” ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเจนละ ที่ร่วมยุคสมัยเดียวกับทวารวดีในเขตประทศไทย ตั้งอยู่บริเวณที่ราบอันกว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำสตึงแสน ในเขต จ.กำปงธม ห่างจากเมืองเสียมเรียบทางทิศตะวันออกของทะเลสาบเขมรมาประมาณ 120 กิโลเมตร

 

การเติบโตของอาณาจักรเจนละเกิดขึ้นเมื่ออาณาจักรฝูหนาน หรือฟูนาน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่อังกอร์โบเรย และภูเขาพนมดา ใกล้ปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของกัมพูชาเริ่มเสื่อมอำนาจลง ทำให้พระเจ้าภววรมันที่ 1 กษัตริย์แห่งเจนละ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ฟูนัน ได้ร่วมกับเจ้าชายจิตรเสน พระอนุชา ประกาศแยกตัวจากการเป็นรัฐบริวาร และเริ่มทำสงครามกับพระเจ้ารุทรวรมันแห่งฟูนัน

 

ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าภววรมันที่ 1 อาณาจักรเจนละได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทางใต้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง จนเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายจิตรเสน พระอนุชา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในราว พ.ศ. 1145 ในพระนาม พระเจ้ามเหนทรวรมัน ซึ่งยังคงพระราโชบายในการสร้างความมั่นคงให้แก่อาณาจักรเจนละต่อไป

 

เมื่อพระเจ้ามเหนทรวรมันสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ” ผู้เป็นโอรสได้ขึ้นสืบราชสมบัติ และทรงสร้าง “อีศานปุระ” ที่แปลว่า “เมืองของพระเจ้าอีศานวรมัน” ขึ้นเป็นราชธานีของพระองค์

 

พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1159 – 1179 นับเป็นกษัตริย์ที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับเจนละอย่างแท้จริง พระองค์ทรงสามารถผนวกดินแดนฝูหนานได้สำเร็จ และยังทรงแผ่ขยายอำนาจของเจนละออกไปอย่างกว้างใหญ่ จนมีอาณาเขตเกือบเท่าประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

 

อาณาจักรเจนละสืบต่อความรุ่งเรืองภายหลังสิ้นรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 ได้อีกเพียง 78 ปี ภายใต้กษัตริย์ 3 พระองค์ แต่ในที่สุดเจนละก็ต้องแตกออกเป็น 2 แคว้น คือ เจนละบก ตั้งอยู่ทางเหนือตรงกับบริเวณที่ตั้งของอาณาจักรเจนละเดิม และเจนละน้ำ ตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นอาณาจักรฟูนันโบราณมาก่อน ต่อมาเจนละน้ำได้ถูกอาณาจักรชวาเข้ายึดครองในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 13 และยังได้นำตัวรัชทายาทคือ เจ้าชายวรมันที่ 2 ไปเป็นตัวประกัน

 

จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 14 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เสด็จกลับจากชวา และทรงปลดปล่อยอาณาจักรเจนละให้เป็นอิสระ พระองค์ทรงรวบรวมบ้านเมืองที่แตกแยกเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมด้วยการสถาปนาลัทธิเทวราชาขึ้นที่มเหนทรมหาบรรพต หรือพนมกุเลนในปี พ.ศ. 1345 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดศักราชใหม่ในการสู่ “สมัยเมืองพระนคร” ที่จะมีศูนย์กลางอำนาจอันรุ่งเรืองบริเวณลุ่มน้ำโตนเลสาบอย่างแท้จริงต่อไป

 

ประวัติศาสตร์นอกตำราออกเดินทางสำรวจกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก ซึ่งเป็นชื่อใหม่ที่แปลว่า “ป่าอันสมบูรณ์ไปด้วยปราสาท” ทั้งหมดคือหลักฐานความรุ่งเรืองที่เคยเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14 ของอาณาจักรอีศานปุระ โดยเฉพาะเอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปะกรรมแบบสมโบร์ไพรกุกที่นับเป็นแบบแผนประจำรัชกาลพระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 นับเป็นกลุ่มโบราณสถานลำดับที่ 3 ของกัมพูชาต่อจากปราสาทนครวัด และปราสาทเขาพระวิหาร

ความยาว 23:54 นาที
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ เจนละ อีศานปุระ พระเจ้าอีศานวรมัน อังกอร์โบเรย พนมดา พระเจ้ามเหนทรวรมัน ปราสาทสมโบร์ไพรกุก

จำนวนผู้เข้าชม

69

วันที่เผยแพร่ข้อมูล

20 พ.ย. 2567

วิดีโอแนะนำ

Crafting History: Reviving the Ninth Century Ancient Sewn-Ship with a Replica

ผู้ผลิต กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
25

Phanom-Surin: A Replica of a 9th-Century Sewn Ship

ผู้ผลิต กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
29

The Siam Society Lecture: Viṣṇuvarman in the Golden Peninsula

ผู้ผลิต The Siam Society Under Royal Patronage
26

The Siam Society Lecture: Was Si Thep Dvāravatī?

ผู้ผลิต The Siam Society Under Royal Patronage
25

อีศานปุระ ราชธานีแห่งอาณาจักรเจนละ I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.250
ผู้ผลิต :
ประวัติศาสตร์นอกตำรา
วิทยากร/ผู้แสดง :
เรื่องย่อ :

[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] “อีศานปุระ” ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเจนละ ที่ร่วมยุคสมัยเดียวกับทวารวดีในเขตประทศไทย ตั้งอยู่บริเวณที่ราบอันกว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำสตึงแสน ในเขต จ.กำปงธม ห่างจากเมืองเสียมเรียบทางทิศตะวันออกของทะเลสาบเขมรมาประมาณ 120 กิโลเมตร

 

การเติบโตของอาณาจักรเจนละเกิดขึ้นเมื่ออาณาจักรฝูหนาน หรือฟูนาน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่อังกอร์โบเรย และภูเขาพนมดา ใกล้ปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของกัมพูชาเริ่มเสื่อมอำนาจลง ทำให้พระเจ้าภววรมันที่ 1 กษัตริย์แห่งเจนละ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ฟูนัน ได้ร่วมกับเจ้าชายจิตรเสน พระอนุชา ประกาศแยกตัวจากการเป็นรัฐบริวาร และเริ่มทำสงครามกับพระเจ้ารุทรวรมันแห่งฟูนัน

 

ภายใต้รัชกาลของพระเจ้าภววรมันที่ 1 อาณาจักรเจนละได้แผ่ขยายอาณาเขตไปทางใต้บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง จนเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายจิตรเสน พระอนุชา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติในราว พ.ศ. 1145 ในพระนาม พระเจ้ามเหนทรวรมัน ซึ่งยังคงพระราโชบายในการสร้างความมั่นคงให้แก่อาณาจักรเจนละต่อไป

 

เมื่อพระเจ้ามเหนทรวรมันสิ้นพระชนม์ พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ” ผู้เป็นโอรสได้ขึ้นสืบราชสมบัติ และทรงสร้าง “อีศานปุระ” ที่แปลว่า “เมืองของพระเจ้าอีศานวรมัน” ขึ้นเป็นราชธานีของพระองค์

 

พระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1159 – 1179 นับเป็นกษัตริย์ที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับเจนละอย่างแท้จริง พระองค์ทรงสามารถผนวกดินแดนฝูหนานได้สำเร็จ และยังทรงแผ่ขยายอำนาจของเจนละออกไปอย่างกว้างใหญ่ จนมีอาณาเขตเกือบเท่าประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

 

อาณาจักรเจนละสืบต่อความรุ่งเรืองภายหลังสิ้นรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 ได้อีกเพียง 78 ปี ภายใต้กษัตริย์ 3 พระองค์ แต่ในที่สุดเจนละก็ต้องแตกออกเป็น 2 แคว้น คือ เจนละบก ตั้งอยู่ทางเหนือตรงกับบริเวณที่ตั้งของอาณาจักรเจนละเดิม และเจนละน้ำ ตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นอาณาจักรฟูนันโบราณมาก่อน ต่อมาเจนละน้ำได้ถูกอาณาจักรชวาเข้ายึดครองในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 13 และยังได้นำตัวรัชทายาทคือ เจ้าชายวรมันที่ 2 ไปเป็นตัวประกัน

 

จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 14 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เสด็จกลับจากชวา และทรงปลดปล่อยอาณาจักรเจนละให้เป็นอิสระ พระองค์ทรงรวบรวมบ้านเมืองที่แตกแยกเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมด้วยการสถาปนาลัทธิเทวราชาขึ้นที่มเหนทรมหาบรรพต หรือพนมกุเลนในปี พ.ศ. 1345 นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดศักราชใหม่ในการสู่ “สมัยเมืองพระนคร” ที่จะมีศูนย์กลางอำนาจอันรุ่งเรืองบริเวณลุ่มน้ำโตนเลสาบอย่างแท้จริงต่อไป

 

ประวัติศาสตร์นอกตำราออกเดินทางสำรวจกลุ่มปราสาทสมโบร์ไพรกุก ซึ่งเป็นชื่อใหม่ที่แปลว่า “ป่าอันสมบูรณ์ไปด้วยปราสาท” ทั้งหมดคือหลักฐานความรุ่งเรืองที่เคยเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-14 ของอาณาจักรอีศานปุระ โดยเฉพาะเอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปะกรรมแบบสมโบร์ไพรกุกที่นับเป็นแบบแผนประจำรัชกาลพระเจ้าอีศานวรมันที่ 1 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 นับเป็นกลุ่มโบราณสถานลำดับที่ 3 ของกัมพูชาต่อจากปราสาทนครวัด และปราสาทเขาพระวิหาร



ความยาว (นาที:วินาที) :
23:54
เผยแพร่เมื่อ :
19 พ.ย. 2024
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ :
เจนละ อีศานปุระ พระเจ้าอีศานวรมัน อังกอร์โบเรย พนมดา พระเจ้ามเหนทรวรมัน ปราสาทสมโบร์ไพรกุก
จำนวนผู้เข้าชม :
69
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
11 ธ.ค. 2567


Videos Playlist
image
Crafting History: Reviving the Ninth Century Ancient Sewn-Ship with a Replica
ผู้ผลิต : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
วิทยากร/ผู้แสดง : วสันต์ เทพสุริยานนท์, วงศกร ระโหฐาน, พรนัชชา สังขืประสิทธิ์, สมเกียรติ คุ้มรักษา,
6 ต.ค. 2023
10:11 (นาที:วินาที)
image
Phanom-Surin: A Replica of a 9th-Century Sewn Ship
ผู้ผลิต : กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร - UAD_Thailand
วิทยากร/ผู้แสดง :
3 เม.ย. 2024
10:12 (นาที:วินาที)
image
The Siam Society Lecture: ภาพสันนิษฐานโบราณสถานเขาศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้ผลิต : The Siam Society Under Royal Patronage
วิทยากร/ผู้แสดง : เชษฐ์ ติงสัญชลี, ปติสร เพ็ญสุต
7 ก.พ. 2024
1:48:27 (นาที:วินาที)
image
The Siam Society Lecture: Viṣṇuvarman in the Golden Peninsula
ผู้ผลิต : The Siam Society Under Royal Patronage
วิทยากร/ผู้แสดง : Nicolas Revire
7 ก.พ. 2024
1:08:25 (นาที:วินาที)
image
The Siam Society Lecture: Was Si Thep Dvāravatī?
ผู้ผลิต : The Siam Society Under Royal Patronage
วิทยากร/ผู้แสดง : Piriya Krairiksh
16 ก.ค. 2024
1:15:34 (นาที:วินาที)