ผู้ผลิต | ประวัติศาสตร์นอกตำรา |
วิทยากร/ผู้แสดง | ฉันทัส เพียรธรรม, ฉัตตริน เพียรธรรม |
เรื่องย่อ |
[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] "ศรีมโหสถ" จ.ปราจีนบุรี เป็นพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเริ่มมีพัฒนาการเป็นบ้านเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-12 หรือราว 1,500 ปีมาแล้ว ร่วมสมัยปลายรัฐฟูนัน และเจนละในกัมพูชาปัจจุบัน ศรีมโหสถจึงนับเป็นหนึ่งในเมืองโบราณรุ่นแรก ๆ ที่ปรากฏตัวขึ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นยุคแรกเริ่มของทวารวดี อย่างไรก็ตาม ศรีมโหสถ เมืองโบราณที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก เมื่อเทียบศรีเทพ อู่ทอง หรือนครปฐม แต่ที่นี่กลับให้ความชัดเจนของเมืองยุคทวารวดีอย่างที่เราเองนึกไม่ถึง ความน่าทึ่งของเมืองศรีมโหสถ ไม่เพียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่พบโบราณวัตถุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ทว่ายังสะท้อนถึงความหลากหลาย , การซ้ำซ้อนกันทางด้านศิลปะวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ทั้งฮินดูจากอินเดีย และพุทธจากลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากอินเดียภาคใต้ดูเหมือนจะส่งผลต่ออารยะธรรมยุคเริ่มต้นของศรีมโหสถอยู่ไม่น้อย อาจกล่าวได้ว่า ศรีมโหสถ เป็นเมืองยุคต้นทวารวดีที่ถูกลืม ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เมืองโบราณแห่งนี้มีหลักฐานดั้งเดิมที่ไม่ถูกสร้างครอบทับด้วยอารยธรรมขอม ซึ่งแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำให้เรายังคงเห็นรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมต้นฉบับ เมื่อครั้งที่ศรีมโหสถเริ่มรับอารยธรรมจากโลกภายนอก นับเป็นการช่วยไขปริศนายุคเริ่มต้นของทวาราวดีแก่เราได้เป็นอย่างดี |
ความยาว | 1:01:13 นาที |
คำสำคัญ/ป้ายกำกับ | พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ทวารวดี ศรีมโหสถ ปราจีนบุรี อินเดียใต้ แม่น้ำปราจีนบุรี ลุ่มแม่น้ำบางปะกง ศรีลังกา |
[ประวัติศาสตร์นอกตำรา] "ศรีมโหสถ" จ.ปราจีนบุรี เป็นพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และเริ่มมีพัฒนาการเป็นบ้านเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-12 หรือราว 1,500 ปีมาแล้ว ร่วมสมัยปลายรัฐฟูนัน และเจนละในกัมพูชาปัจจุบัน ศรีมโหสถจึงนับเป็นหนึ่งในเมืองโบราณรุ่นแรก ๆ ที่ปรากฏตัวขึ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นยุคแรกเริ่มของทวารวดี
อย่างไรก็ตาม ศรีมโหสถ เมืองโบราณที่ไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก เมื่อเทียบศรีเทพ อู่ทอง หรือนครปฐม แต่ที่นี่กลับให้ความชัดเจนของเมืองยุคทวารวดีอย่างที่เราเองนึกไม่ถึง
ความน่าทึ่งของเมืองศรีมโหสถ ไม่เพียงเป็นแหล่งโบราณคดีที่พบโบราณวัตถุเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ทว่ายังสะท้อนถึงความหลากหลาย , การซ้ำซ้อนกันทางด้านศิลปะวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนา ทั้งฮินดูจากอินเดีย และพุทธจากลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากอินเดียภาคใต้ดูเหมือนจะส่งผลต่ออารยะธรรมยุคเริ่มต้นของศรีมโหสถอยู่ไม่น้อย อาจกล่าวได้ว่า ศรีมโหสถ เป็นเมืองยุคต้นทวารวดีที่ถูกลืม ทั้งที่จริง ๆ แล้ว เมืองโบราณแห่งนี้มีหลักฐานดั้งเดิมที่ไม่ถูกสร้างครอบทับด้วยอารยธรรมขอม ซึ่งแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันราวพุทธศตวรรษที่ 18 ทำให้เรายังคงเห็นรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมต้นฉบับ เมื่อครั้งที่ศรีมโหสถเริ่มรับอารยธรรมจากโลกภายนอก นับเป็นการช่วยไขปริศนายุคเริ่มต้นของทวาราวดีแก่เราได้เป็นอย่างดี